เจ้าของที่พักและเจ้าของประสบการณ์ในไทยกว่า 2,000 ราย เป็นกลุ่มผู้สร้างสรรค์งานครีเอทีฟ
เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (creative economy) มีการเติบโตรุดหน้าเช่นเดียวกับการท่องเที่ยว ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 10% ของจีดีพีทั่วโลก1 โดยข้อมูลล่าสุดจากแอร์บีเอ็นบี ระบุว่า สำหรับประเทศไทยนั้น เจ้าของที่พักและเจ้าของกิจกรรมประสบการณ์ในไทยกว่า 2,000 ราย เป็นกลุ่มผู้สร้างสรรค์งานครีเอทีฟ
โดยมีคนจำนวนมากในกลุ่มนี้ อาศัยและทำงานในเมืองและไม่ได้อยู่บ้านของตนเองเป็นเวลานาน จึงได้มีการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสร้างรายได้จากสิ่งที่ตนสนใจและสร้างสรรค์ตามความถนัด ซึ่งส่วนใหญ่พวกเขาเลือกแบ่งปันที่พักในส่วนที่ไม่ได้ใช้งานให้เป็นที่พักบนแอร์บีเอ็นบี โดยกำหนดราคาที่พักของตนเองและเก็บรายได้ในสัดส่วน 97%ไว้ทั้งหมด จากข้อมูลพบว่า 60% ของเจ้าของที่พักเชิงสร้างสรรค์ทั่วโลกต่างระบุว่า แอร์บีเอ็นบีช่วยให้พวกเขาสามารถพักอยู่ในที่พักของตัวเองได้ด้วย บางคนยังใช้ความชำนาญของตนเอง สร้างสรรค์กิจกรรมด้วยการเป็น เจ้าของแอร์บีเอ็นบี เอ็กซ์พีเรียนซ์ (Airbnb Experience) ลงมือสร้างสรรค์กิจกรรมให้นักเดินทางได้สัมผัสสิ่งใหม่ ๆ โดยกำหนดราคาเองและเก็บรายได้ในสัดส่วน 80% และมีการนำรายได้เหล่านี้ไปต่อยอดการสร้างสรรค์ผลงานของตนเองอีกด้วย
นางมิช โกห์ หัวหน้าฝ่ายนโยบายสาธารณะในภาคตะวันออกเชียงใต้ของ Airbnb กล่าวว่า “ชุมชนเชิงสร้างสรรค์ที่เติบโตนี้ มีส่วนสำคัญต่อเศรษฐกิจโดยเฉพาะในเมืองไทย แอร์บีเอ็นบีภูมิใจกับบทบาทในฐานะแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่ช่วยยกระดับการเติบโตของนักเดินทางที่มีความสนใจด้านวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ท้องถิ่น ตลอดจนเป็นการช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนที่ความเป็นขนานแท้และอย่างยั่งยืน”
ข้อมูลสำคัญในตลาดไทยที่แอร์บีเอ็นบีค้นพบ
รู้จักกับเจ้าของที่พักสุดครีเอทีฟ
นางสาวอนันดา ฉลาดเจริญ เจ้าของที่พัก The Mustang Nero Hotel และนักเดินทาง
อนันดาเป็นเจ้าของโรงแรมบูติก ซ. สุขุมวิท 46 ซึ่งได้มีการรีโนเวทอาคารพาณิชย์เป็นโรงแรมสุดชิคสไตล์วินเทจ อนันดายังเป็นแฟชั่นดีไซเนอร์ และลงมือออกแบบโรงแรมเองในธีมทรอปิคอล โดยห้องพัก 10 ห้องได้รับการตั้งชื่อเป็นชื่อของสัตว์ อาทิ The Zebra song, Black bird หรือ The Lion Sleep Tonight
“เดอะ มัสแตง นีโร มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาก ซึ่งได้บรรจงสร้างสรรค์ในเรื่องการดีไซน์และตกแต่งในทุกตารางนิ้ว เพื่อให้แขก
ที่เข้าพักสัมผัสประสบการณ์ที่แตกต่าง และในขณะเดียวกันยังเป็นการแสดงความคิดสร้างสรรค์ฝีมือคนไทยของเราสู่สายตาคนทั่วโลก แอร์บีเอ็นบีเป็นแพลตฟอร์มที่เราใช้เป็นหลัก และมีความรู้สึกว่า เราเติบโตไปพร้อมๆ กัน แอร์บีเอ็นบีช่วยให้เราเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและเติบโตธุรกิจได้เป็นอย่างดี ซึ่งผู้เข้าพักกว่า 95% ได้จองผ่านแอร์บีเอ็นบี” นางสาวอนันดากล่าว
และด้วยการที่เธอเติบโตและใช้ชีวิตอยู่ในย่านพระโขนงนี้ เธอยังชอบที่จะแนะนำสถานที่ห้ามพลาดในย่านนี้ให้กับนักเดินทางอีกด้วย ซึ่งอนันดาได้จัดทำไกด์บุ๊ก 3 ภาษา ไทย อังกฤษ และจีน แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวพร้อมกับข้อแนะนำต่างๆ สำหรับ
นักเดินทางที่มาพักอีกด้วย
การเติบโตด้านพันธมิตร
แอร์บีเอ็นบี เป็นแพลตฟอร์มด้านการเดินทางรายแรกในไทยที่ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมกัน (MoU) กับสมาคมการค้าธุรกิจที่พักบูติกไทย เพื่อนำโรงแรมบูติกมากกว่า 50 แห่งใน 15 จังหวัดทั่วไทยสู่แพลตฟอร์มแอร์บีเอ็นบีภายในปีนี้ ความร่วมมือนี้บ่งบอกถึงการรับรู้ถึงบทบาทสำคัญที่เพิ่มขึ้นของเจ้าของธุรกิจบูติกเชิงสร้างสรรค์ ที่มีต่อการขับเคลื่อนระบบนิเวศ
ด้านการท่องเที่ยวชุมชน และมีเป้าหมายมุ่งนำเสนอการต้อนรับในแบบไทย, วัฒนธรรม และการออกแบบที่สะท้อนภายในโรงแรมบูติกนั้นๆ
ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา แอร์บีเอ็นบีได้เปิดตัว แอร์บีเอ็นบี เอ็กซ์พีเรียนซ์ (Airbnb Experience) ในจังหวัดเชียงใหม่และทั่วประเทศ ร่วมกับการจัดเสวนากับสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Thailand Community Based Tourism Institute) หรือ CBT-I, ครีเอทีฟ เชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีประสบการณ์ที่ได้รับความนิยมสูง อาทิ การสักยันต์ไทยแบบดั้งเดิม และการเรียนทำข้าวซอย เป็นต้น แอร์บีเอ็นบี มุ่งหวังสนับสนุนให้ศิลปะและความสร้างสรรค์แบบฉบับเมืองหลวงแห่งภาคเหนือของไทย ก้าวไกลสู่การเป็นจุดหมายยอดนิยมของการท่องเที่ยวระดับโลก
ข้อมูลอ้างอิงในข่าว
1 ข้อมูลอ้างอิงจาก WTTC Travel and Tourism Economic Impact 2018 World Report
2 ข้อมูลอ้างอิงจาก Culture times: The first global map of cultural and creative industries เดือนธันวาคม 2015