21 พฤศจิกายน 2560
จากผลการศึกษาข้างต้น สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของตลาดแรงงานทั่วโลกและไทยจากผลกระทบของเทคโนโลยีที่ทำให้ตลาดแรงงาน ตลอดจนบริษัทและองค์กรต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมผู้บริโภคและการขับเคลื่อนองค์กรทั้งองคาพยพ ซึ่งจะส่งกระทบลูกโซ่ต่อสังคมและนโยบายประเทศไทย 4.0
นางสาวนาฏฤดี อาจหาญวงศ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า การจ้างงานในปัจจุบันมีความท้าทายมากขึ้นและแตกต่างจากแนวคิดการจ้างงานแบบดั้งเดิม โดยคนดิจิทัลมีความคาดหวังในวัฒนธรรมการทำงานที่เน้นการสร้างผลงานเป็นสำคัญ (project-driven culture) มากกว่าพิจารณาจากชื่อเสียงองค์กร ซึ่งถือเป็นหนึ่ง และเพื่อตอบสนองการขับเคลื่อนองค์กรสู่ดิจิทัล กลุ่มงานบริหารทรัพยากรบุคคล ได้วางกลยุทธ์ผ่าน 4 เสาหลัก ดังนี้
1. โครงสร้างองค์กร (Organization)
ปรับรูปแบบโครงสร้างให้มีความคล่องตัวมากขึ้น ลดขั้นตอนและลำดับชั้น เพื่อให้มีการตัดสินใจได้รวดเร็วมากขึ้น สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและการปรับตัวทางธุรกิจ นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้เกิดการโอนย้ายกับทำงานระหว่างหน่วยธุรกิจภายใต้เทเลนอร์ เพื่อเพิ่มศักยภาพและการเรียนรู้การทำงานในระดับสากล
2. วัฒนธรรมองค์กร (Culture)
การขับเคลื่อนสู่องค์กรดิจิทัลนั้น ไม่ใช่แค่การดึงดูดคนดิจิทัลเข้ามาในบริษัทเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการรักษาบุคลากรเหล่านี้ไว้ผ่าน “วัฒนธรรมองค์กร” ซึ่งที่ดีแทคมีลักษณะการทำงานที่เน้นการสร้างผลงานเป็นสำคัญ (project-driven culture) มากกว่าการทำงานแบบกิจวัตร ทำให้งานประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้รวดเร็ว ปราศจากความล่าช้าของระบบที่มีขั้นตอนหลายระดับ (Bureaucracy)
“ที่ดีแทค ซีอีโอไม่มีห้องทำงานแบบที่อื่น ใช้พื้นที่ทำงานเดียวกันกับพนักงานธรรมดา สะท้อนถึงแนวคิดความเสมอภาคของพนักงานในองค์กร ทุกคนมีสิทธิแสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดก็ตาม ซึ่งถือเป็นดีเอ็นเอของบริษัทที่ว่า คิดต่าง (Think different) ทำเร็ว (Act fast) กล้าทำ (To be daring) และมุ่งมั่นที่จะชนะ (Passion to win)” นางสาวนาฏฤดี กล่าว
3. ทักษะและความคิด (Skill & Capability)
ส่งเสริมให้มีทักษะที่เหมาะสมกับการทำงานยุคดิจิทัล ทั้งทักษะความรู้ (Hard skill) และทักษะเชิงอารมณ์ (Soft kill) โดยทักษะด้านความรู้ที่จำเป็นต่อยุคดิจิทัล เช่น การเขียนโค้ด (Coding) การวิเคราะห์บิ๊กดาต้า (Big data analytics) การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ (New product launch) อย่างไรก็ตาม ทักษะเชิงอารมณ์ที่สำคัญต่อยุคดิจิทัลได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ การคิดเชิงวิพากษ์และการทำงานเป็นทีม
4. เส้นทางพนักงานดิจิทัล (Digital journey)
นอกจากนี้ ยังเสริมสร้างประสบการณ์ดิจิทัลแก่พนักงาน เพื่อสร้างค่านิยมและความคิดต่อการขับเคลื่อนสู่ดิจิทัล โดยกระตุ้นให้พนักงานทำเรื่องดำเนินการต่างๆ ผ่านช่องทางดิจิทัล รวมถึงโปรแกรมหลักสูตรออนไลน์ เพื่อให้พนักงานได้เรียนรู้ด้วยตนเองผ่านแพลตฟอร์ม dtac academy โดยนำเสนอเทรนนิ่งโปรแกรมและคอร์สอบรมออนไลน์ 24 ชั่วโมง โดยได้มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกอย่าง INSEAD และ LBS มาออกแบบหลักสูตร ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์ข้อมูลไปจนถึงการทำนายพฤติกรรมผู้บริโภค
“ช่องทางดิจิทัลต่างๆ ไม่ว่าจะเพื่อการดำเนินงานด้านธุรกิจหรือการพัฒนาความรู้และทักษะ ล้วนเป็นแนวคิดเพื่อกระตุ้นให้พนักงานมี digital mindset ดิจิทัลเป็นโลกไร้พรมแดน เปรียบเสมือนการเปิดบ่อน้ำให้คนได้ตกปลากิน มากกว่าการที่เราเอาปลาไปให้ ซึ่งทำให้การพัฒนาทั้ง hard skill และ soft skill เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน” นางสาวนาฏฤดี กล่าว
ซึ่งจากกลยุทธ์และกิจกรรมต่างๆ ก่อให้เกิดผลลัพธ์ การปรับปรุงงานด้านบริการดูแลลูกค้าและการทำการตลาดออนไลน์ โดยใช้นวัตกรรม AI และเทคโนโลยีด้านบิ๊กดาต้า
นอกจากนี้ กว่า 70% ของสตาร์ตอัพในโครงการ dtac accelerate สามารถระดมทุนจากนักลงทุนสตาร์ตอัพได้อย่างต่อเนื่อง (Secured Follow on funding) ขณะที่ค่าเฉลี่ยความสำเร็จในการระดมลงทุนของโครงการบ่มเพาะสตาร์ตอัพอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ที่ 20% เท่านั้น
นอกจากนี้ ดีแทคยังให้ความสำคัญในการพัฒนาบุคลากรผ่านโครงการ dtac academy โดยนำเสนอเทรนนิ่งโปรแกรมและคอร์สอบรมออนไลน์ 24 ชั่วโมง โดยได้มหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกอย่าง INSEAD และ LBS มาออกแบบหลักสูตร ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การวิเคราะห์ข้อมูลไปจนถึงการทำนายพฤติกรรมผู้บริโภค