กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกรมทรัพยากรน้ำน้อมนำศาสตร์พระราชาด้านการบริหารจัดการน้ำ วางแผนสร้างแหล่งน้ำต้นทุนที่เพียงพอเพื่อให้ประชาชนมีน้ำไว้ใช้ช่วงหน้าแล้งประกอบกับช่วงฤดูน้ำหลากแหล่งน้ำนั้นจะได้ทำหน้าที่กักเก็บน้ำ ชะลอการล้นเอ่อได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งมีระบบกระจายน้ำที่จะคอยส่งน้ำจากแหล่งกักเก็บมายังพื้นที่ของเกษตรกรหรือถังเก็บน้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภคในครัวเรือนต่อไป
อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำต้อน แหล่งน้ำสาธารณะประโยชน์ประจำหมู่บ้าน บ้านสร้างช้าง หมู่ที่ 7 ตำบลหนองเหล่า อำเภอเขืองใน จังหวัดอุบลราชธานี มีการดำเนินโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำ ตั้งแต่ปี 2557 เพิ่มพื้นที่กักเก็บความจุน้ำ 55,048 ลูกบาศก์เมตร รวมปริมาณน้ำกักเก็ย 1,120,000 ลูกบาศก์เมตร
กรมทรัพยากรน้ำมีนโนยายที่จะต่อยอดแหล่งน้ำที่ดำเนินการอนุรักษ์ฟื้นฟู ปรับปรุงแหล่งน้ำไว้แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรของหมู่บ้านนั้นๆ จึงได้มีโครงการก่อสร้างระบบกระจายน้ำขึ้นเพื่อให้กลุ่มเกษตรกรได้นำน้ำไปใช้ในการเพาะปลูกพืชไร่ พืชสวน พืชผักสวนครัว สร้างรายได้เสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยวโดยเน้นการปลูกพืชอายุสั้น ใช้น้ำน้อย สร้างมูลค่าเพิ่ม กรมทรัพยากรน้ำโดยสำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 11 ได้สำรวจความเหมาะสมและเตรียมชุมชนชาวบ้าน ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขของโครงการก่อสร้างระบบกระจายน้ำ ขอบเขตของโครงการสูบน้ำจากแหล่งน้ำ โดยใช้แผงโซล่าเซลล์แปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อขับเคลื่อนมอเตอร์เครื่องสูบน้ำ สูบน้ำขึ้นหอถังสูงและกระจายน้ำผ่านท่อเมนจ่ายน้ำเข้าแปลงเกษตรกรรม พื้นที่ไม่น้อยกว่า 25 ไร่ โดยมีคณะกรรมการบริหารกลุ่มผู้ใช้น้ำและสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำร่วมกันบำรุงรักษาต่อไป
โครงการก่อสร้างระบบกระจายน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำต้อน มีการบริหารจัดการโดยคณะกรรมการบริหารกลุ่มผู้ใช้น้ำที่ชื่อว่า “กลุ่มพืชผักเศรษฐกิจชุมชน” ซึ่งมีสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำ 15 คน ประชาชนทำแปลงเกษตรปลูกพืชอายุสั้น เช่น พริก ข้าวโพด มะเขือ แตงร้าน แตงกวา ถั่วฝักยาว ไม้ยืนต้น ประกอบด้วย มะนาว มะพร้าว มะม่วง และพืชไร่ ประกอบด้วย มันสำปะหลัง ในพื้นที่รวม 106 ไร่ นอกจากนี้หลังจากที่โครงการแล้วเสร็จได้ทำการส่งมอบโครงการให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเหล่า เพื่อบริหารจัดการและดูแลบำรุงรักษาโครงการต่อไป
ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพของพระบรมวงศ์ทุกพระองค์ กรมทรัพยากรน้ำได้น้อมนำเอาหลักการและแนวพระราชดำริของทุกพระองค์มาปรับใช้ในการดำเนินงานดเนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อให้พสกนิกรชาวไทยทั่วทุกภูมิภาคมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีน้ำใช้เพื่อการยังชีพทั้งในด้านการอุปโภคและบริโภค ตลอดจนการจัดสรรทรัพยากรน้ำให้เพียงพอกับการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมด้วยกระบวนการบริหาร อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา และแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพเป็นธรรม อย่างยั่งยืนภายใต้กลักธรรมาภิบาล โดยเน้นการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ประชาคม เครือข่ายภาคเอกชน ตลอดจนทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อให้คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน