“เด็กอาชีวะ” สุดเจ๋ง สร้างสื่อดิจิทัล รวมกว่า 130 ชิ้นงาน “เกรียนไซเบอร์ฯ ปี 2” ย้ำ พันธกิจสร้าง “อาชีวะสื่อสารสุขภาวะ”

การศึกษา ภาษา ติวเตอร์

“เด็กอาชีวะ” สุดเจ๋ง สร้างสื่อดิจิทัล รวมกว่า 130 ชิ้นงาน

“เกรียนไซเบอร์ฯ ปี 2” ย้ำ พันธกิจสร้าง “อาชีวะสื่อสารสุขภาวะ”

.........................................

“เกรียนไซเบอร์ฯ ปี 2”สร้าง “อาชีวะสื่อสารสุขภาวะ” เน้นการตระหนักรู้และการรู้เท่าทันประเด็นภาวะซึมเศร้า การระรานทางไซเบอร์และภัยบนสื่อสังคมออนไลน์ เผยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้กิจกรรมเสริมทักษะด้านต่างๆปรับเปลี่ยนไปในรูปแบบออนไลน์ และหากช่วงมี.ค.64สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ก็พร้อมจัดนิทรรศการโชว์ 133 ผลงาน จาก 31 ทีมอาชีวะ

ดร.สุภาพรศรีสัตตรัตน์หัวหน้าโครงการเกรียนไซเบอร์เซียนสร้างสรรค์สื่อสร้างสุข – เกรียนไซเบอร์ฯ ปี 2 ” โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และมหาวิทยาลัยสยาม เปิดเผยว่า ปัจจุบัน โครงการเกรียนไซเบอร์ฯ ปี 2 มีนักศึกษาอาชีวศึกษาเข้าร่วมโครงการจำนวน 155 คนจาก 31 ทีม (20 วิทยาลัย) ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลและภาคกลางและผลิตผลงานสื่อดิจิทัล จำนวนรวม 133 ชิ้นงาน

“นักศึกษาอาชีวะได้สร้างผลงานในประเด็นภาวะซึมเศร้า การระรานทางไซเบอร์และภัยบนสื่อสังคม ออนไลน์ซึ่งเป็นประเด็นที่โครงการเกรียนไซเบอร์ฯ ค้นพบจากการสำรวจความสนใจด้านปัญหาสังคมของนักศึกษาอาชีวะเมื่อปี 2563 ผลงาน 133 ชิ้นงานของนักศึกษาอาชีวะ มีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ โปสเตอร์แอนิเมชั่นโมชั่นกราฟฟิก ภาพถ่ายสารคดีมิวสิควีดีโอ คลิป(หนังสั้น,โฆษณา,ซีรีย์)อินโฟกราฟฟิก(ภาพนิ่งและแอนิเมทกราฟฟิก) และภาพรวมผลงานของนักศึกษาก็นับว่ามีคุณภาพสมกับฝีมือการผลิตของวัยรุ่น”

ดร.สุภาพร กล่าวว่าจากผลงานทั้งหมดของนักศึกษาอาชีวะที่มีอายุระหว่าง 14-18 ปี และเข้าร่วมโครงการฯ สะท้อนให้เห็นว่า นักศึกษาอาชีวะก็เหมือนเด็กวัยรุ่นทั่วไปไม่ช่างพูด มีความอ่อนไหว มีปัญหาเหมือนเด็กวัยรุ่นทั่วไปเช่น เหงา ว้าเหว่มองสังคมว่าไม่ได้สวยงามมองโลกในแง่ลบและขณะเดียวกันผลงานก็ได้สะท้อนถึงทางออกการป้องกันและการเข้าใจปัญหาและทำให้เจ้าของผลงานเข้าใจความเป็นจริงของสังคมมากขึ้น

โครงการ “เกรียนไซเบอร์ฯ ปี 2”มุ่งเน้นให้นักศึกษาอาชีวะตระหนักและรู้เท่าทันปัญหาภาวะซึมเศร้า การระรานทางไซเบอร์และภัยบนสื่อสังคมออนไลน์เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันทางสังคมและถ่ายทอดสิ่งดังกล่าวไปสู่เพื่อนวัยเดียวกัน ดังจะเห็นได้จาก ผลงานของนักศึกษาฯ มีอัตลักษณ์แสดงให้เห็นถึงตัวตนของวัยรุ่น ซึ่งสามารถสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายในวัยเดียวกันเช่น มิวสิควิดีโอที่ผลิตเป็นเพลงแรป วิดีโอคลิปที่สะท้อนการบูลลี่ (การกลั่นแกล้ง / การระรานทางไซเบอร์)จึงกล่าวได้ว่านักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ เป็น “อาชีวะสื่อสารสุขภาวะ” อย่างแท้จริง

จากสถานการณ์โควิด-19ทำให้กิจกรรมเสริมทักษะความรู้และกิจกรรมด้านต่างๆของโครงการ “เกรียนไซเบอร์ฯ ปี 2” ต้องจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งมีผลกระทบต่อการสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างนักศึกษาอาชีวะ 31 ทีม จาก 20 วิทยาลัย อย่างไรก็ตามเมื่อสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย โครงการฯ จะจัดนิทรรศการโชว์ผลงานของนักศึกษาอาชีวะในเดือนมีนาคม 2564

………………………………………

  • ผู้โพสต์ :
    princessmews
  • อัพเดทเมื่อ :
    7 ก.พ. 2021 12:35:25

ลงข่าวประชาสัมพันธ์ ฟรี คลิกที่นี่

 

X

เว็บไซต์เรามีการใช้คุกกี้ คลิกเพื่อดู นโยบายคุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา