ตอบโจทย์ทุกสถานภาพการทำงาน จากวงการแพทย์สู่ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา
โดย จอร์จ เพบส์, หัวหน้าโซลูชั่นในการดูแลสุขภาพ ซีบรา เทคโนโลยีส์ เอเชียแปซิฟิค
กรุงเทพ, ประเทศไทย – 22 พฤศจิกายน 2560 -จากผลการสำรวจพบว่ากว่าหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ประชากรไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้น หรือคิดเป็น 20% ของประชากรทั้งหมด มีค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยที่มีสัดส่วนที่สูงขึ้นกว่ามาตรฐานค่าครองชีพ (GDP) ของประเทศ และเมื่อเทียบกับจำนวนบุคลากรทางแพทย์พบว่ามีจำนวนอยู่แค่ 50,000 รายทั้งประเทศ ซึ่งแพทย์โดยส่วนมากจะดำรงตำแหน่งอยู่ในกรุงเทพฯ จากผลสำรวจเบื้องต้นนี้ เล็งเห็นได้ถึงสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงในเชิงประสิทธิภาพในการทำงานของตัวแพทย์เอง รวมไปถึงประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยอีกด้วย
เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลวิจัยจากนักวิจัยของ Korean Society of Medical Informatics ประเทศเกาหลี ที่ได้ทำการผลสำรวจทดลองประสิทธิภาพการแพทย์ พบว่าการแจ้งเตือนขอรับการช่วยเหลือจากผู้ป่วยมีความผิดพลาดมากถึง 1,394 ครั้ง หรือคิดเป็น 64% จากการแจ้งเตือนจำนวน 2, 184 ครั้งที่มาจากผู้ป่วย 48คน ในขณะที่แพทย์ให้การรักษาผู้ป่วยในห้องไอซียูเป็นเวลา 48 ชั่วโมง ผลสำรวจนี้บ่งชี้ให้เป็นถึงการทำงานอย่างหนักของแพทย์ที่ต้องสละเวลารักษาผู้ป่วยที่ต้องการรับการรักษาที่แท้จริง กับการตอบรับขอความช่วยเหลือที่เกิดขึ้นด้วยความผิดพลาด ด้วยเหตุนี้ทาง mHealth จึงได้นำเสนอโซลูชั่นในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของแพทย์ให้เที่ยงตรง และแม่นยำยิ่งขึ้น
โซลูชั่นที่ทาง mHealth นำเสนอเพื่อมุ่งหวังในการช่วยเหลือวงการแพทย์นั่น สามารถใช้งานได้บนอุปกรณ์พกพาซึ่งแพทย์และผู้ช่วยแพทย์สามารถพกติดตัวไปได้ตลอดเวลา สะดวกต่อการใช่งานแถมมีความแม่นยำในการแสดงผลข้อมูลอีกด้วย
โดยหนึ่งแรงจูงใจในการคิดค้นโซลูชั่นนี้คือ การที่ทาง mHealth ได้เล็งเห็นถึงการเหนื่อยล้าของบุคคลากรทางการแพทย์ในการปฏิบัติงาน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุต่อการเสี่ยงภัยของผู้ป่วยที่รับการรักษา เนื่องมาจากการทำงานของแพทย์ที่มีความเครียด และไม่สามารถได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ เป็นต้นเหตุของการเหนื่อยล้า ผนวกกับระบบการแจ้งเตือนขอรับการช่วยเหลือจากผู้ป่วยที่มีความผิดพลาด ทำให้แพทย์ต้องแบ่งเวลาจากผู้ป่วยที่ต้องการได้รับการรักษาที่แท้จริง
ปัจจัยหลักในระบบปฏิบัติงานของโซลูชั่นนี้คือ การเสนอข้อมูลที่แม่นยำ เที่ยงตรง สามารถอัพเดทข้อมูลผู้ป่วยได้ทันที รวมไปถึงสามารถแชร์ข้อมูลให้กับแพทย์ร่วมงานได้อีกด้วย และการจัดลำดับอาการผู้ป่วยที่มีความต้องการในการรักษาทันทีอาทิ ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจ ผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการผ่าตัดและต้องดูแลอย่างใกล้ชิด จนไปถึงผู้ป่วยที่สามารถรอการรักษาได้ครู่หนึ่งได้อาทิ ผู้ป่วยที่มีไข้หวัด หรือประสบอุบัติเหตุเล็กๆน้อยๆเป็นต้น ซึ่งผลลัพธ์ในการวิวัฒนาการของโซลูชั่นนี้ คือต้องการให้บุคคลากรทางการแพทย์คลายความเครียดในการทำงานระดับหนึ่งที่สามารถช่วยลดต้นเหตุในการเหนื่อยล้าต่องานในแต่ละวัน และนี่คือเหตุผลที่หลายๆโรงพยาบาลได้หันมาใช้โซลูชั่นนี้กันมากขึ้น ซึ่งในตัวระบบโซลูชั่นนี้ได้รับเกียรติบัตรแสดงให้เห็นว่าสามารถให้บริการที่แม่นยำจริง และเป็นประโยชน์จริงสำหรับบุคลกรการแพทย์อีกด้วย
อีกหนึ่งผลการสำรวจที่น่าสนใจจาก Kaiser Permanente ในเรื่องของการทำงานของแพทย์นั้นชี้ให้เห็นว่า พยาบาลทั้งหลายใช้เวลามากถึง 35% ในการทำงานเรื่องเอกสาร ส่วน20%ในเรื่องของการสื่อสารกับผู้ร่วมงานเกี่ยวกับข้อมูลของผู้ป่วย และแค่ 19%ในการดูแลรักษาผู้ป่วย ซึ่งผลการสำรวจตรงนี้แสดงให้เห็นว่าโซลูชั่นของ mHealth สามารถเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือทางการแพทย์ในการประหยัดเวลาเกี่ยวกับงานเอกสาร และการสื่อสารอัพเดทข้อมูลผู้ป่วยแพทย์ ซึ่งเวลาในตรงนั้นทางแพทย์และพยาบาลสามารถทุ่มเทในการรักษาผู้ป่วยได้มากขึ้น และเมื่อสามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีการอัพเดทแบบเรียลไทม์ทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรค และให้การรักษาได้ทันถ่วงทีมากขึ้น
ในวันนี้โซลูชั่นนี้สามารถแสดงให้เห็นได้แล้วว่า ไม่ได้เป็นแค่โซลูชั้นที่เข้ามาช่วยเหลือผู้ป่วยให้ได้การรักษาที่แม่นยำขึ้น แต่สามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพว่าโซลูชั่นนี้สามารถช่วยแพทย์เรียบเรียง จัดอันดับความสำคัญของผู้ป่วยในเชิงการเก็บข้อมูล ผลการตรวจการห้องแล็ป และที่สำคัญผู้ป่วยสามารถสื่อสารกับแพทย์ผ่านทางระบบนี้ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นแบบการส่งข้อความ หรือโทรศัพท์ผ่านโซลูชั่น ซึ่งในตัวระบบเองได้รับการพัฒนามีความปลอดภัยสูงในเรื่องการเข้าถึง หรือการเก็บรักษาข้อมูล ทำให้แพทย์หายห่วงในเรื่องความปลอดภัยเกี่ยวกับข้อมูลทางการแพทย์สำหรับใช้ในการรักษาเลยทีเดียว
ด้านกลยุทธ์ในการคิดค้นโซลูชั่นนี้ทาง mHealth ชี้แจงว่าสิ่งแรกเลยคือต้องหาอุปกรณ์และซอฟ์แวร์ที่สามารถรองรับข้อมูลเวชระเบียน หรือ EMR ได้ และถึงแม้ว่าโซลูชั่นนี้ได้เกียรติบัตรรับรองแล้วก็ตาม แต่อีกหนึ่งสิ่งสำคัญคือระบบต้องสามารถรวมเป็นหนึ่งเดียวกับระบบเทคโนโลโยนีทาง IT ในแต่ละโรงพยาบาลได้ด้วยเช่นกัน
ส่วนด้านการใช้งานนั้นได้ถูกออกแบบมาให้ผู้ใช้งานมีความเข้าใจตรงกันได้ง่ายที่สุด เพราะจุดมุ่งหมายของโซลูชั่นนี้คือ เพื่อให้บุคลากรแพทย์สามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้รวดเร็วในเรื่องของการรับข้อมูล การรักษาที่แม่นยำ รวดเร็ว ลดอาการเหนื่อยล้าของบุคลากรแพทย์ในแต่ละวัน
อีกหนึงเรื่องที่ทาง mHealth ให้ความสำคัญโดยมากคือการเลือกพาร์ทเนอร์ในเรื่องของอุปกรณ์ที่รองรับตัวโซลูชั่นนี้คือ ต้องเป็นอุปกรณ์ที่ผ่านการรองรับ IEC-60601-1 ของการแพทย์ อีกทั้งต้องสามารถทำความสะอาดได้ง่าย ทนทานต่อการทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เพื่อป้องกันการเผยแพร่เชื้อโรคอีกด้วย