วว. จับมือพันธมิตรจัดเวทีเสวนา “น้ำดื่มจากน้ำฝนลดโลกร้อน” เสริมสร้างศักยภาพชุมชน บริหารจัดการลดก๊าซเรือนกระจก พร้อมขยายโครงการสู่เทศบาลนครเกาะสมุย

ข่าวประชาสัมพันธ์

กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับพันธมิตรจังหวัดสงขลา ได้แก่ จังหวัดสงขลาอำเภอระโนดองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาวมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และชุมชนบ้านขาวหมู่ 2ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) จัดเวทีเสวนาเรื่อง “น้ำดื่มจากน้ำฝนลดโลกร้อน” ภายใต้การดำเนินโครงการการเสริมสร้างศักยภาพให้ชุมชนบริหารจัดการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการผลิตน้ำประปาจากน้ำฝนพร้อมขยายผลโครงการไปยังเทศบาลนครเกาะสมุย มุ่งให้ชุมชนมีน้ำสะอาดที่มีคุณภาพใช้อย่างเพียงพอ ยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนด้วยเทคโนโลยี รองรับสังคมคาร์บอนต่ำเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 ณ โรงเรียนชุมชนวัดบ้านขาวอำเภอระโนดจังหวัดสงขลา

การเสวนา “น้ำดื่มจากน้ำฝนลดโลกร้อน” วว. ได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ ถ่ายทอดความรู้และแสดงข้อคิดเห็นประกอบด้วยประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน ได้แก่ความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยีและความเสี่ยงด้านสุขภาพ ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ โมเดลทางธุรกิจ (กลุ่มวิสาหกิจเพื่อชุมชน)กองทุนน้ำดื่มหมู่บ้านโดยมีหน่วยงานพันธมิตรประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างคับคั่งนอกจากนี้ยังมีการเยี่ยมชมชุดผลิตน้ำประปาจากน้ำฝนในพื้นที่นำร่องโครงการฯณโรงเรียนชุมชนวัดบ้านขาว หมู่ 3และบ้านผู้นำชุมชนหมู่ 2 อำเภอระโนดจังหวัดสงขลาพร้อมตรวจสอบคุณภาพน้ำ เช่น ความกระด้าง และโคลิฟอร์ม ในแต่ละครัวเรือนด้วย

นายเฉลิมพันธ์ยินเจริญผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา ประธานเปิดการเสวนาฯ กล่าวว่าจังหวัดสงขลามียุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดมุ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคใต้ประชาชนมีคุณภาพสิ่งแวดล้อมยั่งยืนมีประชากร 1.436ล้านคนมากเป็นอันดับ2ของภาคใต้ (รองจากนครศรีธรรมราช)มีขนาดพื้นที่7,394 ตารางกิโลเมตรใหญ่เป็นอันดับ3 ของภาคใต้ (รองจากสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช)มีพื้นที่ติดกับจังหวัด นครศรีธรรมราชพัทลุงปัตตานี ยะลา สตูล และยังมีอาณาเขตติดต่อกับรัฐไทรบุรีและรัฐปะลิสของประเทศมาเลเซียโครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดสงขลา ขึ้นอยู่กับสาขาอุตสาหกรรมเป็นหลัก โดยกิจกรรมการผลิตที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมต่อเนื่องกับยางพาราอุตสาหกรรมแปรูปและถนอมสัตว์น้ำรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษถือเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคใต้ ซี่งมีบทบาทสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จากการที่ วว.นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้ามาพัฒนาชุมชนในจังหวัดให้มีน้ำสะอาดที่มีคุณภาพใช้อย่างเพียงพอลดความเหลื่อมล้ำช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน ด้วยเทคโนโลยีที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกรองรับสังคมคาร์บอนต่ำเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองในเรื่องน้ำไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมสามารถตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้ร่วมดำเนินงานโครงการอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพของพี่น้องประชาชนของจังหวัดสงขลาต่อไปในอนาคต

“...ผลจากการดำเนินงานของโครงการนี้จะเป็นโมเดลต้นแบบสู่การขยายผลไปยังชุมชนอื่นๆ ทั่วประเทศไทย ในการผลิตน้ำประปาจากน้ำฝนหรือน้ำฝนพร้อมดื่มโดยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ลงทุนระบบและเก็บค่าใช้น้ำจากชุมชนในแต่ละครัวเรือนซึ่งจะสามารถลดภาระการจัดหาแหล่งกักเก็บน้ำลดการใช้ไฟฟ้าและสารเคมีในการผลิตน้ำประปาให้กับเมืองและชุมชน นอกจากนี้ยังจะสามารถช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในหน้าแล้งชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองในเรื่องน้ำ และมีน้ำสะอาดที่มีคุณภาพใช้อย่างยั่งยืนไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม สามารถตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างเป็นรูปธรรม...”ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลากล่าว

ดร.ประทีปวงศ์บัณฑิต รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืนวว. กล่าวว่า วว.และพันธมิตรร่วมดำเนินโครงการการเสริมสร้างศักยภาพให้ชุมชนบริหารจัดการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการผลิตน้ำประปาจากน้ำฝนเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาที่ยั่งยืนในหัวข้อที่ 6เรื่องน้ำสะอาดและสุขาภิบาลหัวข้อที่ 11 เรื่องความยั่งยืนของเมืองและชุมชน และหัวข้อที่ 13 การต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ขณะนี้ได้ติดตั้งชุดผลิตน้ำประปาจากน้ำฝนและผลิตน้ำประปาพร้อมดื่ม แจกจ่ายให้กับจังหวัดสงขลา ในพื้นที่ชุมชน อบต.บ้านขาว หมู่ที่2และ 3โดยสามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ที่ 0.437 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีและอยู่ระหว่างการจัดตั้งเป็นกองทุนน้ำดื่มหมู่บ้านสำหรับเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม ที่มีรูปแบบการจัดสรรกองทุนในการบริหารจัดการค่าดำเนินการทั้งนี้มีข้อยืนยันจากการประเมินความเป็นไปได้ในทางเทคโนโลยีพบว่า คุณภาพน้ำประปาที่ผลิตได้จากโครงการฯ ผ่านเกณฑ์การยอมรับของกระทรวงสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลกส่วนการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากโลหะหนักและจุลินทรีย์พบว่า ค่าสัดส่วนความเสี่ยงอันตรายมีค่า 0.014ซึ่งมีค่าต่ำกว่า 1 แสดงว่า น้ำประปาที่ได้จากน้ำฝน ไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพสามารถนำมาใช้ได้ทั้งบริโภคและอุปโภคไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพจากโลหะหนักและเชื้อจุลินทรีย์โดยเฉพาะความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง

“...นอกจากนี้ทีมวิจัยวว. ได้ขยายผลของโครงการโดยได้นำเสนอแผนการดำเนินงานโครงการให้กับเทศบาลนครเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งได้ผลสรุปจากการนำเสนอแผนงานว่าเทศบาลนครเกาะสมุยต้องการต้นแบบชุดผลิตน้ำประปาจากน้ำฝนโดยให้วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ในเทศบาลนครเกาะสมุย ดำเนินการติดตั้งต้นแบบชุดผลิตน้ำประปาจากน้ำฝนจำนวน 1 ชุดเพื่อทดลองผลิตน้ำประปาจากน้ำฝน และน้ำบาดาลในพื้นที่เกาะสมุยเพื่อประเมินราคาต้นทุนในพื้นที่ให้กับเทศบาลนครเกาะสมุยในการตั้งงบประมาณเพื่อการขยายผลไปยังโรงเรียนเทศบาลทั่วทั้งเกาะสมุยต่อไป...” รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืนวว. กล่าว

.......................................................................................................................................................

นำเสนอข่าวโดย กองประชาสัมพันธ์ สำนักสื่อสารองค์กร วว. โทร. 0 2577 9360 E-mail : pr@tistr.or.th Line@TISTR IG : tistr_ig

เบอร์โทร : 025779360
LINE : @tistr
เว็บไซต์ : tistr.or.th
  • ผู้โพสต์ :
    prtistr60
  • อัพเดทเมื่อ :
    16 ธ.ค. 2022 09:46:09

ลงข่าวประชาสัมพันธ์ ฟรี คลิกที่นี่

 

X

เว็บไซต์เรามีการใช้คุกกี้ คลิกเพื่อดู นโยบายคุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา