เมื่อเรื่องโลก Metaverse ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะเกมและความบันเทิงอีกต่อไป ทว่ายังสามารถ นำมาปรับใช้กับด้านการเรียน e-commerce การทำงาน และอีกหลากหลายด้านอีกด้วย เรียกได้ว่าเทคโนโลยี ได้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการใช้ชีวิตอย่างสมบูรณ์ เป็นการผสมผสานกันของโลกจริงกับโลกเสมือน ออนไลน์ ที่ทับซ้อนกันอยู่ให้เรามีตัวตนและใช้ชีวิตได้ทั้งสองโลก ใช้ชีวิตในโลกเสมือน มีกิจกรรม มีการดำเนินธุรกิจ มีการ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและชุมชน และมีการสร้างเศรษฐกิจในโลกเสมือนด้วยจนแทบจะเป็นโลกจริง อีกใบหนึ่ง
BIDC 2022 Webinar โดย กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับพันธมิตร ทั้งภาครัฐ TCEB, depa และ CEA อีกทั้ง 5 สมาคมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย TGA, BASA, DCAT, e-LAT และ TACGA จึงไม่พลาดที่จะเชิญ ดร.วรสรวง ดวงจินดา ผู้อำนวยการ สำนักการจัดการศึกษา ออนไลน์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มาพูดถึงประเด็นฮอตในหัวข้อ “แนวโน้มในอนาคตของ Metaverse ในอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ และภาคการศึกษา”
ดร.วรสรวง ดวงจินดา เล่าว่า “จากผลการสำรวจความคิดเห็นของ Mashable (2022) พบว่า วันนี้มีคนไทยหันมาให้ความสนใจกับ Metaverse มากถึงร้อยละ 48 และรู้สึกตื่นเต้นกับกระแสต่างๆ ที่เกิดขึ้น ถึงร้อยละ 45 แต่ที่น่าสนใจคือคนไทยถึงร้อยละ 27 คน ยังคงรู้สึกสงสัยกับ Metaverse มากที่สุดเมื่อเทียบกับ เปอร์เซ็นต์ของประเทศอื่นๆ ในเอเชีย แต่กระนั้นก็ตามหากนับโดยภาพรวมแล้วก็ถือได้ว่าคนไทยมีความรู้สึก สนใจและมีความรู้สึกในเชิงบวกกับ Metaverse ไม่น้อยทีเดียว” สำหรับนิยามของคำว่า Metaverse จาก Techsauce เป็นการนำคำว่า Meta และ Verse มารวมกันแล้วกลายเป็นความหมายใหม่ว่า “จักรวาล ที่อยู่เหนือจินตนาการ” ซึ่งปรากฏครั้งแรกในนวนิยาย SCI-FI ที่มีชื่อว่า Snow Crash เป็นโลกอีกใบที่ทำให้ ผู้คนได้เข้ามามีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันผ่านการจำลองเป็นตัวละครต่างๆ (Avatar)
จุดกำเนิดของ Metaverse
ผู้อำนวยการ สำนักการจัดการศึกษาออนไลน์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ยังอรรถาธิบายถึงจุดกำเนิดของ Metaverse ด้วยว่าเกิดจาก Web 3.0 ซึ่งเป็นเว็บที่ทุกคนสามารถสร้างหรือลงเนื้อหาและสามารถพูดคุยกันได้ “เมื่อมาเป็น Metaverse แล้ว จะช่วยให้กลายเป็นโลกเสมือนจริง โดยใช้แค่คอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ทโฟน หรือผ่านอุปกรณ์พิเศษที่ถูกสร้างขึ้นมารองรับ อย่างแว่น AR/VR สำหรับใช้ Interact หรือพูดคุยกับบุคคลอื่น ๆ บน Visual Reality Word แต่หากพูดถึงการเข้ามามีส่วนร่วมในเทคโนโลยี ก็จะมาในรูปแบบของ Blockchain, Cryptocurrency, Defi, NFT, ฯลฯ นับเป็นการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาเชื่อมต่อกัน โดยเทคโนโลยีเหล่านี้ จะเป็น Decentralizedแต่หากเป็นแอพพลิเคชั่นเราสามารถใช้ Metaverse ได้ผ่านทาง Facebook, Instagram และ Twitter ซึ่งในปัจจุบันองค์กรใหญ่ๆ หลายแห่งทั่วโลกกำลังเร่งพัฒนาออกมา หรืออยู่ในช่วง ของการวิจัย”
Metaverse กับภาคธุรกิจ
เช่นเดียวกับเรื่องของธุรกิจในวันนี้ หลายบริษัทที่ได้เปิดรับพนักงานในตำแหน่งงานที่มีความรู้ทางด้าน Metaverse อย่างกว้างขวางมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นระดับผู้บริหารที่จะเข้ามาเพื่อพัฒนาองค์กร “หากพูด ภาพรวมแล้วการหาผู้เข้าใจใน Metaverse นั้นจำเป็นต้องนึกถึง 3 เรื่องหลัก นั่นคือ Web 3, M-Worlds และ AR/VR/MR ที่ในหลายภาคธุรกิจได้มีการใช้เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ Hardware Software หรือ Mobile AR ก็จะเริ่มมีให้เห็นเยอะขึ้น ทำให้ Metaverse มีโอกาสเนรมิตสิ่งที่ไม่มีตัวตนจริงให้เกิดขึ้นและมีมูลค่าสูงขึ้น”
Metaverse กับภาคการศึกษา
ขณะที่ด้านการศึกษานั้นดร.วรสรวงเล่าว่า MetaVerse ในโลกของการศึกษา จะมี Meta Data ที่มีส่วนช่วยให้เราวิเคราะห์ได้ เช่นสามารถเข้าไปดูได้ว่านักเรียนแต่ละคนเข้าเรียนวันละกี่รอบ เข้าเรียนจาก ที่ไหน ด้วยอุปกรณ์อะไร ใช้ Avatar แบบไหน ชอบคุยกับใคร ตอบคำถามตอบแบบไหน ตอบทีเดียวหรือ ใช้เวลาตอบๆ หยุดๆ หรือบางครั้ง เราสามารถดูได้ว่าเนื้อหาแบบเรียนบทไหนที่เด็กไม่เข้าใจและย้อนกลับ ไปดูซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อให้ผู้สอนเองนำไปปรับให้ดีขึ้น เพื่อความเข้าใจในการเรียนการสอนมากขึ้น “นอกจากนี้ Metaverse ยังสามารถสร้างแรงดึงดูดให้ผู้เข้าเรียนในวิชาต่างๆ หันมาให้ความสนใจมากขึ้น โดยผู้สอนสามารถ เปลี่ยนตัวเองเป็นร่างอวตารได้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน หรือแต่งห้องที่มีสภาพแวดล้อมที่น่าสนใจซึ่ง ถือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงดึงดูดทางด้านการศึกษาได้ดี”
ไม่เพียงเท่านั้น ประโยชน์ของ Metaverse ยังมีอีกมากมาย เช่นการค้นหาข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้มากมาย “แต่ที่สำคัญในโลกเสมือนจริงนี้ ยังทำให้เกิดการเชื่อมโยง และสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนหรือคนที่ อยู่ในโลกเสมือนจริงนี้ได้ รวมถึงพูดคุยกันได้อย่างใกล้ชิด แม้จะอยู่ต่างสถานที่กันก็ตาม อย่างเช่น เพื่อนของเรา อยู่อีกเมืองหนึ่ง เราอยู่อีกเมืองหนึ่ง แต่เมื่อเราสวมใส่อุปกรณ์ VR/AR ก็ทำให้รู้สึกว่า เพื่อนคนนั้นเข้ามานั่งอยู่ ในห้องเดียวกับเรา และพูดคุยกันได้เหมือนในโลกจริง”
สร้างโลกส่วนตัวได้ด้วยตัวคุณเอง
ในโลก Metaverse ยังเรียกว่า มีข้อดีที่แตกต่างไปจากโลกจริง ซึ่ง ดร.วรสรวงให้ความรู้เพิ่มเติม ด้วยว่าวันนี้มีแอพพลิเคชั่นหลายราย กำลังเปิดให้บริการเข้าไปใช้พื้นที่ในโลกเสมือนจริง ทั้งแบบให้บริการฟรี และแบบมีค่าใช้จ่าย เราสามารถห้องหรืออาคารสถานที่ส่วนตัวแบบพิเศษที่เราสามารถตกแต่งให้เป็นแกลอรี่ รูปภาพ ห้องนิทรรศการ หรือ แม้แต่ห้องเรียนให้ความรู้ รวมถึงยังสามารถแชร์ ไปให้กับเพื่อนๆ หรือผู้ที่สนใจ เพื่อชักชวนให้เข้ามาชมผลงานที่คนๆนั้น สร้างขึ้น “ไม่ใช่แค่นั้นครับ เรายังสามารถกระโดด หรือก้าวเข้าไป ท่องเที่ยวในโลกต่างๆ ที่เจ้าของพื้นที่เปิดต้อนรับให้เข้าไปเยือนได้เช่นกัน ทำให้เราเปิดโลกของเราได้อย่าง มากมาย และทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารผ่านคอมมูนิตี้ ที่หลากหลายในโลกเสมือนจริงมากขึ้นด้วย “โลกกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและรวดเร็ว โดยเฉพาะโลกในยุคที่โควิดยังไม่จางหายไป ทำให้เราคาดเดาได้ไม่ยากเลยว่า ในอนาคตอันใกล้นี้โลกของการเรียนการสอนหรือแม้แต่ธุรกิจย่อมต้องเกิด การเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน” ดร.วรสรวงตอกย้ำ
อีกด้านของ Metaverse!
กระนั้นก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันเราจะมองเห็นข้อดีของการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดจาก Metaverse ทว่าสำหรับอีกมุมมองหนึ่งของ ดร.วรสรวงยังบอกด้วยว่า แม้วันนี้ Metaverse จะเป็นเรื่องที่ทุกคนกำลัง ให้ความสนใจ แต่ก็ใช่ว่าจะทำให้ทุกคนเข้าถึงโลกแห่ง Metaverse ได้ “การเข้าถึง Metaverse ยังคงมีข้อจำกัด อยู่อีกมาก ทั้งเรื่องของราคาอุปกรณ์ที่ถูกนำมาใช้เชื่อมต่อ ซึ่งบางอุปกรณ์มีราคาถึงหลักแสน ทำให้คนที่มี รายได้จำกัด อาจจะยังไม่สามารถเข้าถึงโลกเสมือนจริงนี้ได้”
ขณะเดียวกัน Metaverse เป็นอีกเทคโนโลยีที่ต้องใช้พลังงานและทรัพยากรอินเตอร์เน็ตค่อนข้างมาก “บางคนอาจจะรู้สึกเหมือนสะดุด หรือรู้สึกว่าอินเตอร์เน็ตของตัวเอง หน่วงๆ ช้าๆ และรู้สึกไม่คล่องตัว หรือ ไม่เสถียรในการเข้าไปท่องโลก Metaverse ก็เพราะต้องใช้พลังงานสูง ส่งผลให้เกิดการสิ้นเปลืองทรัพยากร ทางอินเตอร์เน็ตค่อนข้างมาก ขณะที่ผู้สร้างเทคโนโลยีนี้ก็ยังไม่ได้รับผลตอบรับเท่าที่ควร แม้จะมีการลงทุนสูง ก็ตาม ทำให้วันนี้ ผมเชื่อว่าโลกของเรายังไม่พร้อมที่จะก้าวกระโดด ไปสู่โลก Metaverse”
“แต่เมื่อถึงอนาคตอีกไม่นานที่โลกจะเข้าสู่ยุค 6G ที่จะเร็วกว่า 5G ถึง 100 เท่านั้น โลกของ Metaverse คงจะยิ่งมีความซับซ้อนและชวนให้ติดตามและหลงไหลได้มากๆ”
ดร.วรสรวงยังฝากเตือนไปถึงผู้ที่กำลังสนุกสนานอยู่ในโลก Metaverse ให้ระมัดระวังเรื่องของ มิจฉาชีพที่แอบแฝงเข้ามาในโลกเสมือนจริงที่ดูไม่แตกต่างไปจากแก็งค์คอลเซ็นเตอร์ ที่กำลังระบาดอยู่ในเวลานี้ “การเข้าไปในโลก Metaverse แต่ละครั้งผู้ใช้ควรจะใช้วิจารณญาณให้มาก และไม่ควรใส่ข้อมูลสำคัญอะไร ลงไปในโลกเสมือนแห่งนี้ ซึ่งนั่นอาจเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แกงค์ที่แฝงตัวอยู่ใน Metaverse เข้าถึงข้อมูล ส่วนตัวของผู้ใช้ได้ เพราะต้องจำไว้ให้ดีว่าในโลกเสมือนนั้น ไม่ใช่แค่เราจะเป็นใครก็ได้ที่อยากจะเป็น แต่คนอื่นๆ ก็สามารถใช้ร่างอวตาร สร้างตัวตนเป็นคนอื่นมาหลอกลวงเราได้เช่นกัน” ดร.วรสรวงยังทิ้งท้ายด้วยว่า แม้โลก Metaverse จะเป็นโลกเหนือจินตนาการที่เราสามารถสร้างอะไรขึ้นมาก็ได้ แต่โลก Metaverse ก็ไม่สามารถ เข้ามาทดแทนโลกจริงของเราได้ทั้งหมด
ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาชมกิจกรรมสัมมนาออนไลน์ย้อนหลัง เพื่อฟังแนวคิดของดร.วรสรวง ดวงจินดา และเหล่ากูรูด้านดิจิทัลคอนเทนต์ใน BIDC 2022 Webinar ทั้ง 19 หัวข้อที่กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับเหล่าพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน จัดขึ้นในงาน BIDC 2022ได้ทาง www.facebook/bidc.fest
บทความ โดย ดร.วรสรวง ดวงจินดา ผู้อำนวยการสำนักการจัดการศึกษาออนไลน์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม