ช่วงนี้โควิด-19 กลับมาระบาดหนักอีกครั้ง เชื่อว่าหลายๆคนหลายๆธุรกิจคงต้องเผชิญปัญหาสารพัด และต้องประสบพบเจอกับความเครียดกันอย่างแน่นอน เราก็ได้แต่ตั้งความหวังว่าโลกจะผ่านวิกฤตินี้กันโดยเร็ว ระหว่างนี้เราต้องบริหารกายและใจให้เข้มแข็ง เพื่อให้มีแรงลุกขึ้นมาต่อสู้ต่อเพื่อวันข้างหน้ากันวันนี้จึงจะขอนำทุกท่านมาพบกับบทความสาระดีๆจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ สิทธิจิรพัฒน์ หัวหน้าสาขาวิชาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่จะมาแชร์สาระความรู้ บทความเกี่ยวกับแนวทางการลดความเครียดในยุคโควิด-19 ระลอกใหม่ กันครับ
ผศ.ดร.ประเสริฐ : ความเครียดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกทั้งจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี นอกจากนี้ความเครียดอาจเกิดจากปัจจัยด้านองค์การ จากงานในหน้าหน้าที่ จากเพื่อนร่วมงาน รวมทั้งปัจจัยส่วนบุคคล จากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว ปัญหาสุขภาพ ฯลฯ จนความเครียดนั้นสะสม กลายเป็นความกดดัน เกิดเป็นโรคซึมเศร้า ทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้อื่น หรือฆ่าตัวตาย เมื่อเกิดความเครียดต้องหาทางลดความเครียด หรือทำให้ทุเลาลง ในบทความนี้จะขอเสนอกลยุทธ์การฟื้นตัวจากความเครียด ดังนี้
1.บุคคลมักจะคิดถึง...ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมา
บุคคลมักจะคิดถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นซ้ำไปซ้ำมา เช่น สิ่งที่เกิดขึ้นเกิดจากอะไร ทำให้เรารู้สึกอย่างไร ทำให้จิตใจจดจ่ออยู่กับเรื่องนั้น จนความเครียดทวีมากขึ้น
2.บรรยายออกมาด้วยการเขียน
บรรยายออกมาด้วยการเขียนออกมา ทำให้ได้ทบทวนความคิดว่าปัญหานั้นเกิดมาจากสาเหตุอะไร และเตือนใจไม่ปล่อยให้เกิดขึ้นอีก การเขียนบรรยายเป็นการระบายความเครียดได้ทางหนึ่ง
3.ฝึกคิดในแง่บวกแล้วจึงนำไปสู่การให้อภัย
ฝึกคิดในแง่บวก แล้วจึงนำปสู่การให้อภัย เช่น ผลจากการเกิดโควิดทำให้ต้องทำงานที่บ้าน ต้องเรียนรู้การใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือ การพลาดรถไฟฟ้าทำให้บังเอิญได้พบเพื่อนเก่าที่ไม่ได้พบกันมานาน
4.เผชิญหน้ากับความกลัวเมื่อเกิดความเครียด
การเผชิญหน้ากับความกลัว เมื่อเราเกิดความเครียด ความกลัว ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น ต้องเป็นผู้นำเสนอ แต่ธรรมชาติเป็นคนไม่กล้า อาย กลัว หากปล่อยไว้ความกลัวก็ยังไม่ได้แก้ไข ทำให้ไม่ทราบศักยภาพตนเอง
5.เริ่มต้นฝึก...คลายความเครียดจากเรื่องเล็กๆ
เริ่มต้นฝึกคลายความเครียดหรือความกลัวจากเรื่องเล็ก ๆ ที่ได้พบเจอได้ตลอดเวลา เช่น พบปะพูดคุยกับคนแปลกหน้า ค่อย ๆ ลองทำจากเรื่องเล็ก ๆ เรียนรู้ แก้ไข ให้เกิดความมั่นใจ บางคนอาจพบจุดเปลี่ยนในชีวิต (Turning Point) ในทางที่ดีขึ้น
6.ฝึกการทำสมาธิ ช่วยรับมือความเครียด
ฝึกการทำสมาธิ หากได้ฝึกฝน ไม่ว่าจะพบกับความเครียด ความกลัวเมื่อใด ก็สามารถรับมือได้ ทำให้เกิดสติ การตริตรองอย่างรอบคอบ
7.การให้อภัยทำให้จิตใจปลอดโปร่ง
การให้อภัย ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง ไม่รู้สึกยึดติดกับความไม่สบายกายไม่สบายใจนั้น ไม่รู้สึกโกรธเคือง ความโกรธทำให้จิตใจร้อนรุ่ม ไม่มีความสุข หากตัดความร้อนรุ่มนี้ออกไปจะทำให้จิตใจสบาย
กลยุทธ์ข้างต้นอาจจะดูเป็นเรื่องยาก แต่เป็นเรื่องปกติที่เมื่อเราเริ่มต้นทำอะไรมักจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก หากได้เริ่มลงมือทำ เรื่องที่ว่ายากก็จะง่ายขึ้น เร็วขึ้น และจะนำไปสู่ความสำเร็จได้ในที่สุดครับ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก Facebook Mission to the Moon
#Dek64 #SPU #ศรีปทุม #TCAS64 #GATPAT64 #ONET #Portfolio #เรียนกับตัวจริงประสบการณ์จริง #คณะบริหารธุรกิจ #สาขาวิชาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ #SBS