รักษ์สร้างสุข EP2 : BCG สู่การเป็นนโยบายรัฐบาลขับเคลื่อนประเทศไทย
แม้สถานการณ์โควิด 19 จะผ่านไปแล้ว แต่เชื่อว่าทุกคนก็ต้องใช้ชีวิตกับผลกระทบใน “ยุคหลังโควิด” นี้ไปอีกยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพ สังคม รวมถึงการทำงานที่ค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นตามสภาพของ “เศรษฐกิจ”
สำหรับประเทศไทยเศรษฐกิจยังคงเติบโตช้ารัฐบาลจะมีวิธีขับเคลื่อนเพื่อสร้างรายได้และความยั่งยืนไปพร้อมกันได้ยังไง รายการ “รักษ์สร้างสุข” EP.2 พร้อมพาเราไปเปิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ด้วยการใช้ BCG Economy Model
โดยใน EP.1 เราได้เรียนรู้กับหลักการทำน้อยแต่ได้มากอย่าง BCG Model กันไปแล้ว และใน EP นี้ทางรายการจึงอยากทำให้ทุกคนเห็นประโยชน์ของโมเดลนี้ได้ชัดขึ้น ผ่านมุมมองนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจใน 3 ภาคธุรกิจของไทย ขอสรุปง่าย ๆ ดังนี้
พลังงาน : หยุดใช้พลังงานที่ใช้แล้วหมดไป แล้วหันมาใช้ “พลังงานทดแทน” ในการผลิตไฟฟ้า ได้แก่ พลังงานธรรมชาติ, เชื้อเพลิงจากขยะ และเชื้อเพลิงจากของเหลือใช้ในภาคเกษตรกรรม เพื่อช่วยลดการสร้างมลภาวะ รวมถึงกระตุ้นให้ค่าไฟฟ้าถูกลงในอนาคต
เกษตรกรรม : รับซื้อ “พืชพลังงาน” สนับสนุนให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชพลังงานนอกฤดูปลูกข้าว เช่น อ้อย หญ้าเนเปียร์ เพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตพลังงานไฟฟ้าและน้ำมัน เพื่อเพิ่มคุณภาพให้สินค้าข้าว และยังคงสร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ตลอดทั้งปี
อาหารและยา : ต่อยอดสินค้า “สมุนไพร” มาใช้ในด้านความงามและการแพทย์ เช่น สบู่ ครีมบำรุง ยาจากสมุนไพร เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้าท้องถิ่น พร้อมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและธุรกิจขนาดเล็กให้โตได้อย่างต่อเนื่อง
นี่เป็นแค่เนื้อหาส่วนหนึ่งเท่านั้น ใครอยากเจาะลึกแผนพัฒนาเศรษฐกิจกันแบบเต็ม ๆ ก็ตามไปดูในคลิปได้เลย นอกจากจะมีความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับหลัก BCG ในแง่มุมธุรกิจแล้ว ยังมีคำแนะนำให้เราหยิบไปปรับใช้ให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว อย่าลืมติดตามชม EP. ต่อ ๆ ไป
#รักษ์สร้างสุข BCG Economy Model โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความยั่งยืน เพิ่มคุณภาพชีวิต และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ติดตามทุกความเคลื่อนไหวของ รักษ์สร้างสุข ได้ที่...
Facebook : รักษ์สร้างสุข
YouTube : รักษ์สร้างสุข
TikTok : รักษ์สร้างสุข
.
#รักษ์สร้างสุข #Raksrangsuk
#BCG #BCGModel #PTT #ปตท #พลังงานสะอาด
#BioEconomy #CircularEconomy #GreenEconomy
#ความยั่งยืน #เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม #โมเดลพัฒนาเศรษฐกิจ #การขับเคลื่อนประเทศ