บริษัท โคเวสโตร (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านวัสดุโพลิเมอร์ระดับโลก ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) และ Less Plastic Thailand จัดกิจกรรมเพื่อสังคมน่าอยู่ ผ่านแคมเปญ “Hands For A Brighter World X SWU – สร้างสรรค์โลกให้สดใสขึ้นได้ด้วยมือเรา” เพื่อร่วมผลักดันการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีการจัดการขยะพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และร่วมสร้างย่านอโศกสู่การเป็นพื้นที่ต้นแบบการจัดการขยะ
ปัจจุบัน ได้มีการตื่นตัวเกี่ยวกับปัญหาขยะพลาสติกล้นโลกเป็นอย่างมาก โดยจากสถิติประเทศที่มีขยะพลาสติกในทะเลสูงสุด 10 อันดับในปี 2564 พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 5 โดยมีขยะประมาณ 22.8 ล้านกิโลกรัม ซึ่งอันดับที่ 1 คือประเทศอินเดีย 126.5 ล้านกิโลกรัม และอันดับที่ 2 คือประเทศจีน 70.7 ล้านกิโลกรัม โดยที่ประเทศไทยมีการกําหนดนโยบายส่งเสริมการดำเนินงานตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นเสมือนเข็มทิศให้ผู้ประกอบการและทุกภาคส่วน เพื่อผลักดันประเทศไปสู่การมีระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมมุ่งมั่นพัฒนาสร้างความยั่งยืนที่เป็นการตอบรับรับกับนโยบายของประเทศ และแนวนโยบายขององค์กร บริษัท โคเวสโตร (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) และ Less Plastic Thailand จัดทำแคมเปญ “Hands For A Brighter World – สร้างสรรค์โลกสดใสได้ด้วยมือเรา” โดยมีเป้าหมายหลักของแคมเปญเพื่อส่งเสริมให้เกิดการตระหนักรู้และปฎิบัติจริง พร้อมผลักดันการร่วมมือกันของเครือข่ายหลักของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เพื่อการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพผ่านกิจกรรมหลักในด้านต่างๆ ต่อไปนี้ คือ
ดร.ทีโม สลาวินสกี้ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โคเวสโตร (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ด้วยพันธกิจของโคเวสโตร คือ การส่งเสริมนวัตกรรมและการเติบโตด้วยผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีที่สามารถทำกำไร และยังเป็นประโยชน์ต่อสังคม ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งมอบคุณค่าและความยั่งยืนเพื่อคนรุ่นหลัง เราจึงทุ่มเทการดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์องค์กรในการ “มุ่งสู่การหมุนเวียนอย่างเต็มรูปแบบ” (We will be fully circular) โดยกิจกรรมในครั้งนี้มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายการจัดทำโครงการ “Hands For A Brighter World" ของโคเวสโตรได้เป็นอย่างดี”
รศ.ดร.นิตต์อลิน พันธุ์อภัย ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาศักยภาพนิสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า “มศว ได้ดำเนินโครงการเพื่อการพัฒนาสุขภาวะองค์รวมผ่านโครงการอโศกโมเดล ซึ่งการจัดการขยะเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสุขภาวะทางสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมหาวิทยาลัยตั้งเป้าการดำเนินงานอย่างจริงจังตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา โดยคาดหวังที่จะให้ประสบความสำเร็จได้ และยินดีที่จะจับมือร่วมกับภาคีทุกๆ ฝ่าย ซึ่งต้องขอขอบคุณการสนับสนุนจากโคเวสโตรในครั้งนี้ ทั้งการจัดกิจกรรมให้ความรู้และสร้างการรับรู้ให้กับนิสิตและบุคคลากร รวมถึงการมอบวัสดุอุปกรณ์สำหรับการแยกขยะอย่างมีประสิทธิภาพให้กับมศว อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้สนใจมีส่วนร่วมในการบริจาคขยะรีไซเคิลอีกด้วย เราหวังว่าความร่วมมือนี้จะช่วยให้มศว ได้มีส่วนช่วยผลักดันย่านอโศกไปสู่พื้นที่ต้นแบบการจัดการขยะของกรุงเทพฯ ชั้นในได้”
“โครงการ Hands For A Brighter World เป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อสังคมของโคเวสโตร เพื่อช่วยลดปัญหาจากขยะพลาสติกและสนับสนุนการคืนคุณค่าให้กับพลาสติก รวมถึงการสร้างความยั่งยืนในสังคมในระยะยาว โดยมุ่งเน้นสนับสนุนและต่อยอดความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรที่มีเป้าหมายเดียวกัน อย่างเช่น มศว และ Less plastic Thailand ซึ่งความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย ถือเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างสรรค์โลกสดใสได้ด้วยมือเรา ตามแนวคิดของโครงการ” นางสาวกวิสรา วรรธนะพิศิษฐ์ หัวหน้าฝ่ายสื่อสารองค์กรประจำภูมิภาคอาเซียน บริษัท โคเวสโตร (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวปิดท้าย
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโคเวสโตร ได้ที่ https://www.covestro.com/en/company/covestro-worldwide/asean
ติดตามโคเวสโตรบน Facebook ได้ที่ Covestro Thailand
###
เกี่ยวกับโคเวสโตร
โคเวสโตรเป็นหนึ่งในผู้ผลิตวัสดุโพลิเมอร์และส่วนประกอบทางโพลิเมอร์คุณภาพสูงชั้นนำของโลกด้วยนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และวิธีการ บริษัทยังส่งเสริมความยั่งยืนและคุณภาพชีวิตในหลายแง่มุม โคเวสโตร ให้บริการลูกค้าทั่วโลกในอุตสาหกรรมหลักเช่นการเดินทางและการขนส่ง อาคารและที่อยู่อาศัย ตลอดจนอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ โพลีเมอร์จากโคเวสโตร ยังใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น กีฬาและสันทนาการ เครื่องสำอางและสุขภาพ ตลอดจนในอุตสาหกรรมเคมีบริษัทตั้งเป้าหมายในการเป็นบริษัทหมุนเวียนอย่างเต็มรูปแบบ และมุ่งบรรลุความเป็นกลางทางสภาพภูมิอากาศภายในปี พ.ศ. 2578 (ในขอบเขต 1 และ 2) โคเวสโตร สร้างยอดขายได้ 18 พันล้านยูโรในปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 บริษัทมีโรงงานผลิต 50 แห่งทั่วโลกและมีพนักงานประมาณ 18,000 คน (คำนวณจากจำนวนพนักงานประจำ) ณ สิ้นปี พ.ศ.2565