การประชุมฟอรั่มแร่ธาตุแห่งอนาคตจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-12 ม.ค. 2566 ที่กรุงริยาด คาดว่าจะมีผู้ร่วมงานมากกว่า 9,000 คน
กระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรธรณีของซาอุดีอาระเบีย (MIM) ประกาaศรายละเอียดเบื้องต้นเกี่ยวกับการประชุมฟอรั่มแร่ธาตุแห่งอนาคต (Future Minerals Forum หรือ FMF) ครั้งที่ 2 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-12 ม.ค. 2566 ที่ศูนย์การประชุมนานาชาติคิง อับดุล อาซิซ (King Abdul Aziz International Conference Center) ในกรุงริยาด
การประชุม FMF ปี 2566 จะเป็นการรวมตัวกันของผู้นำในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทั่วโลก ซึ่งรวมถึงรัฐบาล และผู้บริหารธุรกิจจากทั่วโลก และจะเป็นเวทีหารือกันถึงศักยภาพในอนาคตของการทำเหมืองแร่ในแอฟริกา, เอเชียตะวันตก และเอเชียกลาง
ฯพณฯ บันดาร์ อิบราฮิม อัลคอราเยฟ (Bandar Ibrahim Alkhorayef) รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมและทรัพยากรธรณี กล่าวถึงงานประชุมนี้ว่า "การประชุมฟอรั่มแร่ธาตุแห่งอนาคตนับเป็นงานพิเศษที่ให้ผู้นำด้านเหมืองแร่ทั่วโลกได้มาประชุมหารือและสำรวจศูนย์กลางการทำเหมืองแห่งใหม่นับตั้งแต่แอฟริกาไปจนถึงเอเชียตะวันตกและเอเชียกลาง ด้วยทรัพยากรธรณีที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์เป็นจำนวนมาก ที่ดินเหล่านี้จึงนับเป็นโอกาสการลงทุนครั้งสำคัญสำหรับผู้ที่มีวิสัยทัศน์และความสามารถในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจคาร์บอนหมุนเวียนทั่วโลก และการเปลี่ยนผ่านในภาคอุตสาหกรรมพลังงาน"
FMF คาดว่าจะต้อนรับผู้เข้าร่วมงานกว่า 9,000 ท่าน และวิทยากรระดับสากลชื่อดัง 170 ท่าน ซึ่งรวมถึงรัฐมนตรี, ผู้นำด้านการลงทุนเหมืองแร่ และประธานบริษัทเหมืองแร่ระดับชั้นนำจากกว่า 100 ประเทศ โดยในวันที่ 10 ม.ค. คณะผู้แทนระดับสูงของรัฐบาลและองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเหมืองแร่จะเข้าร่วมการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรี
ในวันที่ 11 และ 12 ม.ค. FMF จะจัดเซสชั่น, การนำเสนอ และการอภิปรายหลายงานในหัวข้อระดับภูมิภาคและระดับสากลที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมนี้ โดยประเด็นที่จะมีการหารือนั้นได้แก่
งานนี้ยังเปิดโอกาสให้ให้แก่ผู้ร่วมงานได้สำรวจว่า พวกเขาจะสามารถร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นได้อย่างไรเพื่อให้การทำเหมืองเกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าแบบครบวงจร, เทคโนโลยี และความยั่งยืน
อนึ่ง การประชุม FMF ครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อเดือนม.ค. 2565 โดยผู้เข้าร่วมงานมีตั้งแต่รัฐบาล, องค์กรระหว่างประเทศ, บริษัทเหมืองแร่รายใหญ่, สถาบันการเงิน, นักวิชาการ ไปจนถึงนักวิจัย โดยผู้ร่วมงานมีความเห็นเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับความสำคัญของภูมิภาคนี้ (แอฟริกา, เอเชียตะวันตก และเอเชียกลาง) ในการตอบสนองความต้องการแร่ทั่วโลก เนื่องจากภูมิภาคดังกล่าวมีสภาพทางธรณีวิทยาที่เป็นเอกลักษณ์และมีแหล่งสำรองทรัพยากรแร่ที่เป็นที่ต้องการสูงเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมงานยังชื่นชมอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของซาอุดีอาระเบีย โดยเห็นพ้องว่า ซาอุดีอาระเบียมีองค์ประกอบที่เหมาะสมทั้งหมดในการเป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศแห่งการทำเหมืองแร่ โดยสามารถเป็นผู้นำการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ตั้งแต่แอฟริกาไปจนถึงเอเชียตะวันตกและเอเชียกลางได้