เปิดเวที Life Conference ครั้งแรกในไทย ​“Cryonics4U” เผยความก้าวหน้าเทคโนโลยีแช่แข็งร่างกาย “Cryonics” ใกล้ความจริง

ข่าวประชาสัมพันธ์

ไครโอนิกส์ฟอร์ยู (Cryonics4U) ที่ปรึกษาอิสระรายแรกของโลกสำหรับผู้ที่สนใจการแช่แข็งร่างกาย (Cryonics) และการแช่แข็งเพื่อรักษาสภาพของเซลล์หรือเนื้อเยื่อ (Cryopreservation) จัดงานประชุม “Life Conference 2019” ครั้งแรกในไทย พร้อมเปิดตัวบริการให้คำปรึกษาการรักษาชีวิตและความเจ็บป่วยด้วยเทคโนโลยี “ไครโอนิกส์” (Cryonics) แบบครบวงจร

หลังจากเดินสายมาทั่วโลก “Life Conference” งานประชุมระดับโลกเกี่ยวกับสุขภาพและการรักษาชีวิต พื้นที่แบ่งปันคุณค่าของชีวิตและการใช้ชีวิตที่ยืนยาวด้วยเทคโนโลยีและเวชภัณฑ์ในอนาคต ซึ่งจัดขึ้นโดย “ไครโอนิกส์ฟอร์ยู” บริษัทที่ปรึกษาอิสระด้านการแช่งแข็งร่างกาย ได้มาจัดในประเทศไทยเป็นครั้งแรกในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562 ณ โรงแรมปาร์ค ไฮแอท กรุงเทพ

งานประชุม Life Conference ในประเทศไทยครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยี “ไครโอนิกส์” (Cryonics) กระบวนการแช่แข็งร่างกายเพื่อรักษาชีวิตเพื่อรอวันฟื้นคืนเมื่อความก้าวหน้าทางการแพทย์ในอนาคตสามารถรักษาโรคที่เป็นอยู่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่รุดหน้าอย่างมากที่ช่วยให้การวิจัยเกี่ยวกับ “ไครโอนิกส์” ดำเนินต่อไป และส่งผลให้ “ไครโอนิกส์” ใกล้ความเป็นจริงมากกว่าที่เคยมีมาก่อน อาทิ การพัฒนาของเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า ดีเซลลูไลซ์เซชั่น (Decelluarization) หรือการลบล้างเซลล์ในอวัยวะเพื่อให้เกิดอวัยวะเปล่าเพื่อจะใส่เซลล์ใหม่เข้าไป (Extracellular Matrix or ECM) และความก้าวหน้าของนาโนเทคโนโลยี ที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า สามารถฟื้นคืนชีพบุคคลที่รักษาไว้ซึ่งการทำงานของสมองขั้นพื้นฐานไว้ได้ [อ้างอิง 1,2] นอกจากนั้น การประชุมยังครอบคลุมถึงวิธีที่จะทำให้ “ไครโอนิกส์” ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ในราคาที่ถูกลงโดยใช้ประกันชีวิต (Life Insurance) และการลงทุนธุรกิจกับ “ไครโอนิกส์” ที่ให้ผลตอบแทนสูง และกลยุทธ์การตลาดที่มีประสิทธิภาพ

สำหรับ “ไครโอนิกส์” (Cryonics) คือ กระบวนการแช่แข็งร่างสิ่งมีชีวิตที่เสียชีวิตไปแล้ว เป็นการคงสภาพเซลล์เนื้อเยื่อของร่างกายได้เป็นระยะเวลานาน เนื่องจากไม่สามารถรักษาได้ในปัจจุบัน จึงรอความหวังที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยวิธีการรักษาโดยใช้วิวัฒนาการทางด้านการแพทย์ในอนาคต โดยแช่แข็งร่างกายของมนุษย์ที่เสียชีวิตไว้ด้วยไนโตรเจนเหลวภายใต้อุณหภูมิที่ต่ำกว่า -196 องศาเซลเซียส ทั้งนี้ ไครโอนิกส์ (Cryonics) เริ่มใช้กันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) จนกระทั่งกลายเป็นธุรกิจที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากจากบุคคลชั้นนำของโลก ไม่ว่าจะเป็นพิธีกรชื่อดังของ CNN อย่าง ลาร์รีย์ คิง, ปารีส ฮิลตัน, บริทนีย์ สเปียร์ และไซมอน โคเวลล์ ที่ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า พร้อมจะแช่แข็งตัวเองเมื่อถึงเวลาที่ต้องเผชิญหน้ากับความตายจริง ๆ

ถึงแม้ว่า “ไครโอนิกส์” จะไม่ใช่เรื่องใหม่และมีมาแล้วกว่า 50 ปี แต่ยังสร้างความไม่มั่นใจเกี่ยวกับการตัดสินใจในบั้นปลายชีวิตอย่างถูกต้อง “ไครโอนิกส์ฟอร์ยู” จึงได้ถือกำเนิดหรือเพื่อให้ความเข้าใจและเชื่อมั่นมากขึ้นเกี่ยวกับศักยภาพในการทำไครโอนิกส์อย่างแท้จริง

นายคลิฟ บราวน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไครโอนิกส์ฟอร์ยู ที่ปรึกษาด้านไครโยนิกส์ที่จัดบริการการแช่แข็งที่ศูนย์ในต่างประเทศ กล่าวว่า “การดำเนินงานของ “ไครโอนิกส์โฟร์ยู” คือเป็นที่ปรึกษาอิสระซึ่งให้บริการแต่ละบุคคลโดยให้คำปรึกษาที่พร้อมสรรพ เพื่อลดการตัดสินใจที่ยุ่งยาก ช่วยสร้างทางเลือกที่เป็นความสำเร็จในกระบวนการสุดท้ายของชีวิตด้วยการทำ “ไครโอนิกส์” และ นอกจากนั้น ยังมุ่งเน้นสร้างผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจและความรู้สึกสบายใจของลูกค้าของเราทุกคนอีกด้วย”

“ไครโอนิกส์โฟร์ยู” สร้างธุรกิจด้วยบริการที่ปรึกษาที่พร้อมให้คำปรึกษาอย่างเที่ยงตรงและจริงใจ ให้คำแนะนำด้านสถานบริการที่ใช้สำหรับกระบวนการสุดท้ายของการทำไครโอพรีเซิร์ฟเวชั่น (Cryopreservation) รวมทั้งการเลือกกรมธรรม์ประกันภัยที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนในเรื่องนี้ การฝึกอบรมในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน การประกันภัย บริการพิธีศพทางเลือกใหม่ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายการแจ้งแก่ครอบครัว การแถลงเปิดพินัยกรรม ความยินยอมของแพทย์ทั่วไป การแจ้งแก่แพทย์หรือโรงพยาบาลประจำท้องถิ่นซึ่งจะช่วยให้ขั้นตอนในการทำไครโอพรีเซิร์ฟเวชั่น (Cryopreservation) ดำเนินไปอย่างราบรื่น และการรักษาความลับของผู้ใช้บริการแต่ละคนเป็นอย่างดี

ปัจจุบัน มีร่างคนไข้ที่ถูกแช่แข็งด้วยวิธีไครโอนิกส์ จำนวน 250 คน และมีคนที่เซ็นสัญญาแล้ว 1,500 คน ความสำเร็จของ “ไครโอนิกส์” ที่ผ่านมาปรากฎให้เห็นหลายเคส อาทิ ในปี พ.ศ. 2559 ผู้ป่วยนาม Justin Smith ในเพนซิลเวเนีย สามารถกลับมามีชีวีตได้อีกครั้งหลังแช่แข็ง 12 ชั่วโมง กรณีที่ประสบความสำเร็จอีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นกับสัตว์ในปี 2558 เมื่อ ในแคลิฟอร์เนีย โดยสามารถละลายสมองของกระต่ายโดยไม่มีความเสียหายเป็นครั้งแรก ในปีเดียวกันนั้น Dr. Vita-More และ Daniel Barranco แห่ง University of Seville ยังประสบความสำเร็จในการฟื้นฟูความทรงจำของหนอนหลังจากที่อยู่ในสถานะไครโอนิกส์ได้อีกด้วย

จำนวนผู้สนใจทำไครโอนิกส์มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ในประเทศสหรัฐอเมริกา, รัสเซีย, เกาหลี, ออสเตรเลีย, สหราชอาณาจักร, สเปน, เยอรมนี, แคนาดา, ญี่ปุ่น และจีน เช่นเดียวกับในประเทศไทย ซึ่งแม้ว่าไครโอนิกส์จะเป็นกระบวนการใหม่และไม่มีการควบคุม แต่ผู้คนก็หันมาให้ความสนใจกับการรักษาด้วยวิธี“ Cryonics” เป็นทางเลือก โดยมีการตอบสนองเป็นบวก 80% หลังจากเคสการทำไครโอนิกส์ของเด็กหญิงไทยอายุ 2 ปี ในปี 2559 เป็นต้นมา

“ในด้านค่าใช้จ่ายในการบริการคือ 3 ล้านบาท แช่ทั้งร่างกาย ซึ่งอาจจะมองว่า ผู้ที่มีรายได้สูงเท่านั้นที่จะเป็นกลุ่มเป้าหมายของเรา แต่ในปัจจุบันมีนบายการประกันชีวิตที่คุ้มครองการทำไครโอนิกส์แล้ว จึงทำให้คนชั้นกลางเข้าถึงเทคโนโลยีการรักษาทางเลือกนี้ได้เช่นกัน กลุ่มเป้าหมายทางการตลาดในไทยของเรา คือผู้ป่วยระยะสุดท้าย ตั้งแต่เด็กอายุน้อย ไปจนถึงวัยกลางคน รวมถึง ตั้งเป้าหมายที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในไทย สรุปว่าประเทศไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับอุตสาหกรรมประเภทนี้เนื่องจากเป็นประเทศที่มีศักยภาพและการเติบโตที่ดี” บราวน์กล่าว

“ไครโอนิกส์ฟอร์ยู” ไม่เพียงบริการเป็นที่ปรึกษาอิสระสำหรับขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการแห่งชีวิต แต่สิ่งนี้จะเป็นการเริ่มต้นของวิถีชีวิตแบบใหม่ เป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญทำให้การฟื้นคืนชีพใกล้ความเป็นจริงและชัดเจนยิ่งขึ้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02 040 7884 อีเมล์ mail@cryonics4u.com หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ https://www.cryonics4u.com/

####

อ้างอิง

1. มูลนิธิส่งเสริมชีวิตอัลคอร์ ครายโอนิคส์คืออะไร? http://alcor.org/AboutCryonics/index.html

2. Naik, P. (2017) การเก็บรักษาด้วยความเย็นเพื่อชีวิตอนาคต วารสารการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศในสาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ 2 (1), 55–61

3. https://www.thairath.co.th/lifestyle/woman/health/...

  • ผู้โพสต์ :
    comman
  • อัพเดทเมื่อ :
    14 พ.ย. 2019 13:09:38

ลงข่าวประชาสัมพันธ์ ฟรี คลิกที่นี่

 

X

เว็บไซต์เรามีการใช้คุกกี้ คลิกเพื่อดู นโยบายคุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา