การประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ครั้งที่ 4/2563 วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 โดยมี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ณ ห้องบัญชาการยุทธศาสตร์ ชั้น 25 กระทรวงพลังงาน ได้รับทราบและพิจารณาความก้าวหน้าการดำเนินงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้
1. ครั้งแรก ประชุม กบอ. รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธมีเชาว์) เป็นประธาน
2. ความก้าวหน้าแผนพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ อีอีซี
ที่ประชุม กบอ. รับทราบ ความก้าวหน้าแผนพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ อีอีซี ร่วมกับกระทรวงเกษตร
และสหกรณ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป้าหมาย ยกระดับภาคเกษตร ใช้เทคโนโลยีให้ผลการผลิตสูงขึ้น เข้าถึงตลาดเพิ่มมูลค่าสินค้า เพิ่มรายได้เกษตร เทียบเท่ากลุ่มอุตสาหกรรมและบริการ
เร่งแผนพัฒนาการเกษตร ในพื้นที่ อีอีซี พร้อมทำได้ทันที
1.) ใช้ความต้องการตลาดนำ (Demand Pull) เน้นเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร พัฒนาสินค้าใหม่ สร้างความต้องการเพิ่มขึ้น
2.) ใช้เทคโนโลยีสร้างรายได้ (Technology Push) ยกระดับตลาด การแปรรูป กำหนดสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพและโอกาสสูง ให้ตรงความต้องการผู้บริโภคอย่างแท้จริง สร้างรายได้ให้เกษตรอย่างยั่งยืน
3.) ให้ความสำคัญ 5 คลัสเตอร์ ได้แก่ ผลไม้ เน้นพัฒนาคุณภาพสินค้าเข้าถึงตลาด เพิ่มมูลค่าสินค้า
เพิ่มรายได้เกษตรกร ประมงเพาะเลี้ยง เพิ่มมูลค่า ส่งเสริมแบบ Smart Farm สร้างอุตสาหกรรมอาหาร พืชชีวภาพ เชื่อมโยงความต้องการวัตถุดิบ สร้างมูลค่าเพิ่ม พืชสมุนไพร เชื่อมโยงความต้องการอุตสาหกรรมอาหารยา เครื่องสำอาง ปศุสัตว์ แปรรูปเนื้อโคคุณภาพสูง ยกระดับการผลิตและเพิ่มมูลค่า เพิ่มรายได้เกษตรกร
ทั้งนี้ แผนพัฒนาการเกษตรใน อีอีซี จะดำเนินโครงการสำคัญ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น จัดตั้งระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก พัฒนาความรู้ด้านอีคอมเมิร์ซให้กับเกษตรกร พัฒนาเวชสำอางจากผลิตผลการเกษตร และพัฒนาการปลูกผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
3. ความก้าวหน้าการพัฒนาโครงข่าย 5G ในพื้นที่ อีอีซี
สกพอ. ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เดินหน้าให้บริการโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมรองรับ 5G ใน อีอีซี เต็มรูปแบบ พร้อมเริ่มก่อสร้างทันที คาดว่าจะแล้วเสร็จใน 3 เดือน เพื่อดึงดูดนักลงทุนทั่วโลกเข้ามาร่วมลงทุนใน อีอีซี เริ่มพื้นที่นำร่อง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง โดยได้เตรียมบุคลากรด้านดิจิทัลรองรับ จำนวน 100,000 คน เพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลสู่ระดับชุมชน สร้างงาน สร้างโอกาส สร้างรายได้ และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ อีอีซี
4. เดินหน้าขับเคลื่อนแผนบูรณาการ อีอีซี ปี 2565 ต่อเนื่อง
สกพอ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมขับเคลื่อนแผนบูรณาการอีอีซี ปี 2565 อย่างต่อเนื่อง ผ่านกระบวนการความร่วมมือจากส่วนกลางและท้องถิ่น โดยมีผู้แทน 18 กระทรวง 103 หน่วยงาน ภารกิจขับเคลื่อน 5 แนวทาง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค ส่งเสริมการท่องเที่ยว พัฒนาบุคลากรการศึกษา งานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนรองรับการขยายตัวของเมือง และการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ กระตุ้นการจ้างงาน สร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชน ทั้งนี้ งบบูรณาการปี 2564 วางเป้าหมายให้เกิดการลงทุนในพื้นที่อีอีซี ไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท โดยสกพอ. ใช้งบบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพประมาณ 2 หมื่นล้านบาท หรือเพียง 20 % ของงบประมาณรัฐ ที่เหลือเป็นเงินลงทุนจากเอกชน คาดว่าปี 2565 จะเกิดการลงทุนในพื้นที่มากยิ่งขึ้น