เต็กสุดขอบ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม เรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง กับโครงการ “Journey to the West” เรียนรู้ประวัติศาสตร์ และการออกแบบ แบบ On Site หรือที่เรียกว่า Area-Based Learning ณ แหล่งเรียนรู้ สถานีรถไฟหัวลำโพง และตลาดน้อย
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม บูรณาการการเรียนรู้ ด้วยการนำนักศึกษาชั้นปีที่1 ที่ลงเรียนวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมสากล 1 จำนวน 64 คน เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ในรูปแบบการเรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง ภายใต้โครงการ “Journey to the West” เข้าทัศนศึกษานอกห้องเรียนเพื่อเรียนรู้ สถาปัตยกรรมตะวันตกและจีน ณ สถานีรถไฟหัวลำโพง และตลาดน้อย โดยมีแนวคิดให้เป็นเหมือนการเดินท่องเที่ยว
อาจารย์ปิยะ ไล้หลีกพาล อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เล่าว่า เมื่อเร็วๆนี้ได้นำนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่เรียนในรายวิชา ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมสากล 1 จำนวน 64 คน ไปทัศนศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ สถาปัตยกรรมตะวันตกและจีน ที่สถานีรถไฟหัวลำโพงและตลาดน้อย โดยให้ชื่อการทัศนศึกษาครั้งนี้ว่า “Journey to the West” โดยมีแนวคิดให้เป็นเหมือนการเดินท่องเที่ยว จึงเลือกเส้นทางนี้
อาจารย์ปิยะ เล่าต่อว่า สำหรับเป้าหมายหลักของการทัศนศึกษาเรียนรู้ เพื่อเข้าเยี่ยมชมศึกษาสถาปัตยกรรมของ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) และ โบสถ์วัดพระแม่ลูกประคำ (วัดกาลหว่าร์) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ออกแบบโดยสถาปนิกตะวันตก และเป็นงานออกแบบในลักษณะที่ฟื้นฟูรูปแบบสถาปัตยกรรมในประวัติศาสตร์ คือ Renaissance Revival และ Gothic Revival ตามลำดับ
ส่วนเป้าหมายรองของการทัศนศึกษาเรียนรู้ ได้แก่ ศาลเจ้าโจซือกง, ศาลเจ้าโรงเกือก, และไปรษณีย์กลาง โดยวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนนอกห้องเรียนในการทัศนศึกษาคราวนี้ก็เพื่อต้องการกระตุ้นให้นักศึกษาสนใจและศึกษาสถาปัตยกรรมด้วยตนเอง ผ่านโจทย์งาน ที่เป็นเหมือนปริศนาที่ต้องค้นหา ในตัวสถาปัตยกรรมนั้น ๆและสำหรับตัวอาจารย์เองก็จะไม่เป็นเป็นผู้สอนหรือผู้บรรยาย แต่หากจะเป็นเสมือนโค้ช หรือเป็นผู้นำทาง เพื่อให้นักศึกษาสังเกต และสนใจใฝ่รู้ด้วยตนเอง รวมถึงยังเป็นการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ที่สนุกสนาน เหมือนหนึ่งการไปท่องเที่ยวอีกด้วย
และสำหรับที่นี่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เขาเรียน เรื่อง ประวัติศาสตร์ และการออกแบบ ในแบบ On Site หรือที่เรียกว่า Area-Based Learning รวมไปถึงการแลกเปลี่ยน เพื่อสรุปความรู้ที่ได้ และจบด้วยการประเมินกิจกรรมการเรียนการสอนที่เกิดขึ้น... แบบ 360องศาจริงๆ.