คาแรกเตอร์มีดีกว่าที่คิดในสังคมดิจิทัล

เอสเอ็มอี โอทอป

กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายดิจิทัลคอนเทนต์ ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2562 โดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมหาวิทยาลัยศิลปากร นำคาแรคเตอร์ไทยระดับแถวหน้ามาจัดแสดงผลงานภายใต้แนวคิด“Character Licensing Cluster” พร้อมกับได้รับเกียรติจากสันติ เลาหบูรณะกิจ ขึ้นเวทีทอล์คในหัวข้อ “Growing Business with Character Marketing” แชร์ความรู้เปิดโลกคาแรคเตอร์มาต่อยอดในสังคมดิจิทัลโดยมี นพ ธรรมวานิช ร่วมในงาน ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

สันติ เลาหบูรณะกิจ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิธิตา แอนิเมชั่น จำกัด แชร์ความรู้บนเวที “ทำไมคาแรคเตอร์ถึงสำคัญในโลกปัจจุบัน คือคำถามแรกของกูรูด้านดิจิทัลคอนเทนต์คำตอบคือ...เพราะทุกวันนี้ มีการลงทุนในการทำธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ กลุ่มคนก็มีพัฒนาการในด้านการสื่อสารที่กว้างขึ้นเช่นกัน ท่านที่เคยไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่นเคยสังเกตไหมว่าทุกเมืองเขาใช้ตัวการ์ตูนเป็นตัวแทนในงานสื่อสารต่างๆ เช่น ที่กั้นถนนเป็นตัวการ์ตูนไดคัทหรือป้ายหน้าบริเวณก่อสร้างที่มีรูปแมวมายกมือขอโทษในความไม่สะดวกรวมถึงสินค้าต่างๆ ที่มีตัวการ์ตูนในด้านธุรกิจด้วย เพราะญี่ปุ่นเขามองคาแรคเตอร์เสมือนทูตหรือพนักงานขาย คาแรคเตอร์ คือ อาวุธหลักในการเชื่อมองค์กรเข้ากับกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายและแนบเนียนที่สุด ทำให้คนที่สนใจกล้าเข้าหาแบรนด์เอง เราต้องทำยังไงให้ธุรกิจเติบโตจากคาแรคเตอร์ตัวการ์ตูน เพราะการแข่งขันในยุคปัจจุบันนี้เราไม่ได้แข่งกันที่ฟังก์ชั่นหรือหน้าที่การใช้งานของสินค้าบริการเท่านั้น แต่เราจะแข่งกันตรงที่แบรนด์ของสินค้าและบริการใดที่ให้ความรู้สึกดีมากที่สุดและนี่คือโอกาสที่เรานำคาแรคเตอร์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพราะสมัยนี้เป็นยุคของ Story telling ไม่ใช่แค่มีคาแรคเตอร์ตัวการ์ตูนน่ารักๆ แล้วคนจะซื้อคุณแต่ต้องเป็นคาแรคเตอร์ที่มีเรื่องราวน่าสนใจถึงจะทำให้สินค้าหรือบริการดูแตกต่าง มีเสน่ห์และสร้างความรู้สึกที่ดีอย่างเช่นโดเรมอน, ก๊อตจิ,ปังปอนด์ ฯลฯ ที่กลายเป็นดารา หรือตัวแทนองค์กรนั้นๆ ผู้คนจำได้ และอาจจะมีความผูกพันกับคาแรคเตอร์นั้นๆ ด้วยในวันนี้วิธิตารวมถึงผู้ประกอบการด้านดิจิทัลคอนเทนต์ ก็ได้นำคาแรคเตอร์มาตอบโจทย์ทางด้านดารตลาดที่หลากหลายไม่ได้จำกัดเฉพาะองค์กรยักษ์ใหญ่ แต่ธุรกิจ SME ขนาดกลางหรือเล็กก็สามารถนำคาแรคเตอร์มาสร้างประโยชน์สังคมทุกวันนี้เป็นดิจิทัลหมดแล้ว ถ้าเรายังใช้สโลแกนหรือใช้ตัวอักษรในการเรียกร้องความสนใจก็อาจจะเสียโอกาสวิธีการนำคาแรคเตอร์มาใช้จะเป็นอีกตัวช่วยหนึ่งในการต่อยอดได้ เห็นได้จากการสื่อสารในโลกโซเชียลทุกอย่างจะใช้แทนค่าด้วยตัวการ์ตูนที่มีเรื่องราว”

ด้าน นพ ธรรมวานิช ซีอีโอ บริษัท โตโมแกรม สตูดิโอ จำกัดเจ้าของลิขสิทธิ์คาแรคเตอร์NUT SO MOND’STER และ WOOFYBOOกล่าวเพิ่มเติมจริงๆ คาแรคเตอร์ไทยดังมากครับในตลาดต่างประเทศ แต่กลับกลายว่าคนไทยอาจจะยังไม่ค่อยรู้จักหรือการนำมาใช้ในด้านการตลาด แต่ในต่างประเทศ เช่นกระต่ายโหด BLOODY BUNNY ก็เป็นหนึ่งในคาแรคเตอร์ที่ถูกออกแบบดีไซน์โดยฝีมือคนไทย และได้รับความนิยมไปไกลสู่ระดับสากลส่วนไต้หวันก็นำคาแรคเตอร์ WARBIE YAMA ไปเป็นลายในบัตร 7&11 กิจกรรมครั้งนี้จึงถือเป็นโอกาสที่ทางผู้ประกอบการเครือข่ายดิจิทัลคอนเทนต์ได้รวมตัวกันจัดแสดงผลงานขึ้น ให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจ หรือนักธุรกิจได้มาทำความรู้จักกับเหล่าคาแรคเตอร์มากขึ้นครับโดยเฉพาะกลุ่ม SME กว่าจะสร้างแบรนด์ให้คนรู้จักอาจจะใช้เวลานานและเหนื่อย แต่ถ้ามาพูดคุยปรึกษากับคนทำคาแรคเตอร์ ก็จะเป็นทางลัดหนึ่งได้ครับ ซึ่งมีทั้งรูปแบบ ให้ออกแบบคาแรคเตอร์ สร้างขึ้นใหม่ให้เป็นลิขสิทธิ์ของแบรนด์ตัวเองที่ตอบโจทย์ของแบรนด์ เป็นผู้แทนของสินค้าเพื่อสร้างการจดจำและเข้าถึงได้ง่ายหรือการซื้อนำคาแรกเตอร์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอยู่แล้วมาเพิ่มมูลค่า สร้างอิมแพคให้สินค้า บริการ เหมือนมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้เฉพาะกิจ เช่น รายการส่งเสริมการขายต่างๆ หรืออาจจะไปทำของพรีเมียมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้ารวมถึงธุรกิจผลิตสินค้าเอง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องนอน เฟอร์นิเจอร์ เครื่องเขียน สินค้าด้านแฟชั่น ตุ๊กตา ของเล่น ก็สามารถนำคาแรคเตอร์ไปเป็นลายพิมพ์ หรือผลิตเป็นสินค้าออกมาขาย ฯลฯ”

ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งงานดีๆที่ส่งเสริมลิขสิทธิ์คาร์แรกเตอร์ไทยจากกิจกรรมพัฒนาเครือข่าย Digital Content ภายใต้โครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2562ที่ทำให้รู้ว่าธุรกิจต่างๆหรือผู้ประกอบการ SME จะนำคาแรคเตอร์มาต่อยอดอย่างไรเพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดรวมถึงส่งเสริมและผลักดันผู้ประกอบการไทยให้ก้าวเข้าสู่ Smart SMEเพื่อขยายโอกาสการลงทุนเชิงพาณิชย์ในอนาคตติดตามอัพเดตกิจกรรมดีๆได้ที่เฟสบุ๊ค DC Cluster

เบอร์โทร : 0641386444
เว็บไซต์ : facebook.com
  • ผู้โพสต์ :
    warintorn
  • อัพเดทเมื่อ :
    5 ส.ค. 2019 11:43:32

ลงข่าวประชาสัมพันธ์ ฟรี คลิกที่นี่

 

X

เว็บไซต์เรามีการใช้คุกกี้ คลิกเพื่อดู นโยบายคุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัว ของเรา