Young STEM & a Entrepreneurจัดงานประชุมโต๊ะกลมเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาโครงการต่างๆของ Young STEM & a Entrepreneur ภายใต้หัวข้อ Roundtable : Collaboration on Entrepreneur Mindset Education and development โดยได้รับเกียรติจาก ณัฏฐ์นวัต จิวัฒน์ธนากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท มัลติซายเทค จำกัด, รศ ดร.จิราภา วิทยาภิรักษ์ คณบดี คณะศิลปะศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, Dr. Khong Yoon Loong CEO of Tech Dome Penang, Malaysia, MR. Steve Cheah ประธานบริหาร GEN Thailand, ผศ.ดร.วรพล ลีลาเกียรติสกุล คณบดี คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร , Mr. Ivan Sandjaja Director of Ciputra Incubator and Accelerator, Indonesia, Mr. Yeoh Hooi Seng Founder and Executive Director WhyteHouse Education Group Malaysia และแขกรับเชิญจากทั้งในประเทศ เช่น องค์การพิพิทธ์ภัณฑ์สถานแห่งชาติ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศโรงเรียนต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการ บริษัทต่างๆ ที่สนใจด้านการศึกษา และเครือข่ายทางการศึกษาจากหลากหลายประเทศเช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงค์โปร และ ไต้หวัน และผู้ที่สนใจ มาร่วมเสวนาโต๊ะกลมในครั้งนี้ด้วย
โครงการ Young STEM & a Entrepreneur เป็นความร่วมมือกันของหน่วยงานระดับสากลระหว่างประเทศ อาทิGlobal Entrepreneurship ประเทศไทย (GET) ซึ่งมีเครือข่ายอยู่กว่า 170 ประเทศทั่วโลก คณะศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังคณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร , Penang Tech Dome ประเทศมาเลเซีย สถาบัน Brain Adventure ประเทศไทยและ บริษัท มัลติซายเทค จำกัด ฯลฯ
โดยการประชุมโต๊ะกลมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อรับฟังแบบจำลองแนวคิดต่างๆ ในการสร้างผู้ประกอบการระดับเยาวชนจากหลายประเทศที่เข้าร่วม และร่วมระดมความคิดพัฒนาโครงการ หรือหลักสูตรผู้ประกอบการที่มีพื้นฐานจากวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมไปถึงความคิดสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาเครือข่ายที่ต้องการส่งเสริมให้เกิดทัศนคติด้านผู้ประกอบการที่ดี (Entrepreneur Mindset) และทัศนคติด้านดิจิทอล (Digital Mindset) ในระบบการศึกษาไทย
เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์และเครือข่ายผู้ประกอบการรุ่นใหม่ให้เชื่อมโยงกันทั้งในประเทศ และต่างประเทศ พร้อมทั้งก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ ระหว่างวิทยากร และผู้เข้าร่วมสัมมนาโต๊ะกลมในครั้งนี้
“ประเทศไทยในปัจจุบันการศึกษาเพื่อสร้างแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ ยังไม่มีแนวทางอย่างชัดเจนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในประเทศไทย มีแค่เพียงการเรียนการสอนในรูปแบบสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ในบางคณะวิชาของสถาบันการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเห็นได้ว่า สายวิชาด้านเทคนิคต่างๆ หรือด้านอื่นๆ นักศึกษาจะขาดการพัฒนาแนวคิดความเป็นผู้ประกอบการ ไม่พอที่ต่อระยะฝึกฝนที่จะไปดำเนินธุรกิจได้เองในชีวิตจริง เพราะแนวทางการคิดแบบผู้ประกอบการยังไม่ค่อยมีในหลักสูตรภาคบังคับของระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในขณะที่ในต่างประเทศ เริ่มมีการนำแนวคิดนี้ปรับเข้ากับระบบการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ฝึกแนวคิดและสร้างโครงงาน
โดยการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศต้องอาศัยเยาวชนรุ่นใหม่ๆ ที่เข้าใจเทคโนโลยีและแนวคิดผู้ประกอบการ เพื่อที่จะผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแนวทางการทำธุรกิจเป็นแบบการพัฒนาธุรกิจแบบเริ่มต้นใหม่ (START UP) ในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งอาศัยเทคโนโลยีเป็นตัวนำในการคิดในการคิดธุรกิจใหม่ๆ ในยุคดิจิตอล จึงเป็นที่มาของโครงการ Young STEM & a Entrepreneur ” ณัฏฐ์นวัต จิวัฒน์ธนากุล กล่าว