“เกรียนไซเบอร์ฯ ปี 2” ปลื้มผลงาน เด็กอาชีวะ กว่า 30 ทีม
เตรียมต่อยอดเสริมทักษะแคมเปญด้านการสื่อสารสุขภาวะต้นปี 64
“เกรียนไซเบอร์ฯ ปี 2” ปั้นนักสื่อสารสุขภาวะด้านการรู้เท่าทันภาวะซึมเศร้า การระรานทางไซเบอร์และภัยบนสื่อสังคมออนไลน์ เผยเด็กอาชีวะผลิตผลงานสื่อดิจิทัลมากกว่า 100 ชิ้นงานจากสถานศึกษาอาชีวะ 31 ทีม ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และภาคกลาง ระบุเด็กอาชีวะไทยมีทักษะและฝีมือในการผลิตสื่อดิจิทัลเป็นอย่างดี เตรียมจัดกิจกรรมเสริมทักษะการทำแคมเปญ และค่ายถอดบทเรียน
ดร.สุภาพรศรีสัตตรัตน์หัวหน้าโครงการเกรียนไซเบอร์เซ่ียนสร้างสรรค์สื่อสร้างสุข – เกรียนไซเบอร์ฯ ปี 2 ” โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และมหาวิทยาลัยสยาม เปิดเผยว่า ปัจจุบัน โครงการเกรียนไซเบอร์ฯ ปี 2 มีนักศึกษาอาชีวศึกษาเข้าร่วมโครงการจำนวน 155 คนจาก 31 ทีมในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และภาคกลางและผลิตผลงานสื่อดิจิทัลจำนวนรวมประมาณ 110 ชิ้นงาน
ผลงานสื่อดิจิทัลของนักศึกษาอาชีวะ ครอบคลุมในประเด็นภาวะซึมเศร้า การระรานทางไซเบอร์และภัยบนสื่อสังคมออนไลน์โดยนักศึกษาที่ผลิตผลงานได้รับแรงบันดาลใจแตกต่างกันไป เช่น คนใกล้ชิดหรือเพื่อนร่วมสถาบันเคยมีภาวะซึมเศร้า เคยถูกระรานทางสื่อสังคมออนไลน์หรือแม้แต่ผลกระทบโดยตรงที่นักศึกษาอาชีวะเคยได้รับ ซึ่งเหตุดังกล่าวทั้งหมดทำให้นักศึกษาอาชีวะเกิดความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงสภาวะของปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองและคนใกล้ชิด จนสามารถสะท้อนออกมาเป็นผลงานที่ผลิตขึ้นอย่างหลากหลายรูปแบบ เช่น วีล็อค (Vlog)แอนิเมชั่น (Animation) โมชั่นกราฟิก (Motion Graphic) อินโฟกราฟฟิค (Info Graphic)Tik Tokมิวสิควิดีโอสารคดี หนังสั้นวิดีโอคลิปเป็นต้น
ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของโครงการที่ต้องการให้เด็กอาชีวศึกษาเป็นนักสื่อสารสุขภาวะที่มีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงปัญหา ผลกระทบจากภาวะซึมเศร้า การระรานทางไซเบอร์และการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์นอกจากนี้ยังพบว่านักศึกษาที่ผลิตผลงานสื่อดิจิทัล ยังมีความสามารถพิเศษอีกหลายด้านด้วยกัน เช่น มีทักษะในการพากย์เสียงต่างๆมีทักษะในการแต่งเนื้อหาและเรียบเรียงผลงานเพลงการตัดต่อภาพและเสียง
“ขณะนี้นักศึกษาอาชีวศึกษาได้นำผลงานที่ตัวเองผลิตไปเผยแพร่ในช่องทางต่างๆเช่น เพจเฟสบุ๊ค ช่องยูทูปทั้งของสมาชิกในทีมและสถานศึกษาอาจารย์ในสถานศึกษา รวมถึงการเผยแพร่ระหว่างสมาชิกกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการเกรียนไซเบอร์ฯ ปี 2 โดยทุกทีมมีเป้าหมายที่จะให้มีการกดไลค์ กดแชร์ ให้มากที่สุด เพื่อขยายการรับรู้เรื่องของภาวะซึมเศร้า การระรานทางไซเบอร์และภัยบนสื่อสังคมออนไลน์ ไปสู่สังคมในวงกว้าง” ดร.สุภาพร กล่าว
จากการที่นักศึกษาอาชีวะได้ผลิตผลงานสื่อดิจิทัล พร้อมเผยแพร่ผลงานมาระยะหนึ่งแล้วนั้น ในต้นปี 2564ที่จะถึงนี้ โครงการเกรียนไซเบอร์ฯ ปี 2จะจัดให้มีกิจกรรมเสริมทักษะการเผยแพร่ผลงานเพื่อรณรงค์ (แคมเปญ) พร้อมกิจกรรมถอดบทเรียน เพื่อสร้างการเรียนรู้การเป็น “นักสื่อสารสุขภาวะ” ที่สร้างสรรค์และมีคุณภาพ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการเกรียนไซเบอร์ฯ ปี 2
………………………………………