“Startup ไทยไอเดียเด็ดกับ Business Model”

การศึกษา ภาษา ติวเตอร์

เมื่อเร็วๆนี้ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ ร่วมกับคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้จัดกิจกรรมโครงการ เรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง เสวนาพิเศษ SPU Tech Talk หัวข้อ "Startup ไทยไอเดียเด็ดกับ Business Model ที่น่าจับตามอง" โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษ คือ คุณปทิดา รุจิโมระ Startup Incubator KMITL Research Innovation Servicesณ ห้อง Auditorium 1 อาคาร 40 ปี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

โดยคุณปทิตา ได้เล่าว่า เธอไปอยู่ประเทศอังกฤษตั้งแต่อายุ 18 ปี สมัยเธอเรียนหนังสือเป็นคนที่รับผิดชอบเรื่องการเรียนมาก โดยตอนแรกๆ พ่อแม่ส่งเงินให้เรียน และต่อมาเธอก็ทำงานส่งตัวเองเรียน โดยได้เข้าไปทำงานอยู่ในร้านอาหารไทย ทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น เสริฟอาหาร ล้างแจกัน ล้างห้องน้ำ เป็นต้น ได้เงินชั่วโมงละ 5 ปอนด์ ในขณะเดียวกันเป็นคนชอบ Shopping โดยซื้อสินค้า Brand Name มาไว้ที่ห้องเต็มไปหมด ตอนเรียนอยู่ชั้น ปี 3 ปี 4 ได้เข้าไปอยู่ในกลุ่ม Startup อาจารย์ให้จัดกลุ่ม ปรากฏว่า ตัวเองได้ไปอยู่กลุ่ม Startup ชื่อ Balance รวมระยะเวลาที่พักอาศัยอยู่ประเทศอังกฤษ 5 ปี และหลังเรียนจบแล้ว กลับมาประเทศไทยเคยไปทำงาน C Asean ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) สำหรับ C Asean เกิดขึ้นจากการเล็งเห็นถึงโอกาสในการมีส่วนร่วมพัฒนาภูมิภาคในฐานะองค์กรภาคเอกชนที่เป็นพลเมืองอาเซียน โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เกิดการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ตลอดจนการเชื่อมโยงคนรุ่นใหม่ในภูมิภาคอาเซียน ให้เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนนวัตกรรมเพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศและภูมิภาคอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) รวมถึงการนำเอา Social Business Concept มาใช้ในการแก้ไข

ปัญหาสังคม (http://www.thaibev.com) และหลังจากนั้นได้รู้จักอาจารย์คนไทย อาจารย์จึงชวนมาทำงานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ในลำดับต่อมา ขอกล่าวถึง การทำ Startup ในการทำ Startup ของประเทศไทยนั้น นอกจากจะมีความคิดสร้างสรรค์ มีไอเดียเด็ดแล้ว จำเป็นต้องมีตัวแบบในการดำเนินธุรกิจ 4.0 (Business Model 4.0) คือ การทำธุรกิจที่เน้นความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และต้องวิเคราะห์ให้ชัดเจนว่า เราจะขายสินค้าอะไร ขายให้ใคร ขายอย่างไร ขายที่ไหน ผลิตสินค้าด้วยวิธีกรรมอย่างไรเพื่อให้ใช้ต้นทุนต่ำที่สุดและได้กำไรมากที่สุด ในขณะเดียวกันต้องสร้างมูลค่าของสินค้าให้มีราคามีค่าสูงสุด (Sale Value)ด้วย โดยให้ยึดตัวแบบธุรกิจ (Business Model) ดังต่อไปนี้ คือ

1. การนำเสนอสินค้าแก่ลูกค้า (Value Proposition) วิธีการนำเสนอสินค้าแก่ลูกค้านั้น ต้องให้ความสำคัญกับคุณค่าของสินค้าที่มีคุณภาพเป็นอันดับแรก โดยมีลักษณะของคุณค่า (Value Characteristics) ดังนี้ คือ ความแปลกใหม่

(Newness) ไม่ซ้ำแบบใคร, ผลิตสินค้าด้วยการใช้วิธีลดต้นทุนที่ต่ำที่สุด (Cost Reduction) สินค้าต้องมีคุณภาพประสิทธิภาพ (Performance), สินค้าต้องสามารถปรับแต่งออกแบบได้ (Customization), สร้างความเชื่อมั่นให้ตราผลิตภัณฑ์สินค้า (Brand Status), มีการกำหนดราคาที่เหมาะสม (Price), ประเมินความสามารถของสินทรัพย์ หรือสินค้า (Asset Ability), สินค้ามีลักษณะให้ความสะดวกสบาย (Convenient) และท้ายสุดคือการทำงานให้บรรลุความสำเร็จ (Getting the Job Done) ซึ่งหมายถึงวิธีการดำเนินธุรกิจด้วยกลยุทธ์ที่ดีจึงจะประสบความสำเร็จ

2. การจัดแบ่งกลุ่มลูกค้า (Customer Segmentation) คือ การจัดจำแนกแยกแยะกลุ่มของลูกค้าในแต่ละประเภทได้ และที่สำคัญต้องรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร ทั้งนี้ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์สินค้าให้กับลูกค้าได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย โดยการจัดแบ่งกลุ่มของลูกค้านั้น ต้องคำนึงถึงหลัก 4 อย่างคือ (1) หลักการจัดแบ่งส่วน (Segment) เช่น ระดับการศึกษา, (2) หลักประชากรศาสตร์ (Demographic) เช่น การจัดแบ่งส่วนตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ (Income) ระดับเงินเดือน สถานะทางครอบครัว โสด หม้าย กลุ่มคนที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย กลุ่มคนที่ทำงานแล้ว เป็นต้น, (3) หลักจิตวิทยา (Psychographic) จำแนกกลุ่มลูกค้าตามความชอบ หรือความต้องการ เช่น สินค้าสำหรับเด็กต้องมีสีฉูดฉาดสวยงาม, สินค้าสำหรับคนรักสุขภาพ, สินค้าสำหรับผู้สูงอายุ หรือสินค้าสำหรับคนรักการท่องเที่ยวแบบผจญภัย เป็นต้น (4) พฤติกรรม (Behavior) เช่น พฤติกรรมการชอบสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ หรือพฤติกรรมของลูกค้าที่ชอบสินค้าไฮเทค เช่น มีชายคนหนึ่งใช้สินค้าแบรนด์เนม ใช้สมาร์โฟน iPhone ของบริษัท Apple มีรายได้มากกว่า 1 แสนดอลล่าร์ต่อปี

การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) เป็นที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันการดำเนินธุรกิจเกือบทุกประเภทล้วนต้องอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นหลัก ทั้งนี้ เพื่อประหยัดงบประมาณ และมีความสะดวกรวดเร็ว ที่สำคัญคือสร้างความพึงพอใจให้กับลุกค้า การเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัลนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 4 ยุค คือ:

ยุค 1.0 Mono-Channel หรือบางครั้งเรียกว่า Single-Chanel เป็นยุคของการดำเนินธุรกิจในช่วงเริ่มแรกเทคโนโลยียังไม่มีการพัฒนามากนัก มีการขายสินค้าผ่านหน้าร้านค้าและเวลาอยากซื้อของก็เดินออกไปซื้อสินค้าที่ร้าน เป็นลักษณะการขายสินค้าเพียงช่องทางเดียว เช่น ร้านค้าโซห่วย และร้านค้าปลีกล็กๆ ทั่วไป

ยุค 2.0 Multi-Channel ในยุคนี้เป็นยุคที่เทคโนโลยีมีการพัฒนาขึ้นอย่างมาก เกิดมีการใช้อินเทอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการขายสินค้า การขายสามารถทำได้หลายช่องทาง เช่น การขายผ่านอีเมล ขายผ่านเว็บไซต์ ลูกค้าสามารถเข้าไปดูสมุดแจ้งรายการสินค้าหรือแคตาล็อกในเว็บไซต์ และทำการสั่งซื้อสินค้า และไปรับสินค้าที่หน้าร้าน ยังไม่ค่อยมีการรีวิวสินค้า การแชร์ หรือการคอมเม้นต์สินค้าอะไรมากนัก

ยุค 3.0 Onm ni-Channel (รวมกันเป็นหนึ่ง) ยุคของ Mobile หมายถึงการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าที่หลากหลายช่องทาง การเชื่อมโยงช่องทางต่างๆ รวมให้เป็นหนึ่งเดียว โดยผสมผสานช่องทางการสื่อสารเหล่านั้นทั้งออน์ไลน์ (Online) และการขายหน้าร้าน (Offline) เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าอย่างชาญฉลาดและไร้รอยต่อ ซึ่งเป็นการใช้ระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management: CRM) มาเข้าช่วยนั่นเอง

ยุค 4.0 Smart Ecosystems คือระบบนิเวศที่ชาญฉลาด เป็นโลกอีกโลกหนึ่งอยู่ในโลกยุคดิจิทัลมีการใช้เทคโนโลยีสมาร์ทโฟนและสื่อสังคมออนไลน์มาช่วยในการติดต่อสื่อสารและการทำธุรกิจ เรียกกันว่า ถูกที่ ถูกเวลาถูกเทรนด์ ทำให้รู้จักลูกค้ามากขึ้นใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ เช่น การขายสินค้าผ่าน Facebook สามารถจะรู้ได้ว่าลูกค้าชอบหรือไม่ชอบ นอกจากนี้ Facebook ยังได้ซื้อ Friendfeed ซึ่งมีระบบ Real-time อัตโนมัติเต็มตัว และใช้เวลานับ 10 ปีในการพัฒนาฟีเจอร์นี้ขึ้นมา นอกจากนั้น ยังมีค่ายอื่นๆ อีก เช่น Google ที่มีระบบการสั่งการด้วยเสียง เช่น Google Assistant สามารถโทรสั่งซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าและอาหารได้ตามความต้องการ

ท้ายสุดเป็นการแนะนำแอพพลิเคชั่น (Application) ตัวอย่างแอพพลิเคชัน เช่น (1) Claim Di คือ แอปพลิเคชันที่ช่วยให้คนขับรถ สามารถทำเคลมประกันภัยได้ด้วยตนเอง แบบรวดเร็ว ทันใจ เพียงใช้ปลายนิ้วสัมผัส โดยไม่ต้องรอประกันอีกต่อไป โดยที่เมื่อเกิดอุบัติเหตุ รถชน หรือรถเสีย คุณสามารถนำ Mobile phone มาทำการ Shake กับโทรศัพท์ของคู่กรณี เพียงเท่านี้ ระบบจะอนุมัติการเคลมได้ โดยไม่ต้องรอประกันอีกต่อไป (https://wewillapp.com) (2) Queq แอปพลิเคชั่นที่ช่วยจองคิวร้านอาหารดังๆหรือธนาคารภายในระยะทาง 2 กิโลเมตร เป็นอีกหนึ่งแอปที่ช่วยให้การจองคิวร้านอาหารหรือธนาคารเป็นเรื่องง่าย สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้นและยังมีส่วนลดมากมายในแอป Queq พร้อมกับฟีเจอร์ใหม่ QueQ Take-away ให้เราสั่งอาหารกลับบ้านโดนไม่ต้องยืนรออีกรอคิวไปเดินช้อปปิ้งเพลินๆ และรอรับการแจ้งเตือนเมื่ออาหารเสร็จ สะดวกสบายสุดๆ การจองคิวร้านอาหารเพียงแค่ ใส่จำนวนที่นั่ง แล้วก็กดปุ่มจองการจองคิวธนาคารเพียงเลือกประเภทธุรกรรมทางการเงินและกดปุ่มจองคิว และทุกอย่างก็สำเร็จได้ดั่งใจ.


บทความ โดย ผศ.สุพลพรหมมาพันธุ์

อาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เบอร์โทร : 0824995636
เว็บไซต์ : spu.ac.th
  • ผู้โพสต์ :
    kanokpong
  • อัพเดทเมื่อ :
    7 พ.ย. 2019 09:24:26

ลงข่าวประชาสัมพันธ์ ฟรี คลิกที่นี่

 

X

เว็บไซต์เรามีการใช้คุกกี้ คลิกเพื่อดู นโยบายคุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา