เศรษฐกิจของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังอยู่บนเส้นทางแห่งการฟื้นตัว ในขณะที่การเติบโตของ GDP ได้ฟื้นตัวจากการติดลบในปี พ.ศ. 2563 ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้แสดงความสามารถที่การฟื้นตัวที่น่าทึ่ง ซึ่งมีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่การเติบโตในปี พ.ศ. 2566
เดอะ โกลบอล อีโคโนมิกส์ แพลตฟอร์มวิเคราะห์ข่าวชั้นนำ ได้พิจารณามอบรางวัลให้แก่องค์กรธุรกิจ 30 แห่ง ที่ช่วยขับเคลื่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยงานได้จัดขึ้นในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2566 ที่ โรงแรมอวานี ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาอันสวยงาม เพื่อมอบรางวัลให้แก่องค์กรธุรกิจเหล่านี้ พร้อมทั้งชื่นชมและยกย่องความทุ่มเทของพวกเขา
เกี่ยวกับรางวัล เดอะ โกลบอล อีโคโนมิกส์ อวอร์ด
เดอะ โกลบอล อีโคโนมิกส์ ได้จัดงานมอบรางวัลอันทรงเกียรติเพื่อเฉลิมฉลองให้กับการทำงานหนัก ความทุ่มเท และกิจกรรมที่ส่งผลกระทบเชิงบวกในประเทศขององค์กรธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลก โดยงานมอบรางวัลนี้ยังได้มุ่งเน้นการยกย่องวัฒนธรรมการทำงานและความปรารถนาในการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศของบริษัทเหล่านี้อีกด้วย
โดยรางวัลสำหรับปี พ.ศ. 2565 นั้นได้แบ่งตามหมวดหมู่ธุรกิจดังนี้:
ทีพีไอ กรุป (TPI Group) เป็นผู้สนับสนุนการจัดงานมอบรางวัลในครั้งนี้ และบริษัทยังเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนการเติบโตในภูมิภาคอีกด้วย ในฐานะของผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายใหญ่ลำดับสองของประเทศไทย บริษัทได้มีความรับผิดชอบในการปรับปรุงพัฒนาสภาพแวดล้อมการจ้างงานทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้คำขวัญประจำบริษัท “เราสร้างอนาคต” ทีพีไอ กรุป ได้ใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นตัวช่วยในการส่งมอบคุณภาพระดับโลกพร้อมนวัตกรรมที่ช่วยสร้างคุณค่าให้กับลูกค้า ผ่านกลุ่มผลิตภัณฑ์กว่า 5,000 รูปแบบ (SKU) บริษัทมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามโมเดลธุรกิจ BCG (เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว) และยังปฏิบัติตามแนวคิด ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล) อีกด้วย
งานมอบรางวัลครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ เป็นผู้มอบรางวัล ท่านมีชื่อเสียงอย่างกว้างขวางในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ ได้รับการยกย่องจากการทำงานอย่างเสียสละในด้านเศรษฐศาสตร์และการพัฒนาทางสังคมของผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท่านยังเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีวัตถุประสงค์ในการทำเป้าหมายของท่านให้เป็นจริง คือการช่วยเตรียมความพร้อมให้ภูมิภาคนี้สามารถปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงและการดิสรัปต์ทางเศรษฐกิจในอนาคต
ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์ กล่าวว่า “ในช่วงเศรษฐกิจอันยากลำบากเช่นในปัจจุบัน การยกย่องผู้ที่ช่วยเตรียมตัวให้ผู้บริโภคและธุรกิจต่าง ๆ สามารถรับมือกับความท้าทายนั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างมากที่มีการจัดงานมอบรางวัลครั้งนี้ขึ้นในกรุงเทพฯ เพื่อแสดงความนับถือแก่องค์กรมากมายที่ได้มุ่งพัฒนานวัตกรรมและธุรกิจเพื่อสนับสนุนและพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค”
ผู้ได้รับรางวัล เดอะ โกลบอล อีโคโนมิกส์ อวอร์ด 2565
ผู้ได้รับรางวัล โกลบอล อีโคโนมิกส์ อวอร์ด 2565 รายอื่น ๆ ได้แก่ อีโวลท์ เทคโนโลยี, ซมโปะ ประกันภัย, วีจีไอ, นำวิวัฒน์ เมดิคอล, ไอแอนด์ไอ กรุ๊ป, อินเตอร์ลิงค์เทเลคอม และอีกมากมาย
คุณลักษณะสำคัญของ โกลบอล อีโคโนมิกซ์ อวอร์ด คือการที่รางวัลนี้ไม่ได้มอบให้แก่เพียงบริษัทที่มีการเติบโตอย่างเข้มแข็งเพียงเท่านั้น แต่บริษัทต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อชีวิตของผู้คนโดยทั่วไปก็ได้รับการยกย่องด้วยเช่นกัน
แพลตฟอร์มสินเชื่อดิจิทัล มูลา-เอกซ์ เป็นตัวอย่างของกลุ่มบริษัทดังกล่าวที่ได้เสริมศักยภาพให้แก่กลุ่มคนในสังคมที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการสินเชื่อแบบดั้งเดิม คุณ ลิน ค็อก ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ มูลา-เอกซ์ กล่าวว่า “รางวัลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเราคือการเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนหลังจากที่เราได้ทำตามวัตถุประสงค์ของเรา แต่การที่ความสำเร็จของเราได้รับการยอมรับจากบุคคลภายนอกนั้นก็เป็นแรงผลักดันอย่างดีเยี่ยมเช่นกัน และเรารู้สึกตื่นเต้นอย่างมากที่เราได้รับรางวัลถึงสองรางวัลจาก เดอะ โกลบอล อีโคโนมิกส์ อวอร์ด”
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ The Global Economics https://www.theglobaleconomics.com/awards/