กรุงเทพฯ ประเทศไทย, ธันวาคม 2565 — สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) หรือ Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN (THAILAND) ร่วมกับบริษัท ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล(จำกัด) Hakuhodo International (Thailand) Co.,Ltd เผยผลสำรวจเรื่องการคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทยประจำเดือนธันวาคม พ.ศ.2565 ว่า คนไทยมีแนวโน้มในการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านความต้องการอยากใช้จ่ายที่แตะระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี และความสุขที่ยังบวกขึ้นอีกเมื่อเทียบกับหลายเดือนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตคนไทยในตอนนี้มูฟออนจากโควิด-19 อย่างแท้จริง
ปลายปีหลายคนมุ่งเน้นเรื่องการเฉลิมฉลอง เตรียมจับจ่ายซื้อของเพื่อตอบสนองตนเองและครอบครัว ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า โทรศัพท์มือถือ ของฟุ่มเฟือยเพื่อเป็นของขวัญ หรืออาหาร เพื่องานเลี้ยงสังสรรค์ในช่วงเทศกาล นอกจากนี้ยังรวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อกลับไปหาครอบครัว สะท้อนถึงพฤติกรรมการบริโภคเชิงบวกอย่างมาก ซึ่งในประเด็นนี้เอง คุณธีรเมศร์ นิติจรรยาวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล (จำกัด) ได้ให้คำแนะนำเพื่อเป็นแนวทางให้แบรนด์ต่างๆ เตรียมพร้อมให้สอดคล้องกับแนวโน้มความต้องการใช้จ่ายสูงสุดในรอบสองปีนี้ว่า
การจับจ่ายในช่วงท้ายปี คนไทยกำลังอินกับการเปิดรับสิ่งใหม่ ไม่ใช่แค่ให้รางวัลกับตัวเองแต่ซื้อเพื่อเติมเต็มความรู้สึกของผู้อื่นด้วย เช่น การแสดงความขอบคุณ ความรัก หรือ reconnect กับครอบครัว เพื่อก้าวสู่ปีใหม่ที่ดีกว่าเดิม ดังนั้นแบรนด์ควรกระตุ้นให้คนออกมาเปิดหูเปิดตา ด้วยกิจกรรมใหม่ๆ โดยใช้ keyword ‘การเปิด’ เพื่อสร้างอารมณ์การมีส่วนร่วมกับแบรนด์ทั้งในด้านการสื่อสาร (communication) และการสร้างประสบการณ์ร่วม (engagement) เช่น เปิดตู้เสื้อผ้า อัพลุคใหม่ เปิดประตูออกเดินทางไปเที่ยว เปิดลิฟต์เสพบรรยากาศสวยๆบน rooftop
โควิดฯ ทำให้วิถีชิวิตคนไทยเปลี่ยนอย่างถาวร ช่องทางจับจ่ายเปลี่ยนไปจากสิ่งที่ไม่เคยทำจนเป็นเรื่องคุ้นเคย แบรนด์ต้องประเมินช่องทางสร้างประสบการณ์กับลูกค้า (touchpoint) ทุกมิติทั้งออนไลน์หรือออฟไลน์ และจัดกิจกรรมสร้างการมีส่วนรวม (Interaction) ช่องการจำหน่าย (Distribution) และการสื่อสาร (Communication) เป็นลูกผสมกันไปเพื่อปิดรอยรั่วในช่วงลูกค้าที่มีกำลังซื้อที่ไหลเข้ามา เช่น หากปัจจุบันเน้นที่ลูกค้า online เป็นหลัก อาจต้องพิจารณาเพิ่มกิจกรรมการหน้าร้าน (physical) เพื่อตอบสนองลูกค้าที่หันกลับมาเดินกันมากขึ้น
การชี้แนะแนวทางให้กับแบรนด์ เป็นผลมาจากการสำรวจของฮาคูโฮโดซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า คนไทยมูฟออนจากโควิด-19 ได้แล้วอย่างชิ้นเชิง เนื่องจากอาการป่วยสามารถรักษาให้หายได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดคือ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19
คุณสิตาพัชญ์ รุจิธันยพัชร์ เจ้าหน้าที่วางแผนกลยุทธ์อาวุโส บริษัท ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล (จำกัด) ชี้ประเด็นอ้างอิงจากผลสำรวจแนวโน้มความต้องการในการใช้จ่ายของคนไทยในเชิง insight พบความสนใจอยู่ 4 ประเด็น
แรงกระตุ้นเชิงบวกจากภาคเศรษฐกิจการท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคัก เทศกาล festive และโปรโมชั่นจากแบรนด์ ล้วนส่งผลให้คนไทยอยาก ‘ปลดล็อก’ จากพันธนาการความกังวลทั้งปวง เช่น การหาของขวัญให้ครอบครัว จับฉลากปีใหม่ พบปะสังสรรค์ โดยสินค้าที่นิยม อาทิ โทรศัพท์ใหม่ เสื้อผ้า collection ใหม่ รถป้ายแดงคันใหม่ ร้านอาหารเปิดใหม่ที่ต้องไปลอง
ด้วยนักท่องเที่ยวที่กลับเข้ามา โบนัสที่กำลังรอรับ และสภาพจิตใจที่ดีขึ้น คนไทยมองว่า ‘ไม่มีความสุขน้อยลงไปกว่านี้อีกแล้ว’ นี่คือเสียงสนองของคนไทยผ่านตัวเลข แต่จะมีแต่ความสุขที่มากขึ้น (+1%) โดยเฉพาะจากสาวๆ (+2%) สะท้อนให้เห็นถึง ‘ความเชื่อ’ที่มีทิศทางบวกในปี 2566 ที่จะมีแต่เรื่องดีๆเข้ามา
คนกรุงเทพฯ กลับมามีคะแนนบวกสูงสุดที่ +7% เนื่องด้วยการเตรียมตัวซื้อของฝาก ส่งเงินให้ที่บ้าน และเดินทาง ท่องเที่ยวที่มากกว่าภาคอื่น
คนเหนือกลับติดลบ เนื่องด้วยปัญหาสภาพอากาศ เช่น ฝุ่นละออง PM2.5 ค่าตั๋วเครื่องบินที่ปรับราคาสูงขึ้นซึ่งอาจเกิดการชะลอตัวในการเดินทาง
วัยรุ่นและวัยทำงานช่วงอายุ 20-39 เน้นการจับจ่ายที่แสดงความเป็นตัวตน รวมถึงไปร่วมกิจกรรมเพื่อทำคอนเทนท์โซเชียลในอีเวนท์เทศกาลต่างๆ
วัยกลางคนช่วงอายุ 40-59 จับจ่ายเพื่อสานสัมพันธ์ ซื้อของฝาก ของขวัญแก่ลูกหลาน ญาติสนิทมิตรสหาย
คนไทยเข้าสู่โหมดอยากพักผ่อนช่วงปีใหม่ แต่ก็กังวลใจเรื่องความปลอดภัย ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ความสำคัญด้าน
‘ความปลอดภัย’ เข้ามีติดอันดับ Top 5 สะท้อนให้เห็นว่า คนไทยใช้ชีวิตแบบ ‘balance life’ คือ ถึงแม้จะอยากเต็มที่กับความสุข แต่ยังใช้ชีวิตแบบระมัดระวังกับเหตุการณ์รอบตัวด้วย เช่น การเดินทาง การเลือกสถานที่เที่ยว หรือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่เปลี่ยนมุกรายวัน
คุณพร้อมพร สุภัทรวณิช ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านวิจัยการตลาดและกลยุทธ์ สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน ประเทศไทย อธิบายความสนใจบ้านเมืองของคนไทยในภาพรวมว่า ในปัจจุบันความสนใจของผู้คนมีความผันผวนตลอดเวลาจากสถานการณ์บ้านเมืองที่มีให้ตกใจรายวัน เช่น ข่าวการกราดยิง ข่าวน้ำท่วม ข่าวการเมืองที่ยังคงร้อนแรง หรืออื่นอีกหลายข่าวที่ปรากฎใน Top10 จนทำให้คนไทยไม่มีความสนใจเรื่องข่าวสารหรือความกังวลของโควิด-19 อีกแล้ว น สิ่งที่ควรจะตั้งข้อสังเกตุคือ ‘คนไทยในขณะนี้ มีแนวโน้มที่จะเสพข่าวแบบมีสติและเหตุผลมากขึ้น ไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินใจเนื้อหาของข่าวนั้นเพียงอย่างเดียว จนกว่าจะได้รู้เนื้อหาของข่าวทั้งหมด และช่วยกัน comment เพื่อดึงสติไม่ให้ไหลไปตามกระแสอารมณ์ของโซเชียล ซึ่งทีมมองว่า เป็นนัยยะที่ดีและคาดหวังว่าคนไทยจะสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆได้อย่างมีสติ และรู้เท่าทันเพื่อความปลอดภัยในการใช้ชีวิตในปีหน้า’
ทำงานกันมาอย่างต่อเนื่องจนผ่านมาได้ถึงช่วงท้ายปีนี้ ถึงเวลาพักเรื่องการทำงานเข้าสู่โหมดการพักผ่อนในช่วงเทศกาลปีใหม่ เพราะการได้ใช้ชีวิตอย่างเต็มที่มีค่ายิ่งกว่าเงินทอง เลิกเครียดโควิด-19 คิดบวก มองว่าเป็นสิ่งที่สามารถรักษาหายได้ พร้อมมูฟออนเพื่ออนาคตที่สดใสอย่างเต็มที่
####
เกี่ยวกับสถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย)
สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) หรือ Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN (THAILAND) ทำการศึกษาเกี่ยวกับ "การคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทย" ทุก ๆ สองเดือน โดยผลสำรวจการคาดการณ์พฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในประเทศไทยประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 เป็นผลสำรวจจากการรวบรวมข้อมูลจากวันที่ 19 ถึง วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2565 โดยมุ่งเน้นเกี่ยวกับแนวโน้มและพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยในอนาคต ผ่านการทำแบบสอบถามเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จากประชากรเพศชายและหญิงจำนวน 1,200 คน อายุระหว่าง 20-59 ปี จาก 6 ภูมิภาค ทั่วประเทศ
Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN คือศูนย์วิจัยแห่งใหม่ของกลุ่มฮาคูโฮโดในภูมิภาคอาเซียน ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2014 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือบริษัทต่างๆ ภายในประเทศสมาชิกภูมิภาคอาเซียนในเรื่องของข้อมูลการตลาด รวมทั้งสังเกตไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยการวิจัยของฮาคูโฮโดจะเป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นการศึกษา Sei-katsu-sha หรือ ผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคม (Life Living Person) ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของปรัชญาของฮาคูโฮโด ที่ไม่เพียงแค่อธิบายผู้คนในฐานะผู้บริโภคที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่อธิบายถึงความเป็นบุคคลของผู้บริโภคที่มีชีวิต จิตใจ ไลฟ์สไตล์ แรงบันดาลใจ และความฝันที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
ติดตามผลสำรวจเพิ่มเติมได้ที่
Hakuhodo Institute of Life and Living ASEAN (THAILAND)
https://www.facebook.com/hakuhodohillasean