ประเทศไทย 11 มิถุนายน 2561 - ออนโรบอท (On Robot) และ ออพโตฟอร์ซ (OptoForce) สองผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชั่นหุ่นยนต์ ตั้งเป้ารุกขยายธุรกิจสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และวางแผนการเติบโตในภูมิภาคสูงถึง 250% ภายในปีนี้ โดยอุปสงค์จะมาจากธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ และอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เครื่องจักรกลอัตโนมัติระบบคอมพิวเตอร์ โดยเป้าหมายนี้กำหนดขึ้นหลังการแต่งตั้ง มร.นีลส์ โอเล ซิงเบค โซเร็นเซน ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยนับตั้งแต่ปี 2010 ถึง 2015 จำนวนหุ่นยนต์พุ่งสูงขึ้นถึง 70% อยู่ที่ 887,400 ยูนิต[1] และภายในปี 2025 ประเมินว่าจะมีโคบอทกว่า 700,000 หน่วยถูกติดตั้งใช้งานอยู่ทั่วโลก
มร.โซเร็นเซน กำลังรับสมัครและฝึกอบรมทีมงานประจำประเทศที่เปี่ยมด้วยความสามารถทั้งฝ่ายเทคนิค ฝ่ายขาย และฝ่ายการตลาด ปัจจุบัน ผู้จัดจำหน่ายสินค้าเทคโนโลยีและผู้บูรณาการระบบที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญในตลาดของแต่ละประเทศจำนวนมากกว่า 15 รายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังเข้ารับการฝึกอบรมความรู้และวิธีการใช้งานผลิตภัณฑ์ โดยการหันมาใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมกำลังมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคเอเชีย
ภายใต้การให้คำมั่นต่อพันธกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มร.โซเร็นเซน กล่าวว่า “เรากำลังพยายามเพิ่มอัตราการใช้งานโซลูชั่นหุ่นยนต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสิงคโปร์ ไทย และมาเลเซีย มีอัตราความหนาแน่นการใช้งานหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรม[2] สูงสุดของภูมิภาคนี้ ซึ่งถือเป็นตลาดสำคัญที่มีศักยภาพสูงมาก”
“ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ อาทิ หุ่นยนต์เพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์ (โคบอท) จะพลิกโฉมหน้าการทำงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงภาคอุตสาหกรรม โดยช่วยเพิ่มกำลังการผลิตและคุณภาพของสินค้า ไปพร้อม ๆ กับเพิ่มความปลอดภัยและลดภาระของคนงานในการทำงานแบบเดิมซ้ำๆ และงานที่ต้องใช้แรงมาก ทุกวันนี้ คนงานสามารถตั้งโปรแกรมและใช้งานหุ่นยนต์ได้อย่างง่ายดายโดยอาศัยการฝึกอบรมและทักษะเชิงเทคนิคเพียงเล็กน้อยเท่านั้น” นีลส์ กล่าว
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เปรียบเสมือนเป็นโรงกำเนิดไฟฟ้าสำหรับอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติของเอเชีย โดยในไตรมาสที่ 1 ปี 2018 กำลังการผลิตของภูมิภาคเพิ่มขึ้น 7.3% โดยสามารถผลิตยานพาหนะ 1.09 พันล้านคัน นำโดยประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย[3] อุตสาหกรรมรถยนต์นับเป็นตัวขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของโลกมาหลายทศวรรษ[4] โดยอุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลกมีมูลค่าตลาดของโคบอทอยู่ที่ 23.5 ล้านดอลลาร์ในปี 2015 และคาดว่าจะสูงถึง 470 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2021 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 64.67% ในระหว่างปี 2015 ถึง 2021
ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าถือเป็นภาคธุรกิจการส่งออกที่ใหญ่ที่สุด คิดเป็น 25% ของสินค้าส่งออกทั้งหมดของภูมิภาค[5] โดยผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำของภูมิภาคคือไทย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย[6] ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้ายังเป็นผู้บูรณาการโคบอทที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 โดยคิดเป็นอุปสงค์ทั่วโลกถึง 18% ในปี 2015[7] ซึ่งภายในปี 2021 คาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าจะลงทุนราว 475 ล้านดอลลาร์[8] ในด้านโคบอท
การเติบโตของการใช้งานหุ่นยนต์ในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติกลายเป็นกุญแจสำคัญต่ออนาคตของภาคอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมตลอดระยะเวลากว่าทศวรรษที่ผ่านมา จากข้อมูลของนางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ระบุว่า ปริมาณการขนส่งสินค้าหุ่นยนต์ของประเทศจะเพิ่มขึ้น 133% จาก 2,131 หน่วยในปี 2013 เป็น 7,500 หน่วยในปีนี้[9]
ในฐานะผู้ผลิตและผู้ส่งออกอุปกรณ์ฮาร์ดดิสก์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกและผู้ผลิตยานพาหนะเชิงพาณิชย์อันดับ 6 ของโลก ประเทศไทยได้ลงทุนอย่างมหาศาลกับเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ[10] โดย 85% ของอุตสาหกรรมการผลิตของไทยสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีหุ่นยนต์อัตโนมัติได้ โดยมี 50% พร้อมใช้เทคโนโลยีนี้ภายใน 3 ปีข้างหน้า[11]
การทำให้ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติใช้งานง่าย
ออนโรบอท (On Robot) คือผู้เชี่ยวชาญด้านมือจับระบบไฟฟ้าแบบสองนิ้ว ได้แก่รุ่น RG2 และ RG6 สำหรับการใช้งานร่วมกับโคบอท ซึ่งมีฐานการดำเนินงานในประเทศเดนมาร์ก โดยมือจับนั้นมีความกะทัดรัด ประหยัดพลังงาน และมีค่าตัวแปรที่ปรับแต่งได้ ซอฟต์แวร์และมือจับของออนโรบอทจะป้อนข้อมูลแก่โคบอทเพื่อให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ภายใต้แนวคิด “เสียบปลั๊กและเริ่มผลิต” ทำให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถนำไปใช้งานได้อย่างสะดวกรวดเร็วและง่ายดายร่วมกับแขนโคบอทของยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ (Universal Robots : UR) ได้ทุกรุ่น โดยไม่ต้องต่อสายเคเบิ้ลภายนอกเพิ่มเติม ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภทนัยตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้าและรถยนต์ ไปจนถึงการธนาคารและเกษตรกรรม เพื่อทำหน้าที่หยิบจับและวาง การทำให้อ่อนตัวด้วยเครื่องจักร การบรรจุหีบห่อ การทดสอบ และงานอื่น ๆ
ออพโตฟอร์ซ (OptoForce) บริษัทสัญชาติฮังการเรียน คือผู้ให้บริการชั้นนำด้านระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัดแรงและแรงบิดแบบหลายแกนสำหรับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ในตลาดโดยผสานการใช้ซิลิโคนและแสงอินฟราเรด โดยเซ็นเซอร์ทำให้หุ่นยนต์มีจุดรับสัมผัสซึ่งสามารถรู้สึกถึงแรงกระทำที่น้อยมากได้ และตอบสนองตามรูปแบบที่กำหนดไว้ได้แบบเรียลไทม์ ระบบนี้ยังช่วยให้งานประกอบเครื่อจักรซึ่งจำเป็นต้องมีความแม่นยำสูงสามารถทำงานได้แบบอัตโนมัติ อาทิ การใส่หมุด การเชื่อมส่วนโค้ง และงานเคลือบพื้นผิว เช่น การขัดเงา การขัดทราย และการลบขอบ
เซ็นเซอร์ของออพโตฟอร์ซมีโครงสร้างที่แข็งแรงซึ่งสามารถทนทานต่อแรงกระแทกที่ต่อเนื่องรุนแรงได้ และยังเป็นเซ็นเซอร์ที่มีความแม่นยำสูงสุดในตลาดปัจจุบัน ซอฟต์แวร์ของออพโตฟอร์ซยังมีแอปพลิเคชั่นที่ตั้งโปรแกรมล่วงหน้า 14 แบบ สำหรับนำมาประยุกต์ใช้กับโคบอทของยูนิเวอร์ซัล โรบอทส์ ซึ่งจะช่วยให้สามารถตั้งโปรแกรมได้อย่างง่ายดาย รวดเร็ว และคุ้มค่าต่อการลงทุน
“เทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถดำเนินกระบวนการผลิตได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายดาย สามารถบริหารงานได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น และมอบสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น เทคโนโลยีของเรายังสามารถตั้งโปรแกรมให้หุ่นยนต์ทำงานที่ซับซ้อน ต้องการความประณีต และทำงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย ซึ่งจะทำให้คนงานสามารถมีสมาธิจดจ่ออยู่กับงานที่ต้องใช้ความรู้และความคล่องตัวเฉพาะด้านได้อย่างเต็มที่ ในขณะที่หุ่นยนต์ช่วยบริหารงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ และต้องใช้แรงมาก
เราลงทุนอย่างมากในส่วนงานวิจัยและพัฒนา และทำการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีราคาซื้อหาได้สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนผสานเข้ากับการใช้งานระบบอัตโนมัติที่สะดวกง่ายดาย เครื่องมือของเรามีความปลอดภัยและใช้งานง่าย อีกทั้งคนงานยังสามารถตั้งโปรแกรมได้เองโดยไม่ต้องมีความรู้ด้านหุ่นยนต์มาก่อน ทำให้ระบบอัตโนมัติเป็นสิ่งที่เอื้อมถึงได้สำหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภูมิภาค” นีลส์ กล่าวเสริม
การใช้งานอุปกรณ์ของออนโรบอท และ ออพโตฟอร์ซ
รอสบอร์ก กรีนเฮาส์ (Rosborg Greenhouse) ผู้ผลิตสมุนไพรรายใหญ่ที่สุดของเดนมาร์ก นำมือจับรุ่น RG6 ของออนโรบอทไปใช้ในงานที่ซ้ำซากน่าเบื่อและลดต้นทุนของค่าแรงงานที่สูง โดยมือจับถูกนำไปใช้ควบคู่กับโคบอทในการบรรจุหีบห่อสมุนไพรที่ละเอียดอ่อน ซึ่งความยืดหยุ่นในการใช้งาน ช่วงจับที่กว้าง และการหยิบจับที่นุ่มนวลของมือจับคือกุญแจสำคัญในการเลือกใช้ออนโรบอทเป็นโซลูชั่นที่ดีเยี่ยมสำหรับการใช้งานจริง
ณ สถาบัน Nara Institute of Science and Technology (NAIST)’s Robotics Laboratory ที่ประเทศญี่ปุ่น ขั้นตอนการทำงานวิจัยหลายอย่างจำเป็นต้องใช้หุ่นยนต์ในการสัมผัสและผลักวัตถุ ขั้นตอนดังกล่าวได้แก่ การจับ การตรวจจับ และการจดจำใยสิ่งทอ การพับผ้า การโปรยสารเหลวจากภาชนะแข็งหรือไม่คงรูป การเจาะรู และการชั่งตวงวัตถุ
ขีดความสามารถในการรับน้ำหนักมากและมาตรฐานที่สอดคล้องกับข้อกำหนดทำให้เซ็นเซอร์ของออพโตฟอร์ซเป็นโซลูชั่นที่ดีเยี่ยมสำหรับ NAIST เซ็นเซอร์มีความแข็งแรงและสามารถทนทานต่อสภาวะการทำงานที่เลวร้ายได้ จึงช่วยให้นักศึกษาสามารถใช้งานเซ็นเซอร์ได้อย่างอิสระ
# # # #
เกี่ยวกับออนโรบอท (On Robot)
ออนโรบอท มีฐานการดำเนินงานในเดนมาร์ก เป็นผู้นำเสนออุปกรณ์มือจับรุ่นใหม่ที่สามารถปรับแต่งได้ตามแนวคิด “เสียบปลั๊กและเริ่มผลิต” เพื่อช่วยเหลือเหล่าผู้ผลิตให้มีความได้เปรียบทางการแข่งขันจากการใช้งานหุ่นยนต์เพื่อการทำงานร่วมกับมนุษย์ ซึ่งมีคุณสมบัติใช้งานง่าย คุ้มค่าต่อการลงทุนและทำงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย มือจับที่มีความยืดหยุ่นสูงของออนโรบอทสามารถต่อเข้ากับแขนของโคบอทได้โดยตรงและยังสามารถตั้งโปรแกรมได้อย่างง่ายดายและบริหารงานได้โดยไม่ต้องอาศัยวิศวกร จึงก่อให้เกิดการพัฒนาที่รวดเร็วและกระบวนการทำงานอัตโนมัติในราคาที่ซื้อหาได้ ออนโรบอทก่อตั้งโดย บิลจ์ คริสเตียนเซน และ เอบบ์ โอเวอร์การ์ด ฟูจล์แซง ในปี 2014 โดยมีผู้ร่วมลงทุนคือมูลนิธิ Danish Growth Fund (Vækstfonden) และ Universal Robots alumni Enrico Krog Iversen and Thomas Visti หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ http://www.onrobot.dk
เกี่ยวกับ ออพโตฟอร์ซ (OptoForce)
ออพโตฟอร์ซ ก่อตั้งในปี 2012 ในกรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์สำหรับระบบเซ็นเซอร์แรงแบบหลายแกน ระบบเซ็นเซอร์วัดแรงและแรงบิดของออพโตฟอร์ซใช้แสงอินฟราเรดในการตรวจจับการผิดรูปของโครงสร้างเซ็นเซอร์ซิลิโคนเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงน้ำหนักและแรงกระทำ เพื่อสร้างจุดรับสัมผัสให้แก่มือจับหุ่นยนต์และเทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ ด้วยการผสานการใช้งานของเซ็นเซอร์เหล่านี้จึงทำให้งานลบขอบและขัดเงาพื้นผิวอุปกรณ์ของระบบอัตโนมัติมีความแม่นยำและง่ายดายยิ่งขึ้น ออพโตฟอร์ซยังพัฒนาและจัดหาเซ็นเซอร์รุ่นใหม่เหล่านี้ผ่านทางผู้จัดจำหน่ายให้แก่อุตสาหกรรมหลากหลายประเภท นับตั้งแต่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไปจนถึงบริษัทอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.OptoForce.com
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
คาริน โลหิตนาวี
บริษัท มิดัส คอมมิวนิเคชั่น อินเตอร์เนชั่นเนล จำกัด
อีเมล: karin@midas-pr.com
โทรศัพท์: +66 86 044 2145
เว็บไซต์: www.midas-pr.com
[1] Deployment of robots soars 70 percent in Asia
[2] Robot density rises globally
[3] ASEAN automotive federation statistics
[4] COLLABORATIVE ROBOTS: END USER INDUSTRY INSIGHTS
[5] ASEAN’s Electronics Sector: Facing the Disruptive Trends
[6] ASEAN’s Electronics Sector: Facing the Disruptive Trends
[7]Bis Research Analysis, Global Collaborative Industrial Robot Market, 2016-2021
[8]Bis Research Analysis, Global Collaborative Industrial Robot Market, 2016-2021
[9] Robotics and automation: reshaping economy on Thailand 4.0 journey
[10] Robotics and automation: reshaping economy on Thailand 4.0 journey
[11] Workforce in Robotics and Automation in the Manufacturing Industry