สคบท. เสนอทางรอดคุณภาพบัณฑิตศึกษาในวิถีชีวิตใหม่เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย

การศึกษา ภาษา ติวเตอร์

สคบท. เสนอทางรอดคุณภาพบัณฑิตศึกษาในวิถีชีวิตใหม่เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย

สภาคณะผู้บริหารบัณฑิตศึกษาแห่งประเทศไทย (สคบท.) ระดมความคิดจากสมาชิกพร้อมยื่นข้อเสนอแนวทางการปรับรูปแบบการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาหลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์โควิด 19 ปรับหลักสูตรและการเรียนการสอนควบคู่งานวิจัยพร้อมสนับสนุนแหล่งทุน เน้นความร่วมมือเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศสู่มาตรฐานเครดิตแบ็งค์ เพิ่มคุณค่าและต่อยอดองค์ความรู้สู่มาตรฐานสากลด้วยการจัดระบบฐานข้อมูลผู้ทรงคุณวุฒิในประเทศไทย ขณะที่กลุ่มราชภัฏเน้นผลิตบัณฑิตคุณภาพสร้างงานวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่ช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่น ระหว่างการประชุม สคบท. ครั้งที่ 2/2563 โดยมี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม

ผศ.ร.ต.หญิง ดร.วรรณี ศุขสาตร คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต ประธานสภาคณะผู้บริหารบัณฑิตศึกษาแห่งประเทศไทย (สคบท.) กล่าวว่า “ในที่ประชุมมีการพูดถึงปัญหาผลกระทบจากการลดจำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ส่งผลต่อปริญญาโทและปริญญาเอก มีการเสนอแนวทางแก้ปัญหาในที่ประชุม 3 แนวทาง ดังนี้

  • ปรับหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สู่รูปแบบมหาวิทยาลัยเชิงวิจัยเพื่อใช้งานในอนาคตมากขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการในตลาดวิชาการและพัฒนาประเทศได้ด้วย ในขณะที่สาขาวิชาเฉพาะด้านที่อาจไม่ได้รับความนิยม แต่เป็นศาสตร์ที่ต้องรักษา อาทิ สาขาที่มีคุณค่าในเชิงเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาติ ต้องคงอยู่ เพื่อรักษาความเป็นชาติและองค์ความรู้ของมนุษยชาติต่อไปได้ ทั้งนี้ เป็นเรื่องของนโยบายภาครัฐที่ต้องหันมาสนับสนุนและช่วยแก้ไขปัญหานี้ร่วมกัน ไม่ใช่สถาบันการศึกษาเพียงลำพัง ทางรอด คือ การหาทุนสนับสนุนและปรับรูปแบบให้นักศึกษาร่วมทำงานวิจัยกับคณาจารย์ ทำให้บัณฑิตที่ออกมาสามารถนำความรู้ไปใช้งานได้ทันที สคบท. มีส่วนส่งเสริมด้วยการช่วยหาแหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัยของนักศึกษาให้มากขึ้น
  • การสร้างเครือข่ายบัณฑิตศึกษา ในสถานการณ์โควิด 19 ส่งผลต่อนักศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิต่างชาติ รวมถึงเวทีสัมมนานานาชาติเอง ทำให้ต้องเพิ่มช่องทางการเรียนการสอนออนไลน์ที่มีมาตรฐานสูง ข้อดี คือ สร้างโอกาสในการเพิ่มจำนวนนักศึกษาจากต่างประเทศมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน ก็เป็นการเปิดให้สถาบันของมหาวิทยาลัยที่พร้อมเรื่องเทคโนโลยีมากกว่า มาชิงจำนวนนักศึกษาของไทยด้วย ดังนั้น การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบัน และพัฒนาสู่การเรียนแบบ double degree คือ ได้วุฒิการศึกษา 2 สถาบัน และสร้างระบบ credit bank จะช่วยให้บัณฑิตได้ประโยชน์มากขึ้นด้วย
  • ยกระดับมาตรฐานบัณฑิตศึกษาไทยด้วยการเพิ่มช่องทางออนไลน์ การเข้าถึงระบบฐานข้อมูลผู้ทรงคุณวุฒิในประเทศไทยให้ประชาชนและหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศเข้าถึงได้ ผ่านเว็บไซต์ สคบท. และศึกษาแนวทางการแก้ไขระเบียบการเรียนออนไลน์ในอนาคต หลังสถานการณ์โควิด 19 เนื่องจากมีแนวโน้มที่นักศึกษาอาจต้องการให้จัดการเรียนการสอนออนไลน์มากขึ้น ซึ่ง สคบท. จะนำประเด็นนี้ไปศึกษาและเสนอแนวทางให้กับ อว. และสำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษาต่อไป

ทั้งนี้ ในส่วนของงานวิจัยจากกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ผศ. ดร. ลินดา เกณฑ์มา อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในฐานะเจ้าภาพการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2 หัวข้อ “สหวิทยาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมในศตวรรษที่ 21” ในเดือนมกราคม 2564 ได้กล่าวว่า “ปัจจุบัน การพัฒนาบัณฑิตศึกษาของไทย ถ้าเรานิ่งหรือทำอะไรเหมือนเดิมคงไม่ได้แล้ว กลุ่มของราชภัฏเองมีการปรับวิสัยทัศน์ พัฒนาความโดดเด่นของแต่ละราชภัฏและนำเทคโนโลยีมาใช้ เน้นผลิตบัณฑิตให้สร้างงานวิจัยภายใต้แนวคิด “งานวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่” ด้วยความใกล้ชิดและมีรากฐานในการพัฒนาท้องถิ่นเป็นนโยบายหลัก สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนได้โดยตรง ทำให้สามารถเพิ่มคุณภาพของบัณฑิตที่มีความเก่งในการวิจัยเชิงพื้นที่ของท้องถิ่นตนเอง ในขณะเดียวกัน เราก็เพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยีจากราชภัฏสู่ท้องถิ่นให้ใช้ประโยชน์สร้างสรรค์เพื่อชุมชนได้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่ตั้งเป้าสู่การเป็น SMART UNIVERSITY พัฒนาศักยภาพทั้งผู้เรียนและผู้สอนครบด้าน จึงเพิ่มเติมข้อกำหนดให้คณาจารย์รวมทีมสร้างงานวิจัย เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ของแต่ละสาขามาทำงานร่วมกัน โดยมหาวิทยาลัยสนับสนุนการหาแหล่งทุนให้ทั้งจากภาครัฐส่วนกลางและองค์กรท้องถิ่น ระดมความช่วยเหลือให้เกิดงานวิจัยที่สร้างรายได้และยกระดับความเป็นอยู่อย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี”

นอกจากนี้ ดร.คณกร สว่างเจริญ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กล่าวเชิญชวนว่า “สำหรับผู้สนใจร่วมงานการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2 หัวข้อ “สหวิทยาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมในศตวรรษที่ 21” (Multidisciplinary for Innovation Development in 21st Century) ในวันที่ 15 มกราคม 2564 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านรูปแบบการนำเสนอผลงานด้วยวาจา (Oral Presentation) และการนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) สามารถส่งบทความวิชาการ บทความวิจัย ทั้ง 2 หมวด ได้แก่ ด้านการศึกษา / วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และ ด้านการศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ / วิทยาการจัดการ สามารถส่งบทความได้ที่ http://grad.bsru.ac.th/conference/ หมดเขตวันที่ 30 กันยายน 2563 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0-2473-7000 ต่อ 1814”

สคบท. เสนอทางรอดคุณภาพบัณฑิตศึกษาในวิถีชีวิตใหม่เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทย

สภาคณะผู้บริหารบัณฑิตศึกษาแห่งประเทศไทย (สคบท.) ระดมความคิดจากสมาชิกพร้อมยื่นข้อเสนอแนวทางการปรับรูปแบบการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาหลังเผชิญหน้ากับสถานการณ์โควิด 19 ปรับหลักสูตรและการเรียนการสอนควบคู่งานวิจัยพร้อมสนับสนุนแหล่งทุน เน้นความร่วมมือเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศสู่มาตรฐานเครดิตแบ็งค์ เพิ่มคุณค่าและต่อยอดองค์ความรู้สู่มาตรฐานสากลด้วยการจัดระบบฐานข้อมูลผู้ทรงคุณวุฒิในประเทศไทย ขณะที่กลุ่มราชภัฏเน้นผลิตบัณฑิตคุณภาพสร้างงานวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่ช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่น ระหว่างการประชุม สคบท. ครั้งที่ 2/2563 โดยมี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม

ผศ.ร.ต.หญิง ดร.วรรณี ศุขสาตร คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต ประธานสภาคณะผู้บริหารบัณฑิตศึกษาแห่งประเทศไทย (สคบท.) กล่าวว่า “ในที่ประชุมมีการพูดถึงปัญหาผลกระทบจากการลดจำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่ส่งผลต่อปริญญาโทและปริญญาเอก มีการเสนอแนวทางแก้ปัญหาในที่ประชุม 3 แนวทาง ดังนี้

  • ปรับหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สู่รูปแบบมหาวิทยาลัยเชิงวิจัยเพื่อใช้งานในอนาคตมากขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการในตลาดวิชาการและพัฒนาประเทศได้ด้วย ในขณะที่สาขาวิชาเฉพาะด้านที่อาจไม่ได้รับความนิยม แต่เป็นศาสตร์ที่ต้องรักษา อาทิ สาขาที่มีคุณค่าในเชิงเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชาติ ต้องคงอยู่ เพื่อรักษาความเป็นชาติและองค์ความรู้ของมนุษยชาติต่อไปได้ ทั้งนี้ เป็นเรื่องของนโยบายภาครัฐที่ต้องหันมาสนับสนุนและช่วยแก้ไขปัญหานี้ร่วมกัน ไม่ใช่สถาบันการศึกษาเพียงลำพัง ทางรอด คือ การหาทุนสนับสนุนและปรับรูปแบบให้นักศึกษาร่วมทำงานวิจัยกับคณาจารย์ ทำให้บัณฑิตที่ออกมาสามารถนำความรู้ไปใช้งานได้ทันที สคบท. มีส่วนส่งเสริมด้วยการช่วยหาแหล่งทุนสนับสนุนงานวิจัยของนักศึกษาให้มากขึ้น
  • การสร้างเครือข่ายบัณฑิตศึกษา ในสถานการณ์โควิด 19 ส่งผลต่อนักศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิต่างชาติ รวมถึงเวทีสัมมนานานาชาติเอง ทำให้ต้องเพิ่มช่องทางการเรียนการสอนออนไลน์ที่มีมาตรฐานสูง ข้อดี คือ สร้างโอกาสในการเพิ่มจำนวนนักศึกษาจากต่างประเทศมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน ก็เป็นการเปิดให้สถาบันของมหาวิทยาลัยที่พร้อมเรื่องเทคโนโลยีมากกว่า มาชิงจำนวนนักศึกษาของไทยด้วย ดังนั้น การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบัน และพัฒนาสู่การเรียนแบบ double degree คือ ได้วุฒิการศึกษา 2 สถาบัน และสร้างระบบ credit bank จะช่วยให้บัณฑิตได้ประโยชน์มากขึ้นด้วย
  • ยกระดับมาตรฐานบัณฑิตศึกษาไทยด้วยการเพิ่มช่องทางออนไลน์ การเข้าถึงระบบฐานข้อมูลผู้ทรงคุณวุฒิในประเทศไทยให้ประชาชนและหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศเข้าถึงได้ ผ่านเว็บไซต์ สคบท. และศึกษาแนวทางการแก้ไขระเบียบการเรียนออนไลน์ในอนาคต หลังสถานการณ์โควิด 19 เนื่องจากมีแนวโน้มที่นักศึกษาอาจต้องการให้จัดการเรียนการสอนออนไลน์มากขึ้น ซึ่ง สคบท. จะนำประเด็นนี้ไปศึกษาและเสนอแนวทางให้กับ อว. และสำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษาต่อไป

ทั้งนี้ ในส่วนของงานวิจัยจากกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ผศ. ดร. ลินดา เกณฑ์มา อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในฐานะเจ้าภาพการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2 หัวข้อ “สหวิทยาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมในศตวรรษที่ 21” ในเดือนมกราคม 2564 ได้กล่าวว่า “ปัจจุบัน การพัฒนาบัณฑิตศึกษาของไทย ถ้าเรานิ่งหรือทำอะไรเหมือนเดิมคงไม่ได้แล้ว กลุ่มของราชภัฏเองมีการปรับวิสัยทัศน์ พัฒนาความโดดเด่นของแต่ละราชภัฏและนำเทคโนโลยีมาใช้ เน้นผลิตบัณฑิตให้สร้างงานวิจัยภายใต้แนวคิด “งานวิจัยพัฒนาเชิงพื้นที่” ด้วยความใกล้ชิดและมีรากฐานในการพัฒนาท้องถิ่นเป็นนโยบายหลัก สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนได้โดยตรง ทำให้สามารถเพิ่มคุณภาพของบัณฑิตที่มีความเก่งในการวิจัยเชิงพื้นที่ของท้องถิ่นตนเอง ในขณะเดียวกัน เราก็เพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยีจากราชภัฏสู่ท้องถิ่นให้ใช้ประโยชน์สร้างสรรค์เพื่อชุมชนได้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่ตั้งเป้าสู่การเป็น SMART UNIVERSITY พัฒนาศักยภาพทั้งผู้เรียนและผู้สอนครบด้าน จึงเพิ่มเติมข้อกำหนดให้คณาจารย์รวมทีมสร้างงานวิจัย เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ของแต่ละสาขามาทำงานร่วมกัน โดยมหาวิทยาลัยสนับสนุนการหาแหล่งทุนให้ทั้งจากภาครัฐส่วนกลางและองค์กรท้องถิ่น ระดมความช่วยเหลือให้เกิดงานวิจัยที่สร้างรายได้และยกระดับความเป็นอยู่อย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี”

นอกจากนี้ ดร.คณกร สว่างเจริญ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กล่าวเชิญชวนว่า “สำหรับผู้สนใจร่วมงานการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 2 หัวข้อ “สหวิทยาการเพื่อการพัฒนานวัตกรรมในศตวรรษที่ 21” (Multidisciplinary for Innovation Development in 21st Century) ในวันที่ 15 มกราคม 2564 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านรูปแบบการนำเสนอผลงานด้วยวาจา (Oral Presentation) และการนำเสนอผลงานวิจัยแบบโปสเตอร์ (Poster Presentation) สามารถส่งบทความวิชาการ บทความวิจัย ทั้ง 2 หมวด ได้แก่ ด้านการศึกษา / วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และ ด้านการศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ / วิทยาการจัดการ สามารถส่งบทความได้ที่ http://grad.bsru.ac.th/conference/ หมดเขตวันที่ 30 กันยายน 2563 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0-2473-7000 ต่อ 1814”
  • ผู้โพสต์ :
    vorapa
  • อัพเดทเมื่อ :
    27 ส.ค. 2020 09:00:24

ลงข่าวประชาสัมพันธ์ ฟรี คลิกที่นี่

 

X

เว็บไซต์เรามีการใช้คุกกี้ คลิกเพื่อดู นโยบายคุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา