KIIT สถาบันอุดมศึกษาในเมืองภูพเนศวรซึ่งมีสถานะเทียบเท่ามหาวิทยาลัย (Deemed-to-be-University) ได้รับเกียรติให้เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 8 ของโลก จากการจัดอันดับด้านผลกระทบของไทม์ส ไฮเออร์ เอดูเคชัน ประจำปี 2565 (Times Higher Education Impact Rankings 2022) จากความก้าวหน้าอันน่าประทับใจในการ 'ลดความเหลื่อมล้ำ' (Reducing Inequalities)
การบรรลุความเท่าเทียมทางเพศเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) แห่งสหประชาชาติ
ไทม์ส ไฮเออร์ เอดูเคชัน เป็นนิตยสารของลอนดอนที่มักจัดอันดับสถาบันและมหาวิทยาลัยโดยอิงตามปัจจัยต่าง ๆ ทุกปี รวมถึง 'อันดับมหาวิทยาลัยโลก' ที่มีชื่อเสียง โดยล่าสุดได้เผยแพร่รายงานว่าด้วยอันดับการสร้างผลกระทบประจำปี 2565 (Impact Rankings 2022) เมื่อวันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา
การจัดอันดับการสร้างผลกระทบจะประเมินจากความมุ่งมั่นของมหาวิทยาลัยในเรื่องความยั่งยืนใน 4 ด้านใหญ่ ๆ ได้แก่ การวิจัย, การบริหารจัดการ, การบริการวิชาการ และการสอน
KIIT เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยอินเดียเพียงไม่กี่แห่งที่ติดอันดับดังกล่าว และการได้อันดับ 8 ก็ถือว่า KIIT ได้รับการยอมรับถึงความมุ่งมั่นในการบรรลุความเป็นเลิศทางวิชาการในทุกด้าน นอกจากนี้คะแนนที่สูงของ KIIT ยังสะท้อนถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในด้าน SDG อีกด้วย
ศ. อาชยุตา ซามานตา (Prof. Achyuta Samanta) ผู้ก่อตั้งสถาบัน KIIT และ KISS ยกย่องในความสำเร็จครั้งประวัติศาสตร์โดยกล่าวว่า "จุดยืนของ KIIT ท่ามกลางบรรดามหาวิทยาลัยที่สร้างผลกระทบมากที่สุดในโลกในแง่ของ 'การลดความเหลื่อมล้ำ' สะท้อนให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมในด้านดังกล่าวตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา"
ศ. ซามานตาแสดงความยินดีกับท่านอธิการบดี ศ. เวด ประกาศ (Prof. Ved Prakash), รองอธิการบดี ศ. ศาสมิตา ซามันตา (Prof. Sasmita Samanta), คณาจารย์, เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา KIIT ในความสำเร็จครั้งนี้
KIIT เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยระดับแนวหน้าของอินเดียที่ดึงดูดนักศึกษาทั่วประเทศและอีกกว่า 53 ประเทศ ในการศึกษาทางวิชาชีพและทางเทคนิค โดยได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นมิตรต่อนักศึกษามากที่สุด ด้วยการยึดมั่นและให้ความสำคัญกับหลักความเห็นอกเห็นใจและมนุษยธรรม
KIIT อยู่ในอันดับที่ 8 ของโลกในด้าน 'การลดความเหลื่อมล้ำ' และอยู่ในอันดับที่ 101-200 ในบรรดามหาวิทยาลัย 1,500 แห่งจาก 106 ประเทศ จากความสำเร็จใน SDG ด้านอื่น ๆ อาทิ คุณภาพการศึกษา (Quality Education), การเป็นสถาบันที่สงบ ยุติธรรม และเข้มแข็ง (Peace, Justice and Strong Institutions) ตลอดจนความร่วมมือเพื่อการบรรลุสู่เป้าหมาย (Partnerships for the Goals) โดย KIIT ติดอันดับ 201-300 ในการจัดอันดับภาพรวม
นอกเหนือจากการศึกษาและการวิจัยที่มีคุณภาพแล้ว KIIT ยังมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกิจกรรมการพัฒนาสังคมด้านต่าง ๆ มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งอีกด้วย
KIIT ได้ดำเนินการอย่างจริงจังในด้านการลดความเหลื่อมล้ำจนส่งผลให้คว้าอันดับ 8 ใน SDG ด้านนี้ นับเป็นการตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นแน่วแน่ของ KIIT ที่มีต่อ SDG ทั้ง 17 ประการ ผ่านโครงการบริการด้านวิชาการและด้านสังคม
KIIT ภูมิใจในความเป็นมหาวิทยาลัยชุมชนและมีส่วนร่วมแก้ปัญหาสังคมเร่งด่วน เช่น การลดความยากจนผ่านการศึกษา, การเพิ่มอำนาจให้ผู้หญิง, โอกาสที่เท่าเทียมกันในที่ทำงาน, การพัฒนาชนบท, การยกระดับชนเผ่า, ศิลปะ, วัฒนธรรม และวรรณกรรม
เกี่ยวกับ KIIT
มหาวิทยาลัยแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 2535-36 โดย ศ. ซามันตา (Prof. Samanta) ผู้เป็นนักการศึกษาและนักเคลื่อนไหวทางสังคมที่มีชื่อเสียง KIIT เริ่มจากการเป็นศูนย์ฝึกอาชีพ แต่มีหลักการและความเชื่อพื้นฐานในการทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพได้ จนกลายเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ทุกคนต้องการมุ่งมาเรียน KIIT กลายเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษาในปี 2540 ซึ่งถือเป็นปีฐาน นับแต่นั้นเป็นต้นมา KIIT ก็ได้เติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด โดยสร้างมาตรฐานเป็นแบบอย่างในด้านการศึกษาและกิจกรรมการวิจัย
สื่อมวลชนติดต่อ:
ดร. ฌราทานจาลี นายัค (Dr. Shradhanjali Nayak)
อีเมล: director.pr@kiit.ac.in