บทความโดยเซลิน่า หยวน ประธานด้านธุรกิจระหว่างประเทศ อาลีบาบาคลาวด์ อินเทลลิเจนซ์
ในปี ค.ศ. 2021 มีผู้ชมประมาณ 3 พันล้านคนรับชมการแข่งขัน Olympic Games 2020 Tokyo ผ่านระบบออกอากาศทั่วโลก[1] ถัดมาในปี ค.ศ. 2022 การแข่งขัน Olympic Winter Games Beijing 2022 ดึงดูดผู้ชมทั่วโลกมากกว่า 2 พันล้านคน[2] เราคาดว่าจำนวนผู้ชม Paris 2024 Olympic Games (Paris 2024) ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องด้วยจะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การถ่ายทอดสดกีฬาระดับโลกที่จะกระจายสัญญาณถ่ายทอดสดผ่านระบบคลาวด์ (นับตั้งแต่เริ่มมีการถ่ายทอดผ่านระบบดาวเทียมในปี ค.ศ. 1964) และแน่นอนว่าการที่ผู้ชมจำนวนมากจะรับชมเสมือนจริงแบบนี้ได้นั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากปราศจากเทคโนโลยี
นอกจากระบบการถ่ายทอดที่ซับซ้อนเพื่อให้ผู้ชมทั่วโลกได้รับชมแล้ว ยังมีเทคโนโลยีที่ดีพร้อมในโลกของกีฬา ที่จะช่วยให้เข้าถึงผู้คนและคอมมิวนิตี้ต่าง ๆ ได้มากขึ้น สร้างผลกระทบโดยตรง ส่งเสริม และทำให้เกิดเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในเชิงมหภาคและความท้าทายต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เทคโนโลยีเหล่านี้ เช่น อุปกรณ์สวมใส่สำหรับนักกีฬา (wearable) และโมเดล AR เพื่อใช้เทรนนักกีฬาแบบเฉพาะบุคคลที่จะช่วยเรื่องกระบวนการฝึกซ้อมและเสริมศักยภาพให้กับนักกีฬาแต่ละคน สร้างให้เกิดประสบการณ์การมีส่วนร่วมของผู้ชื่นชอบกีฬา ทั้งนี้เนื่องจากยังคงมีการนำเทคโนโลยีเข้าไปใช้ในวงการกีฬาอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่เราต้องจับตาดูต่อไป คือ จะมีการนำเทคโนโลยีไปใช้ผลักดันขอบเขตของโลกกีฬาให้กว้างขวางมากขึ้นได้อย่างไร เช่นสามารถเข้าถึงผู้คนและชุมชนที่มีความจำเป็น มีผลลัพธ์เชิงบวกโดยตรงต่อการมุ่งมั่นและความท้าทายในระดับกว้าง เช่นการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
บริการคลาวด์ที่ช่วยให้การจัดการแข่งขันกีฬา รวมถึงการกระจายเสียงและแพร่ภาพออกอากาศมีประสิทธิภาพมากขึ้น
พลังแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เทคโนโลยีมีนั้น ทำให้การชมกีฬาขยายขอบเขตจากการชมที่สนามแข่งขันจริง ไปสู่การรับชมผ่านหน้าจอเสมือน (virtual screens) ของเรา และแม้แต่ถ่ายทอดอยู่บนเมตาเวิร์ส ทั้งยังเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่า เทคโนโลยีสามารถขจัดข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของแฟน ๆ และผู้ชมกีฬาบนแพลตฟอร์มดิจิทัลได้อย่างต่อเนื่องและสมจริง
สิ่งเหล่านี้มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น เป็นผลมาจากระบบการออกอากาศผ่านคลาวด์ ดังนั้นการจัดการแข่งขันกีฬาสำคัญต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้ระบบที่เชื่อถือได้ เป็นระบบที่สามารถคงความเสถียรและประสิทธิภาพไว้ได้แม้ในสภาวะท้าทายต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินงานจะเป็นไปอย่างราบรื่น อาลีบาบา คลาวด์ เป็นพันธมิตรผู้ให้บริการคลาวด์อย่างเป็นทางการของโอลิมปิกตั้งแต่ปี 2017 โดยทำงานร่วมกับคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) เพื่อพัฒนาระบบบนคลาวด์ และโซลูชันที่เฉพาะสำหรับแต่ละการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์ในการเข้าชมที่ไม่เคยมีมาก่อน และสามารถเข้าชมได้อย่างทั่วถึงให้แก่แฟนกีฬาทั่วโลก
ระบบถ่ายทอดแบบดิจิทัลที่คล่องตัวและคุ้มค่าใช้จ่ายเป็นสิ่งจำเป็นมากขึ้นในช่วงการระบาดหนักของโควิด-19 ซึ่งนักกีฬาต้องแข่งขันในสนามที่ปราศจากผู้ชม ทั้งนี้ ณ 2020 Tokyo Olympic Games อาลีบาบา คลาวด์ ร่วมมือกับหน่วยบริการกระจายเสียงแพร่ภาพโอลิมปิก (Olympic Broadcasting Services: OBS) ส่งสัญญาณถ่ายทอดการแข่งขันผ่านเน็ตเวิร์กของอาลีบาบา คลาวด์ ที่มีแบนด์วิดท์ที่เสถียรและมีความคมชัดสูง ซึ่งช่วยให้องค์กรกระจายเสียงแพร่ภาพต่าง ๆ ลดจำนวนพนักงานที่ต้องเข้าไปยังสถานที่แข่งขันจริง และลดการใช้อุปกรณ์ที่ต้องใช้ถ่ายทอดการแข่งขันต่าง ๆ นับเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืน เพราะองค์กรกระจายเสียงแพร่ภาพทั้งหลายสามารถรับและแก้ไขคลิปวิดีโอจากระยะไกลได้ผ่านคลาวด์
ในทำนองเดียวกัน ในมหกรรมกีฬา 2022 Beijing Winter Olympic Games ได้มีการนำระบบหลักของการจัดงานไปโฮสต์บนอาลีบาบา คลาวด์ เป็นครั้งแรก ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้จัดงานทุกฝ่าย การโยกย้ายสภาพแวดล้อมการทำงานนี้ ส่งผลให้ลดเวลาและลดเงินลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานไอที ฮาร์ดแวร์ และการบริหารจัดการที่เกี่ยวข้องลงได้ ความสามารถขั้นสูงของคลาวด์ในการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ยังช่วยให้การบริหารจัดการและการวางแผนงานการจัดการแข่งขันครั้งนี้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น และส่งผลให้สามารถมอบประสบการณ์การใช้งานที่ราบรื่นให้กับคนทำงานได้
ขับเคลื่อนความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมในมหกรรมการแข่งขันกีฬาสำคัญ ๆ อย่างแท้จริง
นานาประเทศต่างกังวลเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น ทำให้เกิดแรงกดดันอย่างมากต่อใครก็ตามที่มีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนปริมาณมาก ให้ต้องพยายามลดการปล่อยคาร์บอนให้มากขึ้น และให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นลำดับต้น ๆ ซึ่งรวมถึงการทรานส์ฟอร์มการแข่งขันกีฬาให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล และใช้โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่รองรับระบบปฏิบัติการเหล่านี้ได้ เรื่องนี้ยังขยายไปถึงการแข่งขัน esports ซึ่งทีม esports แต่ละทีมสามารถปล่อยก๊าซคาร์บอน (CO2e) ได้มากถึง 100 ตัน[3] และเมื่อพิจารณาถึงจำนวนคนเล่นวิดีโอเกมทั่วโลกที่มีประมาณ 40%[4] แล้ว การปล่อยก๊าซคาร์บอนจะมากมายเพียงใด คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ให้ความสำคัญกับการแข่งขันที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยจัดให้ 2024 Paris Olympic Games ใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ทั้งยังได้ตั้งข้อกำหนดที่มีผลผูกพันต่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งทางตรงและทางอ้อมให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งจะมีผลใช้กับทุกๆ มหกรรมกีฬาที่จะเกิดขึ้นนับแต่ปี ค.ศ. 2030 เป็นต้นไป[5]
ใกล้ประเทศไทยเข้ามา อาลีบาบา คลาวด์ ได้ทดลองใช้ Energy Expert ซึ่งเป็นโซลูชันด้านความยั่งยืนที่ขับเคลื่อนด้วย AI และเครื่องมือบริหารจัดการคาร์บอนที่เป็นเอกสิทธิ์ของบริษัท ณ งาน 2023 Olympic Esports Week ที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อวัดและวิเคราะห์การปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการก่อสร้างอาคารชั่วคราวเพื่อใช้ในการแข่งขัน ซึ่งนอกจากการวัดปริมาณคาร์บอนแล้ว เครื่องมือนี้ยังสามารถให้คำแนะนำว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้อย่างไร เช่น การใช้ป้ายดิจิทัลที่สามารถลดการปล่อยก๊าซได้ 14 ตัน CO2e และการนำพรม 50% ของที่ใช้ในงานการแข่งขัน กลับมาใช้ใหม่ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เพิ่มอีก 10 ตัน
บุกเบิกการใช้เทคโนโลยีที่ครอบคลุม ณ มหกรรมกีฬาต่าง ๆ
หัวใจสำคัญของการจัดมหกรรมกีฬาต่าง ๆ เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก คือ จิตวิญญาณแห่งความเท่าเทียม จุดนี้เป็นจุดที่เทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนสำคัญ เพื่อทำให้การจัดการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ เข้าถึงได้อย่างกว้างขวางและครอบคลุมมากขึ้น ทั้งนี้ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า มีผู้คนมากกว่า 1.5 พันล้านคน หรือเกือบ 20% ของประชากรโลก มีภาวะสูญเสียการได้ยิน ดังนั้น ในการแข่งขันกีฬา 2023 Asian Paralympic Games อาลีบาบา คลาวด์ ได้เปิดตัวอวาตาร์ดิจิทัลชื่อ Xiaomo เพื่อเป็นล่ามภาษามือให้กับผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เพื่อส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกัน
เทคโนโลยียังเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ของมนุษย์ เช่น อาลีบาบา คลาวด์ ได้เปิดตัว Dong Dong ซึ่งเป็นอินฟลูเอนเซอร์เสมือนจริง ที่มีรูปลักษณ์เหมือนมนุษย์ ณ 2022 Beijing Winter Olympics เพื่อใช้โต้ตอบกับแฟน ๆ ทั่วโลกด้วยการจำลองการสนทนาจริงและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสถานที่จัดงานโอลิมปิก ผ่านการถ่ายทอดด้วยการสตรีมสด โดยใช้เทคโนโลยีสามมิติ การอ่านออกเสียงข้อความ และการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) เพื่อสังเคราะห์เสียงของมนุษย์และสร้างบทสนทนาที่เหมือนมนุษย์ระหว่าง Dong Dong และแฟนกีฬา ทั้งนี้มีผู้รับชมการสตรีมสดของ Dong Dong มากกว่า 2 ล้านคน และมีฐานแฟนคลับมากกว่า 100,000 คน
ความงดงามของเทคโนโลยีเหล่านี้คือ สามารถนำไปใช้ได้ทุกที่ ไม่เฉพาะการแข่งขันกีฬาเท่านั้น จึงเป็นวิธีการที่สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง ที่แสดงให้เห็นถึงคุณประโยชน์มากมายและกว้างไกลของเทคโนโลยี
ปฏิวัติด้านการกีฬาโดยใช้พลังของเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน
การใช้เทคโนโลยีในการกีฬา จะช่วยสะท้อนให้เห็นถึงจิตวิญญาณแห่งการแข่งขันกีฬา การอยู่ร่วมกัน ความเป็นเลิศ และความเท่าเทียม นอกจากนี้เทคโนโลยียังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงระยะยาวได้อย่างไร้ขีดจำกัด ซึ่งมาพร้อมกับการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
สำหรับอาลีบาบา คลาวด์ การนำเทคโนโลยีล้ำสมัยของบริษัทฯ ไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพ ณ Hangzhou Asian Games, Tokyo 2020 และ Beijing 2022 นับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ ในขณะที่ Summer Olympics ที่ปารีสปีนี้จะเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นของวงการกีฬาโลก และเป็นโอกาสมากมายที่จะสรรหาเทคโนโลยี รวมถึงพลวัตและความสามารถที่ขับเคลื่อนด้วย AI มาใช้สร้างประสบการณ์ที่ยิ่งใหญ่และดีกว่าที่ผ่านมา ทั้งยังสร้างความตระหนักถึงวิธีที่ผู้ให้บริการคลาวด์ และนักสร้างสรรค์ทั้งหลายใช้อุดช่องว่างด้านความยั่งยืนและการเข้าถึงการแข่งขันได้อย่างน่าประทับใจและประสบความสำเร็จมากขึ้น
###
[1] International Olympic Committee: Olympic Games Tokyo 2020 watched by more than 3 billion people. https://olympics.com/ioc/news/olympic-games-tokyo-2020-watched-by-more-than-3-billion-people
[2] Olympic Winter Games Beijing 2022 watched by more than 2 billion peoplehttps://olympics.com/ioc/news/olympic-winter-games...
[3] Esports Insider: Is ‘going green’ the future of esports? https://esportsinsider.com/2022/08/is-going-green-esports-future
[4] DFC Intelligence: Global Video Game Consumer Population Passes 3 Billion. https://www.dfcint.com/dossier/global-video-game-consumer-population/
[5] International Olympic Committee: Paris 2024: raising the bar for more sustainable sporting events. https://olympics.com/ioc/opinion/paris-2024-raising-the-bar-for-more-sustainable-sporting-events