มหกรรมเมืองวัฒนธรรมแห่งเอเชียตะวันออก 2564 เผยความงามของเมืองตุนหวง

ท่องเที่ยว

พิธีเปิดมหกรรมเมืองวัฒนธรรมแห่งเอเชียตะวันออก 2564 (Culture Cities of East Asia 2021) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน ณ เมืองตุนหวง ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลกานซู ได้เปิดตัวกิจกรรมต่าง ๆ กว่า 20 รายการ ที่เผยให้เห็นถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันรุ่มรวยของเมืองแห่งสำคัญบนเส้นทางสายไหมโบราณ โดยพิธีเปิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมประจำปีระหว่างจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี

Zhang Xu รัฐมนตรีช่วยกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวจีน กล่าวในพิธีเปิดว่า "โครงการเมืองหลวงแห่งวัฒนธรรมประจำเอเชียตะวันออก (East Asia Capital of Culture)" เป็นมาตรการสำคัญเพื่อดำเนินการตามฉันทามติที่มีร่วมกันในการประชุมผู้นำระหว่าง 3 ชาติ และได้กลายมาเป็นชื่อของโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของทั้ง 3 ประเทศ

ในปี 2563 เมืองเช่าซิงและตุนหวงของจีน ร่วมด้วยเมืองคิตะคิวชูของญี่ปุ่น และเมืองซันชอนของเกาหลีใต้ ได้รับเลือกให้เป็นเมืองวัฒนธรรมแห่งเอเชียตะวันออกประจำปี 2564

He Wei รองผู้ว่าราชการมณฑลกานซู่ กล่าวว่า มณฑลกานซู่จะร่วมกับเมืองวัฒนธรรมอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออก โดยชูคุณค่าของ "สันติภาพและความร่วมมือ การเปิดกว้างและความครอบคลุม การร่วมมือและผลประโยชน์ร่วมกัน" เพื่อสนับสนุนการพัฒนาในภูมิภาคและนำมาซึ่งสันติภาพของโลก

Shimizu Fumio ทูตวิสามัญและรัฐมนตรีผู้มีอำนาจเต็มของญี่ปุ่นประจำประเทศจีน เปิดเผยว่า เขาหวังว่าเมืองภายใต้โครงการนี้จะบรรลุผลสำเร็จในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่หลากหลาย เพื่อสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการส่งเสริมความเข้าใจระหว่าง 3 ประเทศ

Kim Byungkwun กงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐเกาหลีประจำเมืองซีอาน ประเทศจีน กล่าวว่า มหกรรม Culture Cities of East Asia ปีนี้สนับสนุนแนวคิดในการเคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรมของจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ควบคู่กับการส่งเสริมการพัฒนาเชิงวัฒนธรรม

การจัดแสดงงานทั้ง 4 งานซึ่งรวมถึงมหกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมตุนหวง จีน-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ (China-Japan-ROK Dunhuang Cultural Exchange Exhibition) จะแสดงงานจำลองจิตรกรรมฝาผนังดั้งเดิมของเมืองตุนหวง รวมถึงการแสดงงานสุดไฮเทคอย่างรูปแกะสลักที่รังสรรค์ขึ้นจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และจิตรกรรมฝาผนังดิจิทัลที่มีความแม่นยำสูง

ในอดีต เมืองตุนหวงเป็นนครโบราณที่มีบทบาทสำคัญบนเส้นทางสายไหม และมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชียตะวันออกของจีน ส่วนวัดปราชญ์เปรื่องธรรม (โฮริวจิ) ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดนาราของญี่ปุ่นนั้น ก็ประดับด้วยจิตรกรรมฝาผนังตามหลักพุทธศาสนาซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากเมืองตุนหวงของจีน นอกจากนี้ยังมีบทกลอนที่บันทึกไว้ในจดหมายเหตุตุนหวง ซึ่งพรรณาถึงเจ้าชาย Kim Gyo-gak จากอาณาจักรชิลลาของเกาหลี ซึ่งพระองค์มีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างยิ่งขณะเดินทางเยือนจีนในสมัยราชวงศ์ถัง และนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 ศิลปะเมืองตุนหวงได้ถูกนำไปจัดแสดงในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้หลายต่อหลายครั้ง โดยทั้ง 3 ประเทศได้แลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการปกป้องมรดกทางวัฒนธรรมและการฝึกอบรมทักษะต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเสมอมา


  • ผู้โพสต์ :
    iqmedia
  • อัพเดทเมื่อ :
    15 เม.ย. 2021 10:51:35

ลงข่าวประชาสัมพันธ์ ฟรี คลิกที่นี่

 

X

เว็บไซต์เรามีการใช้คุกกี้ คลิกเพื่อดู นโยบายคุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา