เอ็นเทอร์ไพรซ์ 95% ระบุว่านวัตกรรมเทคโนโลยีล้มเหลวก่อนเปิดตัว แคสเปอร์สกี้แนะดึง CISO ร่วมโครงการเพื่อสนับสนุนความปลอดภัย

แอปพลิเคชัน เว็บไซต์ Startup

จากการวิจัยใหม่ของแคสเปอร์สกี้ ระบุว่า หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมในองค์กรทั่วโลก 95% ยอมรับว่าโครงการของพวกเขามักจะล้มเหลวก่อนที่จะเปิดตัว และ 36% ระบุว่านวัตกรรมจำนวนมากไม่ได้ผ่านขั้นตอนการพัฒนา การขาดความร่วมมือกับแผนกความปลอดภัยไอทียังเพิ่มความเป็นไปได้ที่โครงการจะไม่ถูกเปิดตัว

ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่พัฒนาโดยองค์กรมักไม่ประสบความสำเร็จ อย่างเช่น คอนโซลเกม Virtual Boy ของ Nintendo ที่ออกแบบมาเพื่อรวม VR และตัวติดตามการออกกำลังกาย Nike FuelBand ดังที่ประสบการณ์ของ GE แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการภายในไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่ต้องการเสมอไปเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ความล้มเหลวของโครงการที่เปิดตัวสู่สาธารณะเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของภูเขาน้ำแข็ง จากการศึกษาของ แคสเปอร์สกี้ซึ่งสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจอาวุโสจำนวน 304 คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนวัตกรรม ขั้นตอนการพัฒนาถือเป็นสิ่งที่ท้าทายที่สุดใน “วงจรของนวัตกรรม” ข้อมูลนี้ได้รับการยืนยันโดยผู้ตอบแบบสอบถามหนึ่งในสาม (36%)

สำหรับองค์กรส่วนใหญ่ สาเหตุหลักที่ทำให้นวัตกรรมไม่ประสบความสำเร็จ คือการขาดแผนงานและโครงสร้างที่ชัดเจนโดย 1 ใน 5 (19%) ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยกับข้อมูลนี้ ซึ่งหมายความว่าความสามารถในการดำเนินการมีความสำคัญพอ ๆ กับการคิดไอเดียที่ยอดเยี่ยม เพื่อที่จะเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าให้กลายเป็นโซลูชันที่ให้ผลกำไรและเป็นไปได้ เมื่อกำหนดแผนงานแล้วควรทบทวนเป็นประจำ เพื่อให้ทันกับกิจกรรมของคู่แข่งแนวโน้มของตลาดและความผันผวนของอุตสาหกรรม

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่ได้ระบุไว้ในสาเหตุหลักที่ทำให้โครงการล้มเหลว อย่างไรก็ตาม มีความเชื่อร่วมกัน (74% เห็นด้วย) ว่าการไม่รวมประธานเจ้าหน้าที่บริการความปลอดภัยของข้อมูล หรือ Chief Information Security Officer (CISO) ในช่วงต้นของกระบวนการองค์กรต่างๆ กำลังเพิ่มความเป็นไปได้ที่นวัตกรรมของตนจะไม่ประสบความสำเร็จ อาจเป็นเพราะไม่สามารถปรับโครงการให้เข้ากับกฎการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เข้มงวด โดยมากกว่าครึ่ง (54%) เชื่อว่านโยบายความปลอดภัยด้านไอทีในบริษัทเป็นตัวขัดขวางนวัตกรรม

นายอเล็กซานเดอร์ มอยซีฟ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกิจ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า สำหรับธุรกิจที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ควรรับความเสี่ยงและพร้อมที่จะผ่านความล้มเหลวในกระบวนการต่างๆ เพราะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อคุณกำลังมองหาสิ่งใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม ยังมีขั้นตอนปฏิบัติบางอย่างที่สามารถทำได้ เพื่อให้แน่ใจว่าเทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จะได้เปิดตัว การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่จำเป็นต้องเป็นอุปสรรคขององค์กรอีกต่อไป แต่ควรเป็นส่วนสำคัญของโครงการ องค์กรควรให้ CISO อยู่ในวงจรตั้งแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่การวางแผนการพัฒนาเทคโนโลยีครั้งต่อไป”

สถานะของนวัตกรรมในเอเชียแปซิฟิก

ผลการสำรวจของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้นสูงกว่าเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลก ตัวอย่างเช่น หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมในองค์กรต่างๆ จำนวน 98% ยอมรับว่าโครงการของพวกเขาถึงทางตัน และ 40% ยอมรับว่าความคิดสร้างสรรค์มักจะไม่ก้าวไปถึงขั้นตอนการพัฒนา

การสำรวจเรื่องปัจจัยเบื้องหลังความพยายามในการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ล้มเหลว พบว่า ผู้มีอำนาจตัดสินใจจำนวน 2 ใน 10 (20%) ในเอเชียแปซิฟิกอ้างว่าขาดแผนและโครงสร้างที่ชัดเจน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (80%) สะท้อนให้เห็นถึงเปอร์เซ็นต์ของความล้มเหลวเพิ่มขึ้นเมื่อ CISO ขององค์กรไม่ได้มีส่วนร่วมในโครงการตั้งแต่ต้น

นายสเตฟาน นิวไมเออร์ กรรมการผู้จัดการภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า เนื่องจากจำนวนประชากรที่มีอายุน้อยและการใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เอเชียแปซิฟิกเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในความเป็นจริงภูมิภาคนี้มีขุมพลังแห่งนวัตกรรม โดยเฉพาะในเทคโนโลยีฟินเทค เช่นจีน อินเดีย และแม้แต่สิงคโปร์ ในขณะที่การสำรวจของเราแสดงให้เห็นความจริงที่ว่าโครงการนวัตกรรมไม่ได้จบลงด้วยความสำเร็จเสมอไป แต่ผมเชื่อว่าเมื่อประเทศต่างๆ จากภูมิภาคนี้ก้าวไปสู่สังคมดิจิทัลในรูปแบบของตนมากขึ้น องค์กรต่างๆ ก็จะสามารถเรียนรู้สูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่คิดไปข้างหน้าได้มากขึ้น

“ปัจจุบันมีผู้มีอำนาจตัดสินใจจำนวน 52% ที่เชื่อว่านโยบายการรักษาความปลอดภัยไอทีในบริษัทเป็นสิ่งที่ขัดขวางนวัตกรรม แต่ด้วยการสื่อสารที่เหมาะสมระหว่างทีมวิจัยและพัฒนากับ CISO ผมมั่นใจว่าเราจะได้เห็นเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้นและที่สำคัญที่สุดคือเทคโนโลยีที่ปลอดภัยในอนาคต” นายสเตฟานกล่าวเสริม

ข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัย

ในช่วงฤดูร้อนปี 2020 แคสเปอร์สกี้มอบหมายให้ Savanta ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยตลาดอิสระสำรวจเรื่องนวัตกรรมขององค์กรในแง่มุมต่างๆ นวัตกรรมคือกระบวนการแนะนำแนวคิดเทคโนโลยีวิธีการบริการหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกภายในธุรกิจ

ผู้มีอำนาจตัดสินใจอาวุโส 304 คนที่มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทำงานในยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชียแปซิฟิก MEA APAC ละตินอเมริกา อเมริกาเหนือและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช ได้รับการสำรวจออนไลน์ในเดือนกรกฎาคม 2020 ทุกคนทำงานในหลากหลายอุตสาหกรรมและในองค์กรขนาดใหญ่ (พนักงานมากกว่า 500 คน) จากการสำรวจพบว่ามีการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพเชิงลึก 15 รายการกับผู้มีอำนาจตัดสินใจอาวุโสที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมทำงานในองค์กรขนาดใหญ่ในหลากหลายอุตสาหกรรมและความเชี่ยวชาญพิเศษ

  • ผู้โพสต์ :
    Tech
  • อัพเดทเมื่อ :
    28 ต.ค. 2020 21:11:37

ลงข่าวประชาสัมพันธ์ ฟรี คลิกที่นี่

 

X

เว็บไซต์เรามีการใช้คุกกี้ คลิกเพื่อดู นโยบายคุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา