เทรนด์การทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) หรือการทำงานทางไกล (Remote Working) จากที่ไหนก็ได้นั้น แม้จะถูกพูดถึงมานานหลายปีแล้วแต่ก็ยังไม่เห็นการนำมาปรับใช้กันอย่างจริงจัง จนเริ่มเห็นการทำงานอย่างจริงจังในลักษณะดังกล่าวเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั่วโลก ซึ่งถือได้ว่า เป็นตัวเร่งที่ทำให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วโลกนำแนวทางดังกล่าวนี้มาใช้ เพื่อทำให้งานและธุรกิจเดินหน้าต่อไป เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่พบว่า หน่วยงานต่างๆ รวมถึงภาคธุรกิจมีการนำแนวทางการทำงานรูปแบบใหม่นี้มาใช้ โดยจุดเด่นที่สำคัญของการทำงานทางไกลนั้น คือ การเข้าไปตอบโจทย์ความต้องการการทำงานของคนยุคใหม่ซึ่งมีไลฟ์สไตล์แตกต่างจากคนรุ่นก่อนหน้า และมีงานวิจัยยืนยันมาแล้วว่า คนรุ่นใหม่ที่ทำงานทางไกลจะทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า จึงเริ่มเห็นองค์กรธุรกิจระดับโลกหลายแห่ง โดยเฉพาะในกลุ่มเทคโนโลยีซึ่งพนักงานส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ ได้ตอบรับการทำงานทางไกลเป็นวิถีการทำงานแนวใหม่และสนับสนุนให้เป็นรูปแบบการทำงานถาวร
สำหรับในประเทศไทยเราจะพบว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากคนรุ่นใหม่จะเห็นได้ชัดเจนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยคนรุ่นใหม่เลือกที่จะทำงานอิสระ งานฟรีแลนซ์เป็นอย่างมาก หรือการเลือกที่จะเป็นนายตัวเองโดยสร้างธุรกิจใหม่ขึ้นมาแทนที่จะสมัครเข้าทำงานเป็นพนักงานประจำในองค์กรธุรกิจต่างๆ รูปแบบการทำงานของธุรกิจเกิดใหม่อย่างบรรดาสตาร์ทอัพ เน้นความคล่องตัวและยืดหยุ่นสูงทั้งสถานที่การทำงานและเวลาในการทำงาน ซึ่งองค์กรธุรกิจตระหนักในเรื่องเหล่านี้ จึงเริ่มพิจารณาแนวทางการทำงานรูปแบบใหม่ที่สามารถจูงใจให้คนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในอนาคต ให้ยังคงทำงานอยู่ในองค์กรและไม่จากไปไหน
และสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นตัวที่ทำให้เห็นว่าการนำแนวทางการทำงานที่บ้านมาใช้เป็นแนวทางหลักชัดเจนขึ้น โดยมีตัวอย่างองค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงานในช่วง COVID ในประเทศไทย คือ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป (TDG) บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ระดับภูมิภาค เริ่มใช้นโยบายให้พนักงานทำงานทางไกลตั้งแต่เริ่มมีข่าวการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในต่างประเทศ โดยทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปและทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมปฏิบัติการ โดยแต่ละทีมใน ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป (TDG) เริ่มปรับแนวทางการทำงานใหม่ตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นที่การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังไม่เข้ามาในประเทศ คือ ช่วงเดือนมกราคมให้พนักงาน 50% จากจำนวนพนักงานทั้งหมดกว่า 1,000 คนเริ่มทำงานจากที่บ้านหรือทำงานทางไกล จากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ เพิ่มเป็น 70% และครบทั้ง 100% ในเดือนมีนาคม
ส่วนยูนิลีเวอร์ ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำ เลือกใช้แนวทางแก้ปัญหาแบบผสมผสาน คือ พนักงานออฟฟิศเน้นให้ทำงานจากที่บ้านเป็นหลัก ส่วนพนักงานในโรงงานผลิตที่ยังต้องเดินเครื่องการผลิตต่อเนื่อง ทางยูนิลีเวอร์ได้กำหนดมาตรการด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
องค์กรยุคใหม่เลือกใช้เครื่องมือดิจิทัลที่เหมาะสมปรับตัวท่ามกลางสถานการณ์
ท่ามกลางการการปรับวิธีการทำงานใหม่นั้น แม้จะเป็นไปอย่างราบรื่นแต่การเลือกใช้เครื่องมือการทำงานร่วมกันที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพถือเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างเช่น การใช้นโยบายปรับเปลี่ยนแบบค่อยเป็นค่อยไปตามแนวทางของ ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป (TDG) นอกจากจะมีเป้าหมายหลักเพื่อดูแลความปลอดภัยของพนักงานแล้ว ยังต้องมีเวลาเพียงพอในการเพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีให้แก่พนักงานยามต้องทำงานที่บ้าน โดยเฉพาะการอบรมการใช้เครื่องมือดิจิทัลซึ่งเป็นเครื่องมือการทำงานใหม่ๆ ส่วนยูนิลีเวอร์ การที่ต้องบริหารจัดการ ดูแลพนักงานในโรงงานให้ปลอดภัยจากเชื้อ COVID และควบคุมการผลิตให้เป็นไปอย่างราบรื่น ถือเป็นความท้าทายเช่นกันที่จะต้องมีเครื่องมือดิจิทัล ซึ่งเป็นเหมือนผู้ช่วยติดตามงานอย่างสม่ำเสมอ
สำหรับเครื่องมือการทำงานร่วมกันด้วยระบบดิจิทัลอย่าง LARK สามารถมอบโซลูชั่นที่หลากหลายตามความต้องการขององค์กรธุรกิจได้ ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะดำเนินการไปทั้งในระดับองค์กรหรือทำเพียงบางส่วน เช่น กรณีการเปลี่ยนแปลงทั้งองค์กร การใช้เครื่องมือที่ตอบโจทย์การทำงานครบวงจรมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อพนักงานจะไม่ต้องเสียเวลาไปกับการปรับเปลี่ยนแพลตฟอร์มไปมาอยู่ตลอดเวลา หรืออาจสร้างความสับสนให้เกิดขึ้นได้ ซึ่ง LARK เป็นโซลูชั่นการทำงานในรูปแบบ All –in-One ที่จะช่วยให้การทำงานประสานงานกันในแต่ละแผนกเป็นไปอย่างราบรื่นภายในชุดเครื่องมือเดียว
หรือแม้แต่การที่ยังต้องติดตามการทำงานของโรงงานผลิต LARK จะช่วยในการประสานข้อมูลและอัพเดทข้อมูลการทำงานได้ เพื่อให้ผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการ มั่นใจถึงกระบวนการผลิตว่าทุกขั้นตอนจะยังคงเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้
LARK คือ ชุดโปรแกรมที่รองรับการทำงานร่วมกันผ่านระบบดิจิทัล ที่ช่วยให้การทำงานประสานกันของทุกแผนกในองค์กรเป็นไปอย่างราบรื่นไร้รอยต่อแม้ต้องทำงานทางไกล เมื่อทุกคนได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ที่ดีก็จะส่งผลต่อแนวคิดของคนทำงานให้เปลี่ยนไปจากวิถีการทำงานที่คุ้นชินแบบเดิมๆ ไปสู่วิธีการทำงานรูปแบบใหม่ที่มีความคล่องตัวมากกว่าหากมีเครื่องมือทำงานดิจิทัลที่ดีเป็นผู้ช่วย และเมื่อนำมาประกอบกับปัจจัยอื่นๆ ที่ว่าการทำงานทางไกล ได้เข้าไปตอบโจทย์ด้านไลฟ์สไตล์และการทำงานของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการความยืดหยุ่นสูง และยังสอดคล้องกับแนวคิดการประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายของธุรกิจสมัยใหม่ โดยเฉพาะต้นทุนที่เกี่ยวกับค่าเช่าพื้นที่สำนักงานและอื่นๆ
ดังนั้นภายใต้เงื่อนไขความไม่แน่นอน เมื่อ COVID หมดไปก็อาจมีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้นได้อีกในอนาคต การทำงานทางไกลจึงมีแนวโน้มที่จะเป็นทางเลือกลำดับแรกๆ สำหรับองค์กรธุรกิจในการนำไปปรับใช้ให้เป็นนโยบายถาวรในวิถี New Normal และมองไปข้างหน้าถึง Next Normal ได้ไม่ยากนัก
สามารถดาวน์โหลด LARK ได้ทั้ง MacOs , Windows , App Store และ Google Play ได้ที่ https://www.larksuite.com/download โดยไม่มีค่าใช้จ่าย