รักษาสิวที่หลัง & รักษาสิวที่หน้า เหมือนกันไหม?

ข่าวประชาสัมพันธ์

“รักษาสิวที่หลัง” & รักษาสิวที่หน้า เหมือนกันไหม?

สิวที่หลัง ทำให้ความมั่นใจของสาวๆ พังลง อยากใส่เสื้อผ้าเปิดหลัง แนวแซ่บ ก็ต้องพักก่อน เพราะผิวหลังไม่พร้อมจริงๆ “ที่หลัง” จึงเป็นทางออกที่ดี ในการทำให้สิวและรอยสิวที่หลังหายไป แต่จะว่าไปปัญหาสิวส่วนมาก ก็จะขึ้นที่ผิวหน้าเป็นส่วนใหญ่ แล้วคุณเคยสังสัยกันไหมว่า “รักษาสิวที่หลัง” เหมือนหรือแตกต่างกับ การรักษาสิวที่หน้าอย่างไร? อ่านคอนเทนต์นี้ให้จบ รับรองคุณได้คำตอบแน่นอน

สาเหตุของการเกิดสิวที่หลัง & สิวที่หน้า เหมือนกันไหม?

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า “สิว” เกิดขึ้นได้ทุกบริเวณ ที่มีต่อมไขมันและรูขุมขน เช่น ผิวหน้า แผ่นหลัง หน้าอก หรือไม่กระทั่งในรูหู ก็มีสิวขึ้นได้เช่นกัน แต่ถ้าสังเกตดีๆ บริเวณที่ไม่มีสิวขึ้นเลยอย่าง ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เพราะบริเวณนี้ไม่มีรูขุมขน ไม่มีต่อมไขมัน สรุปได้ว่า สิวที่หน้า & สิวที่หลัง มีสาเหตุมาจาก ต่อมไขมันใต้ผิวหนัง ที่คอยผลิตน้ำมันหรือที่เราเรียกว่า ซีบัม (Sebum) ออกมาคอยทำหน้าที่สร้างความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง โดยที่ผิวหนังชั้นหนังกำพร้าที่ปกติต้องมีการผลัดเซลล์หนังทุกๆ 28 วัน แต่เมื่อเซลล์ผิวหนังไปอุดตันรูขุมขนด้านบน ก็ส่งผลให้รูขุมขนใต้ผิวเกิดการอุดตัน ไม่ทันไรผิวของคุณก็จะมีตุ่มสิวเม็ดเล็กๆ หากการอุดตันนี้ไม่ได้รับการรักษาให้ออกจากผิว ก็จะมีแบคทีเรีย P.acne มาย่อยการอุดตัน จนเกิดการติดเชื้อกลายเป็นสิวอักเสบ สิวหัวหนอง ขึ้นในที่สุด โดยที่ รูขุมขนอุดตัน, ต่อมไขมันใต้ผิว, แบคทีเรีย P.acne, รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ล้วนเป็นสาเหตุของการเกิดสิวที่หลังและหน้า ได้เหมือนกันนั่นเอง

ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นตัวกระตุ้นให้สิวรุนแรงขึ้น

- พันธุกรรม : ในคนที่เป็นสิว ให้ลองสอบถามประวัติคนในครอบครัวก็จะพบว่า คุณพ่อ คุณแม่ หรือญาติพี่น้อง ก็เคยมีปัญหาสิวเช่นกัน

- ความเครียด : ยิ่งเครียดสิวยิ่งขึ้น เพราะ ความเครียดส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายได้เช่นกัน

- ยารักษาโรค : ยารักษาโรคบางชนิด มีผลข้างเคียงทำให้เกิดสิวขึ้นได้ เช่น ยารักษาโรคลมชัก โรคหอบหืด โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน โรคไทรอยด์บางชนิด โรควัณโรค โรคมาลาเรีย โรคที่เกี่ยวกับภาวะติดสุราเรื้อรัง โรคซึมเศร้าเป็นต้น

- อาหารกระตุ้นสิว : จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ ปี 2010 การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง (Glycemic Index - G.I) จะไปกระตุ้นทำให้เกิดสิวขึ้น เช่น เช่น ข้าวขาว ขนมปัง มันฝรั่ง และอาหารรสหวานอื่นๆ

- เหงื่อ : อากาศที่ร้อนอบอ้าว ทำให้ต่อมเหงื่อผลิตเหงื่อออกมาทางผิวหนัง ในส่วนของใบหน้าที่ต้องใส่แมสก์เพื่อป้องกันเชื้อโรค แต่เมื่อใส่เป็นเวลานานๆ บวกกับเหงื่อ ทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรียและเชื้อราในปริมาณที่มากกว่าปกติ หรือเหงื่อที่ออกมากบริเวณแผ่นหลังนำไปสู่การสะสมของเชื้อแบคทีเรีย และยิ่งหากสวมใส่เสื้อที่คับเกินไป เมื่อมีเหงื่อออกที่เสื้อ ก็ส่งผลให้ความรุนแรงของสิวเกิดขึ้นได้

คำถามยอดฮิต รักษาสิวที่หลัง & สิวที่หน้า เหมือนกันไหม?

การรักษาสิวที่ผิวด้านหลัง กับ การรักษาสิวที่หน้า เป็นการรักษาที่เหมือนกัน เพราะ สาเหตุของการเกิดสิวที่หลังและหน้า สิ่งที่เหมือนกันคือ ต่อมไขมันและรูขุมขน ที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดสิว แต่ก็อย่าลืมว่าไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ก็อาจจะทำให้มีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสิวที่ไม่เหมือนกันได้ การสังเกตพฤติกรรมของตัวเอง ว่าทำสิ่งไหนแล้วส่งผลให้สิวขึ้น จึงควรพยายามเลี่ยงสิ่งนั้น เช่น การรับประทานอาหารที่มีรสหวาน น้ำตาลสูงๆ แล้วมีสิวขึ้น ก็ควรเลี่ยง การเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวอย่างอื่น จากที่ไม่เคยมีสิว แต่สิวอยู่ๆ สิวก็ขึ้น ผลิตภัณฑ์ตัวนั้นที่เปลี่ยนมาใช้อาจไม่เหมาะกับผิว ทำให้เกิดการระคายเคืองจนกลายเป็นสิวอุดตันขึ้นที่ผิวได้

5 วิธีรักษาสิวที่หลัง เปลี่ยนผิวพัง ให้คุณกล้าโชว์หลังเนียนสวย ได้อย่างมั่นใจ

กินยารักษาสิวที่หลัง

การกินยารักษาสิวหลัง รวมถึงรักษาสิวที่ผิวหน้า ด้วยนั้น ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง ไม่แนะนำให้ซื้อมากินเองโดยเด็ดขาด เนื่องจากการกินยารักษาสิวที่ไม่เหมาะสมกับความรุนแรงของสิว นอกจากจะทำให้สิวไม่หายขาดแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาวอีกด้วย หากกินยาไม่ครบโดสทำให้ร่างกายเกิดการดื้อยา ทำให้อาการสิวที่เป็นอยู่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่นๆ ด้วย

ทายาผลิตภัณฑ์รักษาสิว

ยาทาที่มีฤทธิ์ผลัดเซลล์ผิว ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบครีมหรือเจล ใช้ทาบาง ๆ ทั่วใบหน้าหรือบริเวณที่มีสิว วันละ 1-2 ครั้ง เช่น benzoyl peroxide, adapalene, retinoic acid ผลข้างเคียงที่พบคือระคายเคืองผิวหนัง ผิวลอก แสบผิว หรือยา retinoic acid จะทำให้มีสิวเห่อมากขึ้นเล็กน้อยในช่วงแรกที่เริ่มใช้ยา อาการข้างเคียงเหล่านี้แก้ไขได้ด้วยการลดความเข้มข้นหรือลดระยะเวลาที่ทา ยากลุ่มนี้แนะนำให้ผู้ใช้หลีกเลี่ยงแสงแดดหรือทาผลิตภัณฑ์กันแดดร่วมด้วย

ยาทาที่เป็นยาปฏิชีวนะ รูปแบบโลชั่นและเจล ตัวยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้รักษาสิว ได้แก่ clindamycin และ erythromycin ใช้ทาเฉพาะบริเวณที่มีสิวอักเสบ วันละ 2-3 ครั้ง ผลข้างเคียง คือ ผิวลอก ผิวบาง แสบผิว ในทางปฏิบัตินิยมใช้ยาทาปฏิชีวนะควบคู่ไปกับยา benzoyl peroxide เพื่อลดปัญหาเชื้อดื้อยา

กดสิว เคลียร์สิวอุดตัน

การกดสิวอุดตันออกจากผิวมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ การกดสิวจากพนักงานที่ผ่านการอบรม ฝึกฝนมาเป็นอย่างดีที่มีเทคนิคกดสิวที่ถูกต้อง ก็จะทำให้สิวอุดตันออกจากผิวที่อย่างหมด ไม่ทำให้สิวและผิวเกิดการอักเสบตามมา และเรื่องความสะอาดของอุปกรณ์ที่ใช้กดสิวอย่าง ไม่กดสิว สำลีเช็ดผ้า ก็เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน อุปกรณ์ควรผ่านการฆ่าเชื้อสเตอริไลซ์ แบบที่สะอาดปราศจากเชื้อโรค

ฉายแสงเลเซอร์ฆ่าเชื้อ P.acnes

สิวอักเสบที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย P.acnes สามารถใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ ด้วยความยาวคลื่นที่ 633 นาโนเมตร นำมาช่วยฆ่าเชื้อสิว ที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดสิว ลดการอักเสบของสิว ลดความมันของผิวหลังและผิวหน้าได้เป็นอย่างดี เหมาะกับที่เป็นสิวมานาน เรื้อรัง รักษามาเยอะแต่สิวก็ไม่หายสักที การฉายแสงเลเซอร์สามารถช่วยได้

ทำทรีทเมนต์เลเซอร์ผลัดเซลล์ผิว

ตัวช่วยที่ดีในการรักษาสิวที่ผิวด้านหลัง และรักษาสิวที่หน้า อย่างการทำเลเซอร์ที่สามารถช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่าที่เสื่อมสภาพ ที่ไปอุดตันรูขุมขนจนเป็นสาเหตุของการเกิดสิวได้เป็นอย่างดี หลายๆ คนมักกังวลว่า ทำเลเซอร์แล้วผิวจะเกิดผลข้างเคียงที่ไม่ดีขึ้นกับผิวหรือเปล่า? การเลือกทำเลเซอร์รักษาสิวจากความชำนาญและประสบการณ์ของแพทย์ที่ทำ เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจทำจะดีที่สุด

ถ้าคุณเคยทดลองรักษาสิวที่หลังด้วยตัวเองมาแล้ว แต่สิวก็ไม่หายสักที แนะนำเข้าไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังและเลเซอร์ เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาสิวอย่างถูกต้อง จะได้ไม่ต้องลองผิดลองถูกให้เสียเวลา

เบอร์โทร : 098-289-7805
LINE : @bslclinic
เว็บไซต์ : bslclinic.co.th
  • ผู้โพสต์ :
    bslclinicit
  • อัพเดทเมื่อ :
    14 ม.ค. 2022 11:13:12

ลงข่าวประชาสัมพันธ์ ฟรี คลิกที่นี่

 

X

เว็บไซต์เรามีการใช้คุกกี้ คลิกเพื่อดู นโยบายคุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา