ตลาด Non Fungible Token (NFT) จุดบรรจบระหว่างเทคโนโลยีกับงานศิลป์

การศึกษา ภาษา ติวเตอร์

เรียกว่าตอนนี้กระแสของ Bitcoin กำลังมาแรงมากๆ ทำให้นักลงทุนหลายคนต่างหันไปลงทุนในตลาด Cryptocurrency จนทำให้เหรียญมีราคาพุ่งสูงขึ้นถึง เหรียญละ 2 ล้านบาท ซึ่งการมาของเทคโนโลยี Blockchain ไม่ได้มีดีแค่นี้เท่านั้น แต่ในด้านงานศิลป์ เทคโนโลยีตัวนี้ก็ได้เข้ามามีบทบาทเช่นกัน หลายคนอาจสงสัยว่า เอ๊ะ! แล้วมันมีบทบาทยังไง ??? วันนี้ “อ.ตั้ม” ผศ.เกรียงไกร กงกะนันทน์ อาจารย์ประจำสาขาดิจิทัลอาร์ตส์ คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม จะมาอธิบายให้เราฟังกัน !!

อาจารย์ตั้ม : การมาของเทคโนโลยี Blockchain ได้สร้างแพลตฟอร์มสำหรับการแลกเปลี่ยนทางอินเตอร์เน็ตที่มีค่ามาก นอกจากสกุลเงินดิจิทัลที่กำลังเป็นกระแสอยู่ตอนนี้อย่าง Bitcoin แล้วนั้น เทคโนโลยีตัวนี้ยังสามารถแลกเปลี่ยน ผลงานศิลป์ หรือ สินทรัพย์ดิจิทัล ได้อีกด้วย โดยผ่าน ตลาดที่เรียกว่า Non Fungible Token (NFT)

สำหรับ Non Fungible Token หรือ NFT คือ การนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ โดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินดิจิทัล ทำให้เราสามารถแสดงความเป็นเจ้าของของสินทรัพย์นั้นๆ ได้ ซึ่งสินทรัพย์นั้นต้องมีลักษณะเฉพาะตัว ตัวอย่างเช่นถ้ามีคนมายืม คอมพิวเตอร์ ของเรา เขาต้องนำ คอมพิวเตอร์ ตัวเดิมของเรามาคืนแตกต่างจากเหรียญดิจิทัลอย่าง Bitcoin หรือ Ethereum ที่เป็นทรัพย์สินแบบ Fungible Token โดยสิ้นเชิง จึงถือเป็นตลาดแห่งการลงทุนขนาดใหญ่ที่น่าจับตามอง เพราะมีผู้ซื้อและผู้ขายอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันตลาด NFT เหล่านี้ได้รับความนิยมอย่างมาก จากเหล่านักสะสมและเจ้าของผลงานต่างๆ ยิ่งผลงานที่โดดเด่นก็ยิ่งสามารถสร้างมูลค่าได้สูง บางผลงานมีมูลค่าถึงหลักล้านเลยทีเดียว

ซึ่งตัวผมเองเพิ่งเริ่มหันมาศึกษา เนื่องจากเห็นว่า มันน่าสนใจ และสามารถเพิ่มรายได้ให้นักศึกษาได้ จึงเริ่มศึกษาเพื่อนำความรู้ไปสอนนักศึกษาคณะดิจิทัลมีเดีย ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่เราไม่มีทางหนีพ้น สุดท้ายแล้วมันจะเข้ามาช่วยเพิ่มช่องทางให้เราได้ปล่อยของ โชว์ศักยภาพผลงานที่เราตั้งใจสร้างสรรค์มันขึ้นมา เด็กของเรามีฝีมือเยอะมาก แต่ยังไม่มีตลาดไหนรองรับผลงานของพวกเขาได้อย่างเต็มที่ ผมจึงเชื่อว่า NFT เป็นสิ่งใหม่ที่น่าค้นหาและเป็นหนึ่งช่องทางดีๆ ที่เราจะได้โชว์ผลงานของเด็กไทยสู่สายตาชาวโลก

The 3D Devils โปรเจกต์แรกที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อขายในรูปแบบ NFT โดยเฉพาะ

อาจารย์ตั้ม : ผมได้สร้างโปรเจกต์ที่ชื่อว่า The 3D Devils ขึ้นมาเพื่อทดลองลงขายในรูปแบบ NFT โดยเฉพาะ ซึ่งส่วนตัวผมเป็นคนทำงานด้านสายศิลป์จึงมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องจิตวิญญาณ บวกกับเคยดูภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่อง ‘Spirited Away’ แล้วชอบมากๆ ตัวการ์ตูนเรื่องนี้ทำให้เราเห็นว่า ทุกๆ อย่างต่างก็มีจิตวิญญาณเป็นของตัวเอง ผมเลยได้แรงบันดาลใจจากตรงนี้ จึงนำความเชื่อที่มีและความรู้สึกต่างๆ ที่เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ เช่น ความโกรธ ความกลัว มาถ่ายทอดให้กลายเป็นรูปธรรม รวมถึงผสมผสานแรงบันดาลใจออกมาให้งานศิลปะกลายเป็นปีศาจแต่ละตัว ซึ่งผลงานของผมแต่ละชิ้นจะเน้นไปที่ ดวงตา เพราะผมมองว่า ดวงตาคือการมองเห็น เป็นเหมือนเส้นทางที่ทำให้เรารับรู้เรื่องราวต่างๆ และเป็นประตูสู่สิ่งใหม่ๆ ผมจึงตั้งใจสร้างผลงานที่ใช้ดวงตาเป็นสื่อกลางคอยเชื่อมเรื่องราวที่ผมกำลังบอกผ่านผลงานชิ้นนั้นๆ

“ ระยะเวลา 1 เดือน ที่ผมเริ่มศึกษาตลาด NFT ผมได้ขายผลงานไปแล้วถึง 9 ชิ้น ผ่านเว็บไซต์ OpenSea ซึ่งเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มแรกของโลกที่ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยน NFT จากหลายๆ เครือข่าย โดยแต่ละผลงานที่ประกาศขายมีทั้งผลงานศิลปะ ของสะสม หรือแม้แต่ไอเทมจากเกม แถมยังสามารถเปิดประมูลได้อีกด้วย ผลตอบรับก็ดีไม่น้อย เรียกว่า เป็นจุดบรรจบระหว่างเทคโนโลยีกับงานศิลป์จริงๆ ครับ”

สำหรับใครที่ต้องการเข้าไปชมผลงานของอาจารย์ตั้ม สามารถเข้าไปรับชมได้ที่ Facebook page : The 3D devils หรือเว็บไซต์ https://www.kongkhanun.com

ส่วนท่านใดที่ต้องการอุดหนุนผลงาน The 3D devils ของอาจารย์ตั้ม สามารถเข้าไปซื้อได้ที่ https://opensea.io/collection/the-3d-devils กันได้เลยครับ !!!!

นอกจากนี้ ยังมีผลงานอีกชุด คือ 100 Devilsที่ประกาศขายอยู่ใน OpenSea

ชมผลงาน https://opensea.io/collection/kongkhanun-100-devil

ซึ่งพิเศษสุดๆ สำหรับนักสะสมที่เป็นคนไทย อาจารย์ตั้ม ใจดี แถมงานจริงในชุด 100 Devils พร้อมใส่กรอบรูปเป็นSpecial Giftไปให้อีกด้วย

สุดท้าย อาจารย์ตั้ม ฝากบอกเคล็ดลับความสำเร็จไว้ว่า... “เปิดใจ เรียนรู้ ลงมือทำ”

#Dek64 #TCAS64 #GATPAT64 #Onet64 #SPU #ศรีปทุม #เรียนกับตัวจริงประสบการณ์จริง #คณะดิจิทัลมีเดีย #สาขาดิจิทัลอาร์ต #NFT

เบอร์โทร : 0824995636
เว็บไซต์ : spu.ac.th
  • ผู้โพสต์ :
    kanokpong
  • อัพเดทเมื่อ :
    19 พ.ค. 2021 16:28:40

ลงข่าวประชาสัมพันธ์ ฟรี คลิกที่นี่

 

X

เว็บไซต์เรามีการใช้คุกกี้ คลิกเพื่อดู นโยบายคุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา