ไชน่า โมบายล์ เซี่ยงไฮ้ ร่วมกับหัวเว่ย เปิดตัวระบบดิจิทัล 5G ภายในอาคารแห่งแรกที่สถานีรถไฟหงเฉียว นครเซี่ยงไฮ้ อีกหนึ่งความก้าวหน้าในการพัฒนาโครงการกิกะแบนด์คู่
เซี่ยงไฮ้, ประเทศจีน – ไชน่า โมบายล์ เซี่ยงไฮ้ เปิดตัวเครือข่าย 5G ที่สถานีรถไฟหงเฉียวในนครเซี่ยงไฮ้ นับเป็นสถานีรถไฟแห่งแรกที่มีการติดตั้งระบบดิจิทัล 5G ภายในอาคาร (5G Digital Indoor System: DIS) โดยตั้งเป้าวางโครงข่ายให้ครอบคุลมการใช้งาน 5G ภายในอาคารสถานีรถไฟทั้งสถานีให้เสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2562 เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถเข้าถึงบริการเครือข่าย 5G ที่รวดเร็วได้อย่างสะดวกสบาย
การวางเครือข่าย 5G ภายในสถานีรถไฟถือเป็นหลักชัยสำคัญในการใช้งาน 5G เชิงพาณิชย์ของเซี่ยงไฮ้ ถือเป็นการวางพื้นฐานอันแข็งแกร่งให้กับโครงการพัฒนาเซี่ยงไฮ้ให้ก้าวไปสู่การเป็นเมืองแห่งกิกะแบนด์คู่ (Dual-Gigaband) ด้วยความเร็วเครือข่ายระดับกิกะบิตทั้งบนเครือข่ายมือถือและเครือข่ายประจำที่
(Photo 1)
พิธีเปิดตัวระบบดิจิทัล 5G ภายในอาคารแห่งแรกที่สถานีรถไฟหงเฉียง
“สถานีรถไฟหงเฉียวได้สร้างความล้ำหน้าในการติดตั้งใช้งาน 5G เชิงพาณิชย์ให้กับเซี่ยงไฮ้” มร. จาง เจี้ยนหมิง รองประธานคณะกรรมการเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ ฝ่ายเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าว “ระบบดิจิทัล 5G ภายในอาคาร จะมอบประสบการณ์การเดินทางโฉมใหม่ ให้ผู้โดยสารได้มากกว่าแค่การเดินทาง สถานีรถไฟแห่งนี้จะทำให้สาธารณชนได้สัมผัสถึงประโยชน์ที่แท้จริงของ 5G รวมถึงประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นอย่างมาก นอกจากนี้ 5G จะยังช่วยเร่งให้ทุกภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลสามารถทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัลได้เร็วขึ้นอีกด้วย”
สถานีรถไฟหงเฉียวเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการเดินทางที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียทั้งในเรื่องจำนวนผู้โดยสาร และการเป็นต้นแบบระบบรถไฟของจีน โดยในแต่ละปีมีจำนวนผู้โดยสารที่มาใช้บริการกว่า 60 ล้านคน และในช่วงเทศกาลสำคัญจะมีผู้โดยสารกว่า 330,000 คนต่อวัน
จากการที่เรากำลังเข้าสู่ยุค 5G หนึ่งในข้อกังวลที่สำคัญของบรรดาผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมก็คือ พวกเขาจะสามารถใช้เครือข่าย 5G เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานในพื้นที่ที่แออัดซึ่งมีผู้คนอยู่หลายพันคน และใช้เครือข่ายในการโทรศัพท์ เข้าอินเทอร์เน็ต และชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือพร้อมๆ กันได้อย่างไร
แม้เทคโนโลยี 5G จะสามารถรองรับข้อมูลได้ปริมาณมาก มีความหน่วงต่ำ และสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้จำนวนมหาศาล แต่เทคโนโลยีนี้ก็ต้องใช้คลื่นความถี่สูง ซึ่งหมายความว่าความแรงของสัญญาณเครือข่ายจะสูญเสียไปเป็นจำนวนมากเมื่อเข้าสู่ตัวอาคาร จึงเป็นการยากที่จะทำให้เทคโนโลยี 5G ครอบคลุมทั้งพื้นที่สำหรับสภาพแวดล้อมภายในตัวอาคาร ยิ่งเป็นอาคารขนาดใหญ่อย่างสถานีรถไฟหงเฉียวที่มีผู้โดยสารจำนวนมากและมีการรับส่งข้อมูลปริมาณมหาศาลด้วยแล้ว ก็ยิ่งมีความท้าทายมากขึ้นไปอีก
ไชน่า โมบายล์ เซี่ยงไฮ้ เลือกระบบ 5G DIS ของหัวเว่ย ซึ่งเป็นโซลูชั่นเชิงพาณิชย์เพียงหนึ่งเดียวที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมเพื่อให้บริการ 5G ภายในตัวอาคาร ผลิตภัณฑ์นี้พัฒนาขึ้นในเซี่ยงไฮ้และพร้อมสำหรับการใช้งานในระดับมวลชนแล้ว ปัจจุบัน สถานีฐาน 5G ส่วนใหญ่มักติดตั้งอยู่ภายนอกตัวอาคาร แต่สำหรับระบบ 5G DIS นี้จะช่วยให้การครอบคลุมของเครือข่าย 5G ขยายออกไปสู่การใช้งานในทุกรูปแบบทั่วทุกมุมเมือง
(Photo 2)
อัตราการใช้งานสูงสุดในระหว่างการสาธิตช่วงพิธีเปิด
ในช่วงพิธีเปิด ไชน่า โมบายล์ เซี่ยงไฮ้และหัวเว่ยได้จัดสาธิตการใช้งาน 5G DIS โดยมีอัตราความเร็วสูงสุดที่ 1.2 Gbps ซึ่งหมายความว่าเมื่อล็อกอินเข้าสู่เครือข่ายที่สนับสนุนโดยระบบดังกล่าว ผู้โดยสารจะสามารถดาวน์โหลดภาพยนตร์ HD ขนาด 2GB ได้ในเวลาไม่ถึง 20 วินาที และสามารถเพลิดเพลินไปกับประสบการณ์ความบันเทิงได้อย่างลื่นไหลไม่ว่าจะในระหว่างที่รอขึ้นรถ หรืออยู่ในขบวนรถไฟ เทคโนโลยี 5G จะพลิกโฉมวิถีชีวิตของผู้คนด้วยการสร้างบริการแบบอินเทอร์แอคทีฟต่างๆ อาทิ การใช้หุ่นยนต์นำทาง และบริการส่งอาหารถึงที่
ด้วยการใช้ระบบดิจิทัล 5G ภายในอาคารในรูปแบบที่หลากหลายยิ่งขึ้น สถานีรถไฟ 5G ต่างๆ ในอนาคตจะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้โดยสารในด้านการเชื่อมต่อความเร็วสูงและการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือได้จากทุกที่ทุกเวลา นอกจากนี้ยังสามารถรองรับบริการต่างๆ รวมถึงการโทรผ่านระบบวิดีโอความละเอียดสูงแบบ 4K และการอัพโหลดวิดีโอความละเอียดสูงพิเศษแบบหลายช่องทางอีกด้วย บริการใหม่ๆ เหล่านี้จะเสริมสร้างประสบการณ์การเดินทางที่ดียิ่งกว่าให้กับผู้โดยสาร
ตามที่ มร. ปีเตอร์ โจว ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด ฝ่ายโซลูชั่นไร้สายของหัวเว่ย กล่าว “เทคโนโลยี 5G จะยังช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับบริการคลาวด์อีกด้วย ซึ่งสถานีรถไฟในอนาคตนั้นอาจมีความชาญฉลาดไปไกลกว่าที่เราจะสามารถจินตนาการได้”
5G เริ่มขึ้นแล้ว: ประสบการณ์ผู้ใช้ทีได้จากแรงบันดาลใจ
สถานีรถไฟ 5G เป็นเพียงหนึ่งในรูปแบบการใช้งานมากมายที่สามารถนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้ โดยเทคโนโลยีนี้มีความเร็วเครือข่ายที่เหนือกว่าและมีความสามารถสูงกว่า และยังเป็นพื้นฐานของอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) อีกด้วย และด้วยคุณสมบัติของ 5G บริการรูปแบบใหม่ ๆ เช่น เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality หรือ VR), IoT, ปัญญาประดิษฐ์ (AI), สมาร์ทซิตี้ และวิดีโอความละเอียดสูงพิเศษ มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง
ด้านหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ 5G ของหัวเว่ย กล่าวว่า “5G จะเปิดศักราชใหม่ให้กับโมบายอินเทอร์เน็ตที่ขับเคลื่อนด้วยการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคดิจิทัล เครือข่าย 5G จะเชื่อมโยงสถานที่ต่างๆ ได้ถึงหนึ่งพันล้านแห่ง คน 5 พันล้านคน และสิ่งของ 50,000 ล้านชิ้นเข้าด้วยกัน และนำดิจิทัลไปสู่ทุกคน ทุกบ้านและทุกองค์กรเพื่อโลกอัจฉริยะที่เชื่อมโยงถึงกันอย่างเต็มรูปแบบ”
ในขณะที่เครือข่ายแรกๆ ของ 5G ได้เริ่มมีการใช้งาน หัวเว่ยก็ยังมีโครงการ 5G DIS ที่อยู่ระหว่างดำเนินการอีกหลายโครงการ “ระบบ 5G DIS สร้างขึ้นโดยใช้ชิพของหัวเว่ย มีการออกแบบที่ผสมผสาน และเสาอากาศสมรรถนะสูง ฯลฯ และถือเป็นเทคโนโลยีแนวหน้าของอุตสาหกรรม ทั้งในด้านของประสิทธิภาพ คุณสมบัติด้านเทคนิค และเทคโนโลยีต่างๆ” มร. ปีเตอร์ โจว กล่าว “เทคโนโลยี 5G DIS จะทำให้สามารถเชื่อมต่อการใช้งาน AR, VR ได้ทุกที่ รวมถึงการระบุตำแหน่งและการนำทางได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ ยังช่วยให้เกิดแพลตฟอร์มดิจิทัลอัจฉริยะในด้านต่าง ๆ อีกด้วย เช่น การบริหารจัดการร้านค้า, การบริหารงานการกระจายสินค้า และการโฆษณาแบบเจาะกลุ่มเป้าหมาย”
อนาคตของเทคโนโลยี 5G อันล้ำสมัย: เมื่อ 4G เปลี่ยนวิถีชีวิต 5G จะเปลี่ยนโลกทั้งใบ
ในขณะที่มีการใช้งานเทคโนโลยี 5G ในเชิงอุตสาหกรรมมากขึ้น หัวเว่ยก็ได้ร่วมมือกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม 5G ภายในอาคาร และทำให้เกิดการพัฒนาไปสู่อาคารอัจฉริยะ การดูแลสุขภาพทางไกล และระบบรางอัจฉริยะ โลกทั้งใบกำลังจะฉลาดมากขึ้น
ในโลกของ 5G ฟังก์ชั่นการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือ บิ๊กดาต้า คลาวด์คอมพิวติ้ง และสมาร์ทดีไวซ์ต่างๆ มีการประสานและปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง 5G จะเป็นมากกว่าเทคโนโลยีแห่งอนาคต จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญสำหรับโลกดิจิทัลในอนาคต หากเทียบว่าเทคโนโลยี 2G ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับบริการเสียง และ 4G ได้เปลี่ยนโฉมของอินเทอร์เน็ตบนมือถือ เทคโนโลยี 5G ก็เปรียบได้กับเครื่องจักรกลที่จะพลิกโฉมโลกใบนี้
วิสัยทัศน์แห่งอนาคตนี้ทำให้หัวเว่ยต้องลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา 5G อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นการปูทางไปสู่ความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมในปัจจุบัน การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของหัวเว่ยทำให้บริษัทเป็นซัพพลายเออร์ด้านเทคโนโลยีที่มีลูกค้าเลือกใช้บริการมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงกลางเดือนมกราคม ปี 2562 หัวเว่ยได้ลงนามในสัญญา 5G ไปแล้ว 30 ฉบับ และส่งมอบสถานีฐาน 5G ไปแล้วกว่า 25,000 ชุด และยังมีสิทธิบัตรเทคโนโลยี 5G อีก 2,570 ฉบับ
“เซี่ยงไฮ้มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างเมืองกิกะแบนด์คู่” มร. จาง เจี้ยนหมิง รองประธานคณะกรรมการเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ ฝ่ายเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าว “ตอนนี้ เรามีแผนการทดสอบภาคสนามและทดลองใช้งานเทคโนโลยีก่อนเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ ซึ่งในท้ายที่สุด เราจะติดตั้งใช้งานสถานีฐาน 5G ให้ครอบคลุมทั่วเมือง และเป็นผู้นำการใช้งาน 5G เชิงพาณิชย์ในประเทศจีน จากการดำเนินงานร่วมกับมหาวิทยาลัยซ่างไห่เจียวทง และหัวเว่ย เราได้สร้างแพลตฟอร์มขึ้นมาเพื่อนำภาคอุตสาหกรรม สถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยมาร่วมมือกัน ด้วยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ ซึ่งรวมถึง AI, การใช้งานอินเทอร์เน็ตในเชิงอุตสาหกรรม และ IoT เราจะพลิกโฉมเมืองแห่งนี้ และเนรมิตนครเซี่ยงไฮ้ให้มีความเป็นอัจฉริยะและไฮเทค”
สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากมร. จาง เจี้ยนหมิง รองประธานคณะกรรมการเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ ฝ่ายเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มร. หวัง ก้วนหนาน รองหัวหน้าฝ่ายการขนส่ง คณะกรรมการเทศบาลนครเซี่ยงไฮ้ มร. ป๋าย เจิ้งกั๋ว นายสถานีรถไฟเซี่ยงไฮ้ มร. หลี่ เสว่เฉิง รองผู้จัดการทั่วไป ไชน่า โมบายล์ เซี่ยงไฮ้ มร. ปีเตอร์ โจว ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด ฝ่ายโซลูชั่นไร้สายของหัวเว่ย มร. จาง ปิน ยฺหวี่ คณบดี คณะซอฟท์แวร์ มหาวิทยาลัยซ่างไห่เจียวทง และมร. เสี้ยว ยฺหวี่หั่ว ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไชน่า เรลเวย์ เซี่ยงไฮ้ มาร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี
-จบ-