Mellanox Technologies นำเสนอโซลูชั่นระบบความปลอดภัยอนาคต

แอปพลิเคชัน เว็บไซต์ Startup

Mellanox Technologies เมลลาน็อกซ์ เทคโนโลยีส์ผู้นำด้านโซลูชั่นอัจฉริยะประสิทธิภาพสูงแบบ End-to-End สำหรับการเชื่อมต่อเซิร์ฟเวอร์และสตอเรจในศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ ประกาศเปิดตัวหลักสูตรการเรียนรู้ในประเทศไทยภายใต้ชื่อ “What Just Happened” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลและจัดการระบบเครือข่ายในประเทศไทยได้มีความเข้าใจ และสามารถระบุชี้ปัญหาในการทำงานของระบบเครือข่าย หรือแอพพลิเคชั่นได้ก่อนส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานในองค์กร ทั้งนี้ เมลลาน็อกซ์ เทคโนโลยีส์ได้จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการขึ้นที่โรงแรมไอบิสสไตล์บางกอกรัชดา โดยร่วมมือกับ Agile Distribution (Thailand) ผู้จัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการ (VAR) ของเมลลาน็อกซ์ในประเทศไทย โดยได้รับความสนใจจากตัวแทนจากหลายภาคส่วนอุตสาหกรรมในประเทศไทยเข้าร่วมสัมมนา

โซลูชั่นการเชื่อมต่ออัจฉริยะของเมลลาน็อกซ์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์ข้อมูลด้วยการรองรับปริมาณงานสูงสุด ลดความหน่วงแฝง เพิ่มความเร็วการส่งข้อมูลสื่อสารกับแอพพลิเคชั่นปลดล็อคประสิทธิภาพให้ระบบ และยกระดับความปลอดภัยทั้งนี้เมลลาน็อกซ์เสนอทางเลือกที่ครอบคลุมการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นนระบบเครือข่ายระบบประมวลผลหลายแกนเน็ตเวิร์ดอะแดปเตอร์อุปกรณ์สวิตช์สายเคเบิ้ลไปจนถึงซอฟท์แวร์และระบบซิลิคอน เพื่อช่วยเร่งการทำงานของแอพพลิเคชั่นและผลลัพธ์ธุรกิจที่แตกต่างกันรวมถึงคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (HPC) ศูนย์ข้อมูลระบบคลาวด์ระบบสตอเรจระบบความปลอดภัยไซเบอร์ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และบริการการเงิน

อีกทั้ง ภายใต้สถานการณ์ที่ระบบเครือข่ายล่ม หรือทำงานช้าลง เมลลาน็อกซ์มีโซลูชั่นให้ผู้ดูแลและผู้จัดการระบบเครือข่ายตรวจสอบกิจกรรมเครือข่าย และวัดการตอบสนองของแอพพลิเคชั่น เพื่อระบุจุดและจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาต่อระบบเครือข่ายหรือแอพพลิเคชั่นได้ก่อนส่งผลกระทบต่อผู้ใช้งานทั้งองค์กร โซลูชันที่ทำงานเฝ้าระวังและสอดส่องระบบเครือข่ายแบบเรียลไทม์จะสนับสนุนข้อมูลต่างๆ ให้ผู้ดูแลระบบเครือข่ายในการวิเคราะห์ว่า “เกิดอะไรขึ้นกับเครือข่าย” และสามารถอธิบายต่อผู้ใช้และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลกระทบได้ทันที ไม่เสียเวลาในการตรวจสอบเหมือนในอดีต

สำหรับหลักสูตรการอบรมในครั้งนี้ นอกจากฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการระบุปัญหาเครือข่ายหรือการทำงานแอพพลิเคชั่นแล้ว ยังนำเสนอทิศทางแนวโน้มของการใช้งานศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีความทันสมัย และแบ่งปันประสบการณ์ต่างๆ จากลูกค้า รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบระยะไกล (telemetry) ในการจัดการระบบเครือข่ายอัตโนมัติยุคใหม่ และยังได้นำเสนอเทคโนโลยีระดับผู้นำของเมลลาน็อกซ์ในอุปกรณ์ที่เรียกว่า SmartNIC (NIC คือ การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย ซึ่งทำหน้าที่ลดภาระการทำงานของระบบประมวลผลหลัก) และนำเสนอการออกแบบสถาปัตยกรรมระบบเครือข่าย

“ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในตลาดหลักที่มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องสำหรับเมลลาน็อกซ์นับเป็นส่วนสำคัญของความสำเร็จในระดับภูมิภาคและระดับโลกของบริษัทดังจะสะท้อนให้เห็นในความมุ่งมั่นตั้งใจของบริษัทที่จะเพิ่มการลงทุนที่นี่ ซึ่งเมลลาน็อกซ์ตื่นเต้นอย่างยิ่งที่จะได้เป็นส่วนหนึ่ง และนำความเชี่ยวชาญและความรู้ของเรามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ศูนย์ข้อมูลของลูกค้า และยังทำให้คู่ค้าในประเทศไทยของเมลลาน็อกซ์เติบโตไปพร้อมกัน” มร. ชาร์ลี ฟู รองประธานและผู้จัดการทั่วไป ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เมลลาน็อกซ์กล่าวและได้เสริมว่า “การถือกำเนิดของนวัตกรรมใหม่ เช่น 5G, ระบบออโตเมชั่น, การเรียนรู้ด้วยตัวเองของคอมพิวเตอร์ (machine learning) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ล้วนเป็นความท้าทายในการออกแบบระบบเครือข่ายและประสิทธิภาพการทำงานของระบบคลาวด์อย่างไม่ต้องสงสัย เมลลาน็อกซ์จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับลูกค้าในไทยเพื่อให้พวกเขาได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลรุ่นต่อไป เพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน และปลดล็อกเพื่อก้าวออกสู่โอกาสใหม่ๆ ไปกับลูกค้าของพวกเขา”

ข้อมูลของไอดีซีระบุว่าภายในปีพ.ศ. 2565 ร้อยละ 61ของ GDP ของประเทศไทยจะถูกทำให้เป็นดิจิทัล ทุกอุตสาหกรรมจะมีการเติบโตอันมาจากแรงขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ได้รับการส่งเสริมทางดิจิทัล, การดำเนินการและปฎิสัมพันธ์ สร้างให้เกิดตัวเลขการใช้จ่ายสินค้ากลุ่มที่เกี่ยวข้องกับไอทีถึง 72,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงปีพ.ศ. 2562-2565 โดยคาดการณ์ว่าในปีพ.ศ. 2565 นั้น ร้อยละ 60 ของรายจ่ายด้านไอทีจะถูกใช้จ่ายไปกับเทคโนโลยีที่อยู่บนแพลตฟอร์มยุคที่ 3 นี้ โดยที่มากกว่าร้อยละ 30 ขององค์กรทั้งหมดจะเดินหน้าสร้างสิ่งที่เรียกว่า “Digital-native” ให้กับระบบไอทีให้พร้อมรับการระบบเศรษฐกิจยุคดิจิทัล และในบริบทที่สอดคล้องกันจะมีองค์กรในไทยอีกราวร้อยละ 20 ที่ยังคงมีการใช้งานระบบคลาวด์จะรวมเทคโนโลยีอย่าง Edge Computing เข้าไว้ด้วย อีกร้อยละ 25 ที่ใช้งานอุปกรณ์ปลายทาง (endpoint devices) และระบบจะต้องหันมารองรับการนำเอาระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เข้ามาใช้งาน

  • ผู้โพสต์ :
    Tech
  • อัพเดทเมื่อ :
    18 พ.ย. 2019 13:31:40

ลงข่าวประชาสัมพันธ์ ฟรี คลิกที่นี่

 

X

เว็บไซต์เรามีการใช้คุกกี้ คลิกเพื่อดู นโยบายคุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา