บทความโดย นายเปรม ปาวัน รองประธานประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาหลี ของเร้ดแฮท
เห็นได้อย่างชัดเจนว่าไม่กี่ปีที่ผ่านมาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้กลายเป็นศูนย์กลางการเติบโตทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รายงาน Google e-Conomy SEA ประจำปี 2566 ประเมินว่าสิ้นปี[1] 2568 เศรษฐกิจดิจิทัลของภูมิภาคนี้จะมีมูลค่าถึง 295 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ยังได้ตอกย้ำ[2]ความสำคัญของการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลของประเทศในภูมิภาคนี้เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าและการบูรณาการบริการดิจิทัล ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะภาคเอกชนเท่านั้น แม้แต่ภาครัฐเองก็สามารถทรานฟอร์มสู่ดิจิทัล และใช้ดิจิทัลโซลูชันส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีให้ประชาชน และสร้างสังคมดิจิทัลอย่างทั่วถึงได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อนำไปใช้จริง เครื่องมือดิจิทัลต่าง ๆ ที่มีอยู่อาจไม่ตอบโจทย์ได้ทั้งหมด
อย่างไรก็ตามการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้อยู่ในระดับที่ต่างกันออกไป ข้อมูลจาก e-Government Development Index[3] ของสหประชาชาติ ระบุว่า เมื่อพิจารณาด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและความพร้อมในการให้บริการแล้ว ประเทศสิงคโปร์อยู่ในอันดับ 12 จาก 193 ประเทศ แต่มาเลเซีย ไทย และอินโดนีเซียกลับไม่ได้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน
ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ได้บรรจุเรื่องนี้ไว้ในระดับนโยบายแล้ว เช่น นโยบาย Making Indoensia 4.0[4] และ Smart Nation[5] Initiatives ของสิงคโปร์ รวมถึง Thailand Digital Government Development Plan ของไทยที่ล้วนโฟกัสไปที่การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านสวัสดิการสาธารณะและประโยชน์ส่วนรวม ดังนั้นการพิจารณานำเทคโนโลยีที่มีอยู่หลากหลายมาใช้จึงเป็นเรื่องสำคัญ และหนึ่งในเทคโนโลยีที่เป็นแรงกระตุ้นและสนับสนุนให้การพัฒนาบริการประชาชนด้านต่าง ๆ ทำได้อย่างทั่วถึงมากขึ้นอย่างรวดเร็วคือโอเพ่นซอร์ส ที่จะช่วยขับเคลื่อนบริการภาครัฐในภูมิภาคนี้ให้สามารถให้บริการประชาชนได้ดีขึ้น ส่งเสริมนวัตกรรมด้านต่าง ๆ และเพิ่มความปลอดภัยไซเบอร์ให้รัดกุมมากขึ้นได้ ผ่านสามแนวทางหลักคือ
พัฒนาดิจิทัลภาครัฐไปพร้อม ๆ กับเศรษฐกิจดิจิทัลที่ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัดการเติบโตของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในภาพรวมยังคงเป็นไปในทิศทางที่ดี ธนาคารพัฒนาเอเชียประมาณการณ์ว่าภูมิภาคนี้จะเติบโต 4.7%[6] นอกจากนี้ประชากรในภูมิภาคนี้จำนวนมากยังเข้าสู่ยุค mobile-first ด้วยตัวเลขการใช้สมาร์ทโฟนที่สูงสุดในโลก[7] ผู้บริโภคมีความคาดหวังบริการดิจิทัลที่รวดเร็ว คล่องตัว เฉพาะตัว และสะดวกเพียงกดปุ่ม ทำให้หน่วยงานภาครัฐต้องตามให้ทันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์นี้
งบประมาณที่ค่อนข้างจำกัดเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง แต่เทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสร้างดิจิทัลโซลูชันที่คุ้มค่าการลงทุน เพราะซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สส่วนมากเปิดให้ใช้งานได้ในระดับคอมมิวนิตี้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และเมื่อจะนำซอฟต์แวร์ไปใช้ในระดับองค์กรก็สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการที่เจาะจงกับการใช้งาน โอเพ่นซอร์สเป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้ความรู้และอัปเดทเรื่องต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว เพราะเป็นการทำงานร่วมกันจากผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนร่วมทั่วโลก ความคุ้มค่าการลงทุนในลักษณะนี้เป็นประโยชน์มากต่อหน่วยงานที่มีงบประมาณจำกัดและต้องบริหารจัดการงบประมาณนั้นอย่างรอบคอบเหมาะสม
ธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นธนาคารเพื่อสังคมของรัฐบาลในประเทศไทย เป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สระดับองค์กรสนับสนุนการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลได้ประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยโซลูชันของเร้ดแฮทมีบทบาทสำคัญในการปรับโครงสร้างพื้นฐานไอทีของธนาคารฯ ให้ทันสมัย ส่งผลให้ธนาคารฯ ให้บริการลูกค้าได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น Indonesia’s Treasury เป็นกรณีตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่าโอเพ่นซอร์สช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณประโยชน์และลดความซ้ำซ้อนได้อย่างไร โดยสามารถให้บริการและเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ ในเวลาน้อยลง 50% และปรับขนาดการทำงานเพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่เพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ด้วยโซลูชันของเร้ดแฮท PERKESO ในประเทศมาเลเซียเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่นำแอปพลิเคชันที่ปรับให้เหมาะกับการใช้งานวางไว้ให้ทำงานบน Red Hat Enterprise Linux ซึ่งช่วยให้ผู้จ้างงานในมาเลเซียมากกว่า 400,000 ราย สามารถใช้ช่องทางดิจิทัลของ PERKESO ได้ นับเป็นการเพิ่มการมีส่วนร่วมทางออนไลน์โดยรวมได้ 90 เปอร์เซ็นต์
เสริมความปลอดภัยไซเบอร์ให้กับหน่วยงานภาครัฐ รองรับกฎระเบียบและข้อบังคับด้านข้อมูล
การเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค มาพร้อมการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น ความปลอดภัยไซเบอร์จึงเป็นเรื่องสำคัญมากของหน่วยงานภาครัฐซึ่งเป็นผู้รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลที่มีความอ่อนไหวสูงของประชาชน เห็นได้จากการประกาศใช้กฎหมายความเป็นส่วนตัวของข้อมูลในหลายประเทศ เช่น ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา[8]
โอเพ่นซอร์สมอบฐานรากที่แข็งแกร่งให้กับการปกป้องข้อมูลที่อ่อนไหวง่าย และสนับสนุนเป้าหมายการเสริมสร้างความปลอดภัยไซเบอร์ให้รัดกุม โอเพ่นซอร์สช่วยให้หน่วยงานภาครัฐสามารถตรวจสอบโค้ดได้อย่างละเอียดว่ามีช่องโหว่ตรงไหนหรือไม่และทำการแพตช์ช่องโหว่นั้น ๆ ได้ทันเวลา ความยืดหยุ่นของซอฟต์แวร์ที่เป็นโอเพ่นซอร์ส ช่วยให้ผสานรวมฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยประสิทธิภาพล้ำหน้าต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น การยืนยันตัวตนและการเข้ารหัสแบบหลายชั้น เพื่อปกป้องข้อมูลที่อ่อนไหวง่าย ตัวอย่างเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สที่ใช้ในองค์กร เช่น Red Hat Trusted Software Supply Chain ที่มีรูปแบบการพัฒนาที่โปร่งใสและทำซ้ำได้ และสามารถรองรับมาตรการด้านความปลอดภัยไซเบอร์ให้กับหน่วยงานภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โอเพ่นซอร์สสร้างความคล่องตัวและความยืดหยุ่นให้ภาครัฐและประชาชนในภูมิภาค
รูปแบบการทำงานของโอเพ่นซอร์สเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานและสร้างนวัตกรรมร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ภาครัฐพัฒนาได้อย่างคล่องตัว หลักการสำคัญของรูปแบบการทำงานของโอเพ่นซอร์สคือการทำงานร่วมกัน ความโปร่งใส และการพัฒนาที่ขับเคลื่อนโดยคอมมิวนิตี้ ตัวอย่างความร่วมมือของเร้ดแฮทกับคณะกรรมการ R&D ของรัฐบาลสิงคโปร์ แสดงให้เห็นประโยชน์ของการแบ่งปันความรู้และวิธีการทำงานแบบเปิด รวมถึงแนวทางการพัฒนาที่ทันสมัยต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการให้บริการประชาชนในภาพรวม
โอเพ่นซอร์สยังมีบทบาทสำคัญในการตอบสนองต่อสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงการใช้งานจริงของเทคโนโลยีอย่างชัดเจน เทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สได้ช่วยสร้างระบบสาธารณสุขที่ยืดหยุ่น ช่วยติดตามการแพร่กระจายของไวรัส และช่วยให้สามารถทำงานและศึกษาจากระยะไกลได้ การใช้โอเพ่นซอร์สที่ใช้ในระดับองค์กรที่หน่วยงานด้านสาธารณสุข BPJS Kesehatan Indonesia และ Synapxe Singapore (เดิมชื่อ IHiS) เป็นตัวอย่างให้เห็นถึงการเพิ่มความคล่องตัวและการตอบสนองที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้สามารถให้บริการประชาชนหลายล้านคนได้ดีขึ้นในช่วงวิกฤตโควิด
กล่าวได้ว่าหน่วยงานภาครัฐในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กำลังอยู่ในช่วงสำคัญของการทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล การที่เครื่องมือดิจิทัล แอปพลิเคชัน และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ยังคงเปลี่ยนโฉมเศรษฐกิจของภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง การใช้โซลูชันโอเพ่นซอร์สเพื่อให้บริการประชาชนได้อย่างปลอดภัยและด้วยนวัตกรรม ในขณะที่ยังคงให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยที่จำเป็นต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานภาครัฐควรพิจารณาอย่างยิ่ง เพราะเทคโนโลยีโอเพ่นซอร์สสามารถสนับสนุนดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ในขณะเดียวกันก็ช่วยขับเคลื่อนความคุ้มค่าการลงทุน สนับสนุนการทำงานร่วมกัน และเพิ่มความโปร่งใส สร้างนวัตกรรม ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน และสร้างบริการที่คล่องตัว เพื่อให้บริการประชาชนได้ดีขึ้น
[1] Digital e-Conomy GMV estimate, Google e-Conomy Research as of 2023
[2] Pg1 and 2, Leaders’ Statement On The Development Of The Asean Digital Economy Framework Agreement (Defa), 05 Sep 2023, 23rd Asean Summit, Jakarta, Indonesia
[3] UN e-Government Knowledge Base Live Ranking
[4] Indonesia Dept of Industry - Making Indonesia 4.0 Roadmap
[5] Smart Nation Singapore Roadmap
[6] Asian Development Outlook (ADO) September 2023
[7] Insider Intelligence: Southeast Asia Digital Users Forecast, March 2023
[8] US International Trade Administration Guidance, Feb 2022, Malaysia's Personal Data Protection Act (PDPA) of 2010, Indonesia Government Regulation No. 71 of 2019 concerning the Implementation of Electronic Systems and Transactions of 2016