กรุงเทพฯ, ประเทศไทย — 25 เมษายน 2566: บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด ผู้สร้างและดำเนินการ “บิทคับเชน” เครือข่ายบล็อกเชนที่ได้รับความนิยมสูงสุดของไทย ที่มียอดธุรกรรมกว่า 300 ล้านธุรกรรมบนเครือข่าย (อ้างอิงจาก BKC Scan ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2566) และผู้ให้บริการ Blockchain Total Solution ชั้นนำ ร่วมกับ บริษัท ฟาสท์ฟิต โซกู๊ด จำกัด ผู้พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดทำซอฟต์แวร์ด้านสุขภาพ และ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสริมแกร่งพร้อมมุ่งพัฒนาหลักสูตรการศึกษาไทยผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน
เทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำมาวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับความสนใจทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นนวัตกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการเข้ามาขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจดิจิทัลในอนาคต อีกทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเข้ามาปฏิวัติโลกธุรกิจและเกิดการประยุกต์ใช้เข้ากับชีวิตประจำวันของผู้คนในวงกว้าง นอกจากนี้ เทคโนโลยีบล็อกเชนยังมีบทบาทในการยกระดับภาคการศึกษา พร้อมสนับสนุนและมอบโอกาสให้กับเยาวชนไทยอีกด้วย
การร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นการส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้และต่อยอดเพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง อาทิ NFT (Non-Fungible Token) และโลกเสมือน (Metaverse) เป็นต้น โดยเป็นการร่วมมือกันทั้งในระดับนักศึกษา คณาจารย์ ตลอดจนผู้ที่สนใจในเทคโนโลยี นอกจากนี้ จะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจในตัวเทคโนโลยีผ่านการจัดทำกิจกรรมเพื่อสังคม การจัดทำกิจกรรมเพื่อการศึกษา การจัดทำกิจกรรมเพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก (SME และ Startup) เป็นต้น
“พาร์ตเนอร์อย่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และฟาสท์ฟิตเป็นพาร์ตเนอร์ที่จะมาช่วยเสริมแกร่งระบบนิเวศบนบิทคับเชน โดยผมเชื่อว่าการร่วมมือในครั้งนี้จะสามารถผลักดันการศึกษาไทยในเชิงเทคโนโลยีสมัยใหม่ อีกทั้งยังเป็นการมอบโอกาสให้กับเยาวชนไทยในการเข้าถึงเทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อวางรากฐานต่อยอดสู่การส่งเสริมและพัฒนาภาคธุรกิจและผลักดันการใช้งานจริง (Use Case) ในวงกว้าง ให้เติบโตยิ่งขึ้น” นาย ภาสกร ปานนอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด กล่าว
“มากกว่าการสร้างโอกาส คือ การเชื่อมโยงโอกาสด้วยการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ จึงเป็นที่มาของความร่วมมือในครั้งนี้ เราเล็งเห็นว่า ความร่วมมือระหว่าง Bitkub Chain และ CAMT CMU จะก่อให้เกิดการศึกษาในเชิงวิจัยที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตและเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ก่อให้เกิดแนวคิดสร้างสรรค์พร้อมเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจ และการสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ ๆ เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศ Southeast Asia” นาย สุรินธร ใหม่อารินทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟาสท์ฟิต โซกู๊ด จำกัด กล่าว
“ความร่วมมือในครั้งนี้ส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมการเรียนรู้และการนำเอาเทคโนโลยีบล็อกเชนมาประยุกต์ใช้เพื่อการศึกษาในหลายรูปแบบ การพัฒนางานวิจัย รวมถึง Metaverse ในอนาคต ซึ่งวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มองเห็นความร่วมมือทั้ง 3 ฝ่ายเป็นโอกาสสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนการศึกษาและการพัฒนาที่ยั่งยืนทางเศรษฐกิจดิจิทัล” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิชญ์ จันทร์ฉาย คณบดี กล่าว
สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของ Bitkub Chain และ Bitkub NFT ได้ที่
Bitkub Chain
Website: https://www.bitkubchain.com/
Facebook: https://www.facebook.com/bitkubchainofficial
Medium: https://medium.com/bitkubchain
Twitter: https://twitter.com/bitkubchain
Discord: https://discord.gg/WkJ6j279
Telegram: https://t.me/+jiM6dAP5cxUzZTM1
Bitkub NFT
Website: https://www.bitkubnft.com/
Facebook: https://www.facebook.com/bitkubnft
Instagram: https://www.instagram.com/bitkubnft
#FastFit #BitkubBlockchainTechnology #CAMT #BitkubChain
########
เกี่ยวกับบริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด เป็นบริษัทในกลุ่ม บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2561 ด้วยทุนจดทะเบียน 778 ล้านบาท ดำเนินธุรกิจกิจกรรมการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ รวมถึงการพัฒนาและออกแบบเทคโนโลยีบล็อกเชน บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด มีความมุ่งหวังที่จะสร้างเครือข่ายบิทคับเชน ให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนให้กับภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ เพื่อกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจและการเงินให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน ด้วยเทคโนโลยีที่ให้ทั้งความปลอดภัยและความโปร่งใสสูงสุด พร้อมทั้งสามารถแลกเปลี่ยนมูลค่ากันได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องพึ่งพาตัวกลาง และต่อยอดให้เกิดการใช้บล็อกเชนรวมกับภาคอุตสาหกรรมขึ้นจริง