เร่งสู่ดิจิทัล เพื่อสร้างอุตสาหกรรมหลังโควิด 19 ให้ดียิ่งขึ้น

อุตสาหกรรม

เร่งสู่ดิจิทัล เพื่อสร้างอุตสาหกรรมหลังโควิด 19 ให้ดียิ่งขึ้น

โดย ฌอง ปาสคาล ตริคัวร์ ประธานบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ชไนเดอร์ อิเล็คทริค (Schneider Electric)

เป็นที่แน่ชัดว่า วิกฤตโควิด 19 ได้เข้ามาปฏิรูปอุตสาหกรรม นับได้ว่าสถานการณ์ใหม่นี้มีส่วนช่วยส่งเสริมให้คนตะหนักถึงความสำคัญเรื่องการปรับตัว ความยืดหยุ่น และการสร้างประสิทธิภาพ อุตสาหกรรมต่างๆ ล้วนยังคงต้องการลดต้นทุน ขณะที่ยังต้องสร้างศักยภาพและความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นควบคู่กันไปด้วย และเพื่อให้บรรลุผลทั้งสองประการ ทางหนึ่งคือการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล ซึ่งถือว่าไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับอุตสาหกรรม การปฏิรูปสู่ระบบดิจิทัลกำลังดำเนินไปด้วยดีก่อนที่จะเกิดการระบาดใหญ่ โดยในช่วงวิกฤต ผู้ที่สามารถเชื่อมต่อได้อย่างราบรื่นถือว่ามีข้อได้เปรียบที่สำคัญยิ่ง แต่สำหรับผู้ที่ยังทำแบบนั้นไม่ได้ ก็กำลังพยายามปรับตัวให้ทัน โควิด19 นับเป็นปัจจัยเร่งสู่ระบบดิจิทัลได้อย่างมาก โดยได้รับแรงผลักดันจากความต้องการหลักในเรื่องการติดต่อจากระยะไกล รวมถึงความยืดหยุ่น ประสิทธิภาพ และความยั่งยืน

เปลี่ยนสู่การควบคุมได้จากระยะไกล

มีการคาดการณ์ว่าทุกสิ่งจะสามารถทำได้จากระยะไกล ทั้งการเชื่อมต่อและการติดตามระยะไกล ช่วยให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้น เสริมสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น และให้ความปลอดภัยในระดับที่สูงขึ้น ช่วยให้ดำเนินงานได้ต่อเนื่องโดยไม่หยุดชะงัก ในขณะเดียวกันก็สามารถปฏิบัติตามกฎระยะห่างทางสังคมได้ โดยในระหว่างช่วงวิกฤต หลายอุตสาหกรรมต้องประสบกับสถานการณ์ที่ไม่สามารถส่งคนไปทำงานที่ไซต์งานได้ ซึ่งนำไปสู่ความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้การดำเนินงานแบบไม่ใช้คนก็ทำให้อุตสาหกรรมสามารถดำเนินต่อไปได้โดยที่อาจจะพบปะกันน้อยลง และด้วยเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) จะช่วยให้ผู้ดำเนินงานสามารถตรวจสอบและวินิจฉัยปัญหาของเครื่องได้จากระยะไกล ส่วนระบบ VR (Virtual Reality) จะช่วยให้ผู้ดำเนินงานสามารถจัดฝึกอบรมได้แบบเสมือนจริง และเยี่ยมชมไซต์งานได้โดยไม่ต้องเข้าไปที่ไซต์ด้วยตัวเอง

Baosteel Group บริษัทเหล็กและเหล็กกล้าอันทันสมัยอยู่ที่เซี่ยงไฮ้ สร้างโรงงานรีดเหล็กโดยไม่ใช้คนเป็นแห่งแรก โดยในระหว่างช่วงล็อคดาวน์ ได้มีการเปลี่ยนมาใช้โปรแกรมรูปแบบดิจิทัลที่ช่วยให้สามารถดำเนินงานต่อได้อย่างมั่นใจทั้งด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจและความปลอดภัยของพนักงาน

ด้วยเทคโนโลยีระยะไกล นอกจากจะสร้างความล้ำหน้าให้กับกระบวนการทำงานแล้ว ยังสร้างศักยภาพให้กับผู้คนอีกด้วย โดยในโรงงานอุตสาหกรรม มีการนำเทคโนโลยี เช่น การจำลองภาพ และ AR มาใช้ ช่วยให้แก้ปัญหาได้เร็วขึ้น ช่วยสนับสนุนการดำเนินงานและสร้างความร่วมมือได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยให้ไซต์งานเชื่อมต่อกับผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก เพื่อให้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสามารถรับการฝึกอบรมในเชิงลึกได้

ความยืดหยุ่นในระดับสูงสุด

ครั้งนี้จะไม่ใช่วิกฤตครั้งสุดท้ายของเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพ การเมือง หรือภัยพิบัติ เราจำเป็นต้องเพิ่มความยืดหยุ่น เพื่อให้สามารถก้าวข้ามวิกฤตนี้ไปได้ โดยในการวางระบบ ภาคอุตสาหกรรมจะต้องมุ่งเน้นที่ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การเชื่อมต่อ การคาดการณ์ล่วงหน้า และการป้องกัน ซึ่งการเชื่อมต่อต้องมาพร้อมความสามารถในการมอนิเตอร์ จากนั้นจึงนำซอฟต์แวร์และระบบวิเคราะห์มาใช้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ดำเนินการสามารถคาดการณ์ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ โดยจะส่งเรื่องไปที่ส่วนงานบริการเพื่อแก้ปัญหาได้ก่อนที่ระบบจะหยุดทำงาน

แต่ความทนทานในการติดตั้งระบบมีสูงพอเพียงเพื่อรองรับจุดที่อ่อนแอที่สุดในโรงงาน ทุกบริษัทล้วนมีการผสมผสานในเรื่องของ value chain หรือห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงโครงข่ายพลังงาน การกระจายพลังงาน การบริหารจัดการอาคาร การบริหารจัดการไอที และการบริหารจัดการกระบวนการต่างๆ ซึ่งหากความเชื่อมโยงในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกิดขัดข้อง ก็จะทำให้ความยืดหยุ่นลดลง ดังนั้น ในห่วงโซ่ทั้งหมดจึงต้องมีการติดตั้งระบบออโตเมชันและระบบวิเคราะห์ ซึ่งระบบออโตเมชันจะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้นๆ ได้โดยไม่ต้องใช้คน ในส่วนของการวิเคราะห์ จะเป็นการดึงข้อมูลจากระบบหรืออุปกรณ์ที่ติดตั้งเพื่อระบุว่าอุปกรณ์ส่วนไหนที่ควรต้องได้รับการดูแล

Enel ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานของอิตาลี อยู่ในระดับแนวหน้าของบริษัทที่มีการปฏิรูปสู่ดิจิทัล เมื่อความต้องการด้านพลังงานในอุตสาหกรรมลดลงอย่างมากในช่วงล็อคดาวน์ แต่ที่พักอาศัยกลับมีความต้องการเพิ่มสูงมาก ทาง Enel ก็สามารถบริหารจัดการพลังงานในแบบเรียลไทม์ได้ เพื่อจ่ายพลังงานจากศูนย์ควบคุม O&M จากระยะไกล นี่คือความยืดหยุ่นที่ช่วยให้มั่นใจได้ถึงความต่อเนื่องทางธุรกิจในช่วงวิกฤต

การเร่งประสิทธิภาพ

ประสิทธิภาพนับเป็นเรื่องสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมเสมอมา และในช่วงวิกฤตก็ยิ่งมีความเกี่ยวพันกันมากขึ้น เนื่องจากอุตสาหกรรมกำลังมองหาวิธีใหม่ ๆ ในการลดต้นทุน การเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล คือ การสร้างประสิทธิภาพ และการบรรลุถึงประสิทธิภาพ โดยสามารถทำได้จากการผสานรวมสี่แกนเข้าด้วยกัน

แกนแรก คือ การรวมพลังงานและระบบออโตเมชัน เพื่อบรรลุรากฐานหลักของประสิทธิภาพใน 2 ประการ คือ พลังงาน และกระบวนการ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุน อีกทั้งยังช่วยควบคุมการใช้ทรัพยากรและการปล่อยคาร์บอน

แกนที่สอง คือ การผสานรวมจุดเชื่อมต่อปลายทางไปยังคลาวด์ ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อในทุกจุดที่มีการวางระบบตั้งแต่ส่วนผลิตในโรงงานตลอดทั้งสายงาน ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างชัดเจนในแบบเรียลไทม์

แกนที่สาม คือ การผสานรวมวงจรการทำงานทั้งหมด ตั้งแต่การออกแบบและการสร้าง ไปจนถึงการดำเนินงานและการบำรุงรักษา เพื่อขจัดความไม่ต่อเนื่อง ความไร้ประสิทธิภาพในการเปลี่ยนจากต้นทุนเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ซึ่งจะช่วยให้สามารถประสานงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น รวมถึงการบรูณาการข้อมูลทั้งหมดตลอดช่วงวงจรการทำงาน

แกนที่สี่ คือ การเปลี่ยนการบริหารงานแบบเดิมจากที่แยกส่วนจัดการในส่วนของบริษัท โรงงานแต่ละแห่ง และไซต์งานแต่ละไซต์ ไปสู่แบบ Unified Operation Center หรือศูนย์การดำเนินงานแบบรวม เพื่อให้มีมุมมองในภาพใหญ่ในด้านการใช้พลังงานและทรัพยากร เรื่องนี้จะช่วยให้สามารถสร้างมาตรฐานที่สมบูรณ์ของอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมด รวมถึงการใช้งานได้อย่างเหมาะสมเต็มประสิทธิภาพของทุกบริษัทในระดับโลก

การตอกย้ำเรื่องความยั่งยืนถือเป็นสิ่งสำคัญ

วิกฤตนี้ทำให้เราตระหนักว่า เรากำลังเผชิญหน้ากับภัยคุกคามขั้นพื้นฐาน ทั้งโควิด-19 และการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นภัยคุกคามหลักของสังคมที่เกิดขึ้นจากการเติบโตทางประชากร ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของเมืองและการกระจุกตัวอยู่ที่ศูนย์กลาง ผู้คนตระหนักถึงความจำเป็นของโลกที่ยั่งยืนมากขึ้น เราต้องมุ่งเน้นไปยังการเร่งสร้างแรงผลักดันต่อเนื่องในสิ่งที่กำลังดำเนินการอยู่ เพื่อจำกัดการเพิ่มอุณหภูมิโลกอยู่ที่แค่ 1.5 ° C

การเดินทางสู่ความยั่งยืน เริ่มจากการเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล เพราะทุกสิ่งจำเป็นต้องอาศัยการประเมินเพื่อให้ทำงานได้อย่างเหมาะสมเต็มประสิทธิภาพ การนำข้อมูลเกี่ยวกับการใช้พลังงานและทรัพยากรต่างๆ มาใช้ จะช่วยให้บริษัทสามารถพัฒนากลยุทธ์โดยมุ่งเน้นที่การสร้างประสิทธิภาพ การใช้พลังงานไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียน และการหยุดปล่อยคาร์บอน ซึ่งบริษัทสามารถดำเนินการและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ การเดินทางสู่ความยั่งยืนเปรียบเสมือนการวิ่งมาราธอนโดยไม่มีเส้นชัย ทุกบริษัทสามารถทำได้ดีกว่าและยั่งยืนมากกว่าตามแนวทางการดำเนินธุรกิจของตน

ความเชื่อใจและความร่วมมือ: สร้างรากฐานให้กับอนาคตของเรา

วิกฤตดังกล่าวสอนให้เรารู้ว่าความไว้วางใจและความร่วมมือเป็นรากฐานสำคัญของความยืดหยุ่น ความเสี่ยงด้านสุขอนามัยสร้างความกลัวและความวิตกกังวล แต่ในหลายๆ ประเทศ หลายสังคมและหลายบริษัทที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในช่วงวิกฤต คือกลุ่มที่ทำงานด้วยความเชื่อมั่นในมาตรฐานสูงสุด ความเชื่อมั่นดังกล่าวเกิดจากการพัฒนาเพื่อสร้างศักยภาพให้กับคนในพื้นที่ เพื่อให้สามารถตัดสินใจในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ของตนได้ สองปัจจัยเหล่านี้ ทั้งความเชื่อใจและบุคลากรในพื้นที่ เป็นปัจจัยบ่งชี้ที่แข็งแกร่งถึงศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นความยืดหยุ่น การตอบสนอง และประสิทธิภาพในการดำเนินการได้เร็วขึ้น เราสานสัมพันธภาพที่แข็งแกร่งหลายส่วนด้วยกันในช่วงวิกฤต ผ่านการไว้ใจซึ่งกันและกัน ทำให้กระบวนการต่างๆ เรียบง่ายขึ้น และหลีกเลี่ยงการจัดการในระดับย่อยๆ ในหลายพื้นที่ เราจำเป็นต้องนำสิ่งที่เรียนรู้เหล่านี้มาต่อยอดเพื่อเป็นแนวทางใหม่ในการทำงานในอนาคต

COVID-19 ไม่ได้เปลี่ยนปัจจัยพื้นฐาน แต่เน้นย้ำถึงความจำเป็นในเรื่องของความคล่องตัวและการปรับตัว ในสภาวะเศรษฐกิจที่มีความกดดัน ในโลกที่เปราะบาง คือเสียงเรียกร้องถึงความใส่ใจ ความมีประสิทธิภาพ และความยั่งยืน

การตระหนักถึงความจำเป็นเหล่านี้ รวมถึงความเชื่อมั่น ความร่วมมือและการเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล นับเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

  • ผู้โพสต์ :
    apprmedia2000
  • อัพเดทเมื่อ :
    26 ส.ค. 2020 09:59:05

ลงข่าวประชาสัมพันธ์ ฟรี คลิกที่นี่

 

X

เว็บไซต์เรามีการใช้คุกกี้ คลิกเพื่อดู นโยบายคุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา